case study (autistic)


กรณีศึกษาจากการฝึกงาน ซึ่งเป็นเคสของเด็กออทิสติกวัย 4 ปี และกิจกรรมที่ให้เด็ก

หลังจากที่ได้นำเสนอกรณีศึกษาในเรื่องของ distal of radius hand injury ไปในครั้งแรกของวิชา semenar II แล้วนั้น ครั้งนี้จะขอเลือกกรณีศึกษาที่ดิฉันไม่ค่อยถนัดนัก แต่มีความสนใจและภูมิใจที่จะนำเสนอกรณีศึกษานี้เป็นอย่างมากมาอธิบายถึงสิ่งที่ดิฉันได้ให้กิจกรรมไป และหลักฐานการวิจัยที่ดิฉันได้หามาสนับสนุนการกระทำต่อกรณีศึกษากรณีนี้ และจะขอเล่าให้ฟังคร่าวๆ ดังนี้

กรณีศึกษาชื่อน้อง P  อายุ 4 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสติก (Autistic disorder) มีอาการที่แสดงคือ ยังไม่พูด ไม่สบตา มีพฤติกรรมการกระตุ้นตนเองโดยการกระโดด พร้อมกับสะบัดมือและพยักหน้า 

หลักจากประเมินแล้ว จึงการวางแผนการรักษาดังนี้
1. ลดการกระตุ้นตัวเอง : โดยใช้ Sensory Integration FoR และใช้กิจกรรมการคลานและโยนบอลใส่ตะกร้า ซึ่งผลที่ได้คือเด็กมีพฤติกรรมการกระตุ้นตนเองที่ลดลง
(หมายเหตุ : FoR คือ Frame of reference)
2. เพิ่มช่วงความสนใจ : โดยใช้ PEOP FoR และใช้กิจกรรมการร้อยลูกปัดโดยจัดสิ่งแวดล้อมที่มีสิ่งรบกวนน้อยที่สุด และหยิบลูกปัดให้เด็กทีละเม็ด ผลที่ได้คือเด็กมีช่วงความสนใจและสมาธิที่เพิ่มขึ้น
3. สามารถถอดถุงเท้าได้เอง : ใช้ Developmental FoR และ Domain&Process และใช้เทคนิค backward chaining โดยฝึกให้เด็กถอดถุงเท้าจากขั้นสุดท้ายมาเริ่มต้น คือเริ่มถอดจากปลายเท้าก่อน กลางฝ่าเท้า ส้นเท้า และสุดท้ายคือข้อเท้า ผลที่ได้คือเด็กสามารถถอดถุงเท้าเองได้แต่ติดในขั้นของข้อเท้า เนื่องจากจับไม่ถูกตำแหน่งที่สามารถถอดได้ง่าย
4. สามารถจำส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างน้อย 2 ส่วน : ใช้ Developmental FoR และฝึกให้เด็กชี้ปาก และหู โดยนำรางวัลมาเป็นเงื่อนไขการฝึก
5. สามาถกระโดดสองขาไปข้างหน้าได้ : ใช้ Developmental FoR และฝึกให้เด็กกระโดดสองขาไปข้างหน้าตามแผ่นโฟม โดยเริ่มจากขั้นตอนการย่อเข่าเล็กน้อย การโน้มตัวไปข้างหน้า ต่อด้วยกระโดดไปข้างหน้า และยืนทรงตัวเมื่อเท้าแตะถึงพื้น ผลที่ได้คือเด็กสามารถกระโดดสองขาไปข้างหน้าได้เอง

Evidence base I : Evidence-based Review of Interventions for Autism Used in
 or of Relevance to Occupational Therapy 
- SI (Sensory Integration) สามารถช่วยในเรื่องของ arousal, social interaction, และลด sensititity ได้
- SI จะมีประสิทธิภาพเมื่อใช้ในการยับยั้งปัญหาในด้านของ arousal, attention, และ behavior

Evidence base II : Adaptive Behavior Assessment System II : Clinical Use and Interpretation
- เทคนิคในการเพิ่ม self-care เช่น task analysis, prompting (verbal statements, geatures, guidance, modeling), increse learning opportunities, chaining และ reinforcement
- Backward chaining เป็นวิธีการฝึกที่เริ่มฝึกจากขั้นตอนสุดท้ายก่อนเป็นอันดับแรก เมื่อทำสำเร็จแล้วย้อนกลับขึ้นมา มักใช้ฝึกในเรื่องของการแต่งกาย

reference of Evidence base :
I >> Case-Smith J, and Arbesman M. Evidence-based review of interventions for autism used in or of  relevance to Occupation Therapy. American Journal of Occcupational Therapy, 62, 416-429.  
II >> Oakland T, Harrison P.L. Adaptive behavior assessment system II : clinical use and interpretation. Academic Press, 2008: p. 185-8.      

ขอขอบคุณกรณีศึกษาและครอบครัว อาจารย์ทุกท่าน เพื่อนๆทุกคน ที่ได้มอบความรู้และประสบการณ์ดีๆในครั้งนี้^^ 

 

 


 

 

หมายเลขบันทึก: 474972เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2012 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 15:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วันนี้ได้ความรู้จากเมธิตามากเลยค่ะ ขอบคุณมากนะคะสำหรับความรู้ที่ได้รับวันนี้ ดิฉันจะนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปปรับปรุงและพัฒนาในส่วนของการให้การรักษา หรือการเลือกวิธีในการรักษาผู้ป่วยออทิสติกนะคะ สู้สู้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้จากการนำเสนอcaseครั้งนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท