Mirror Therapy


 

จากการที่ได้ฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัยที่มีการนำหลักการ Mirror Therapy มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก  ซึ่งดิฉันได้หาข้อมูลเพิ่มเติมพอได้รายละเอียดดังนี้

        นักวิทยาศาสตร์ในอิตาลี (Giacomo Rizzolatti and Laila Craighero) ทำงานอยู่ มหาวิทยาลัยปาร์มา ในประเทศอิตาลี ได้ศึกษาวิจัยเรื่องของ เซลล์สมองกระจกเงา (The Mirror-Neuron System)   ค้นพบว่าในสมองของมนุษย์เรานั้น มีเซลล์ชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า “Mirror Neuron” หรือ “เซลล์สมองกระจกเงา” ซึ่งเป็นเซลล์ที่สามารถตอบสนอง ต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ของมนุษย์ เช่น การตอบสนองต่อการมองเห็น การได้ยิน การได้เห็นภาพ และการได้กลิ่น ตัวกระตุ้นที่เรารับผ่านประสาทสัมผัส เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด รวมถึงมนุษย์ โดยเฉพาะผ่านการกระทำของผู้อื่น ถ้าเราต้องการที่จะอยู่รอด เราต้องเข้าใจการกระทำของคนอื่น ถ้าปราศจากสิ่งนี้ ก็ไม่มีสังคมมนุษย์

มนุษย์แตกต่างจากสัตว์อื่น คือ สามารถเรียนรู้จากการสังเกต และเลียนแบบผู้อื่น ซึ่งเราสามารถอธิบายจาก ทฤษฏีเซลล์กระจกเงา

           ทฤษฎีเซลล์กระจกเงา ในระยะเริ่มแรก ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่อง การพัฒนาเด็ก เพราะสมองของเด็กนั้น มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปลูกฝังพฤติกรรมที่ดีให้เด็กเห็น และทำให้เด็กเกิดการลอกเลียนแบบ นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ ในการนำมาใช้ในการ ขัดเกลาคนในสังคม ขณะเดียวกันการพยายามที่จะ ปรับตัวเองให้เข้ากับผู้อื่น ยังมีส่วนนำมาพัฒนาควบคู่กับการ เข้าถึงภาวะจิตใจของผู้อื่นอีกด้วย กลายเป็นจุดเริ่มต้น ของบุคลิกภาพของมนุษย์

 ในปัจจุบันทฤษฎีเซลล์กระจกเงา มีการนำไปใช้พัฒนาเด็กแล้ว เเละยังถูกนำไปใช้ในการบำบัดรักษาโรค ได้อีกด้วย เช่น อัมพาตครึ่งซีก และ โรคออทิสติก 

- มีการนำทฤษฏีเซลล์กระจกเงา มาใช้ในการฟื้นฟู ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต 

แนวทางในการใช้ ก็คือ พยายามควบคุมบริเวณที่ไม่มีการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อให้เกิดการเคลื่อนไหวขึ้น จากการเลียนแบบ หรือเกิดจากการจินตนาการ

        ในส่วนที่ได้รับฟังเพื่อนนำเสนอมา กรณีผู้ป่วยที่เป็นอัมพาต มีการใช้เทคนิค Mirror Box Therapy คือ ให้ผู้ป่วยที่นำข้างมืออ่อนแรงใส่ในกล่อง  ด้านข้างกล่องจะเป็นกระจกเงา สะท้อนเห็นมือข้างที่มีแรงทำงาน ทำให้สมองเกิดการเรียนรู้การเคลื่อนไหวของอีกข้างตาม เป็นการ Imagination ของแขน เพื่อเกิด Motor re-learning  เเละเป็นการเบี่ยงความสนใจไปที่มือข้างปกติและมือที่อยู่ในกระจก

         ในทางกิจกรรมบำบัดสามารถนำมาเทคนิคดังกล่าวมาฝึกกับผู้ป่วยอัมพาต โดยการใช้ MOHO เข้ามาร่วมด้วย จัดกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจในการฝึก mirror therapy จะได้ช่วยเสริมเเรงจูงใจในการให้ความร่วมมือในการรักษา เเละะ อาจฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนที่เป็นอัมพาตเพื่อกระตุ้นเซลล์กระจกเงา โดยให้ผู้รับบริการดูวิดีโอการเคลื่อนไหวที่เหมาะสม เเล้วทำการเคลื่อนไหวตาม  เซลล์กระจกเงาจะไปกระตุ้นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องให้เกิดการทำงาน   ,, 

 

         ข้างต้นนี้ก็เป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ mirror therapy คร่าวๆ ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การนำหลักการนี้ไปใช้ในการรักษาผู้รับบริการจะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมให้ชัดเจนก่อนนะคะ เเละ ถ้าท่านใดมีข้อมูลเพิ่มเติม สามารถเเชร์ความรู้กันได้นะคะ ^^

  

 

คำสำคัญ (Tags): #Mirror Box Therapy#mirror therapy
หมายเลขบันทึก: 474880เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2012 01:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นเรื่องใหม่.. เพิ่งเคยได้ยิน

ขอบคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท