องค์กรพยาบาล-ศูนย์8
กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8

พัฒนาการมีส่วนร่วมโดยครอบครัวในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย


      โดย...พรรณี ไพบูลย์

     การพัฒนาการมีส่วนร่วมโดยครอบครัวในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลเด็กตระหนักถึงความสำคัญในการส่งเสริมพัฒนาการ เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาสุขภาพและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการปกติสมวัยทุกด้านอย่างเต็มศักยภาพและเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคตต่อไป

         ดำเนินงานโดยการทำหนังสือขออนุมัติจัดประชุม/แจ้งผู้ปกครองเด็ก ขอความร่วมมือสนับสนุนวิทยากร จัดประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย2 ครั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 และ 20 สิงหาคม 2554 เผยแพร่แนวทางเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประเมินผลการปฏิบัติตามแนวแนวทางเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย รายงานผลการดำเนินงานและสรุปโครงการฯ

 ผลการดำเนินงาน

1.จัดประชุมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย2 ครั้งในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554 และ 20 สิงหาคม 2554 มีผู้เข้าร่วมประชุม รุ่นละ 50 คน

2. เผยแพร่แนวปฏิบัติเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ให้ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กทราบเพื่อถือปฏิบัติทุกคน

3.ประเมินผลการปฏิบัติตามแนวแนวทางเรื่องการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย

3.1 ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย    ร้อย ละ 87.5(เป้าหมายกำหนดไว้ร้อยละ 80 )

3.2 ผู้ปกครองเด็กปฐมวัย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กร้อยละ87.5(เป้าหมายกำหนดไว้ร้อยละ 80 )

3.3 การส่งเสริมให้เด็กดื่มนมจากแก้วหรือกล่องในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปพบว่า

3.3.1 เด็กอายุ 1½ -2 ปี ดื่มนมจากแก้ว ร้อยละ 77.26(เป้าหมายกำหนดไว้ร้อยละ 80)

3.3.2 เด็กอายุ 2-4 ปี ดื่มนมจากแก้ว ร้อยละ 95.08 (เป้าหมายกำหนดไว้ร้อยละ 100)

เด็กที่มีภาวะโภชนาปกติ ร้อยละ 96.14 (เป้าหมายกำหนดไว้ร้อยละ 97 )เนื่องจากมีเด็กน้ำหนักเกินเกณฑ์และมีแนวโน้มอ้วนมากขึ้น

3.3.3 อัตราความพึงพอใจของผู้ปกครองร้อยละ 87.7 (เป้าหมายกำหนดไว้ร้อยละ 90)

3.3.4 อัตราเด็กกินนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือน ร้อยละ 75 (เป้าหมายกำหนดไว้ร้อยละ 60 )

การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค ส่วนใหญ่ผู้ปกครองปฏิบัติตามข้อกำหนดตามมาตรฐานมีผลให้อัตราป่วยของเด็กลดลงเฉลี่ยเหลือร้อยละ 1.25 (ลดลงจากเดิมปี 2553ร้อยละ 1.35) แต่ยังไม่ได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 1

3.3.5 อัตราพัฒนาการเด็กปกติสมวัย ร้อยละ 97.56 (เป้าหมายกำหนดไว้ร้อยละ 90)

     จากการดำเนินงานโครงการฯสามารถจัดกิจกรรมได้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ จากการประเมินผลการปฏิบัติงานโครงการฯพบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และมีส่วนร่วมในการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาการเด็กปฐมวัย ผลงานส่วนมากได้ตามเป้าหมายที่กำหนดแต่ยังบางกิจกรรมที่ยังไม่ได้ตามเป้าหมายซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทบทวนหาสาเหตุที่แท้จริงและพัฒนาแก้ไขต่อไป

หมายเลขบันทึก: 475040เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2012 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 14:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท