My Presentation (Evidence-based Practice)


การนำเสนอEvidence-based support ของ Case Study: Quadriplegia C4 (Incomplete)

วันพฤหัสบดีที่12มกราคม พ.ศ.2555 ตนเองได้นำเสนอEvidence-based support เกี่ยวกับCase study ที่เป็น Spinal cord injury C4 incomplete หรือ อาการการบาดเจ็บที่ไขสันหลังระดับ C4 คือไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ตั้งแต่หน้าอกใต้ราวนมจนถึงปลายเท้า และสูญเสียการรับความรู้สึกบริเวณแขนและมือ ชื่อคุณส. เพศชาย อายุ 32 ปี

การทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันทั้งหมดของคุณส. ที่ผ่านมา (นับจากวันที่เกิดพยาธิสภาพเป็นเวลา7ปี) นั้น คุณแม่ของเขาได้เป็นคนช่วยเหลือทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการอาบน้ำ ล้างหน้าแปรงฟัน การรับประทานอาหาร การแต่งตัว ฯลฯ ต้องได้รับการช่วยเหลือทั้งหมด(Dependence) จนกระทั่งคุณส.รู้สึกว่าตนเองควรที่จะสามารถช่วยเหลือครอบครัวได้บ้างแล้ว เพราะคุณแม่ของเขาอายุมากขึ้น เมื่อเขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นนั้น จะช่วยลดภาระของแม่ได้บ้าง และความต้องการของผู้รับบริการอีกหนึ่งอย่างคือ ต้องการกลับไปทำงานเป็นนักจัดรายการวิทยุโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการเปิดเพลงได้

ซึ่งการให้การรักษาในกรณีศึกษานี้ ผู้บำบัดได้ดูในบริบทของสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้รับบริการในการทำกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นด้วยตนเอง เช่น การรับประทานอาหาร นักกิจกรรมบำบัดได้ให้อุปกรณ์เสริม(Adaptive device) เป็นอุปกรณ์ที่ดัดแปลงโดยใช้ที่รัดมือที่สามารถเสียบช้อนได้ ให้ผู้รับบริการสามารถใช้ตักอาหารเข้าปากได้ด้วยตนเอง โดยฝึกการใช้อุปกรณ์ช่วยกับการเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อบริเวณรอบหัวไหล่ร่วมด้วย ซึ่งผลในการรักษาพบว่าผู้รับบริการมีความก้าวหน้าในการรักษาดีขึ้นตามลำดับ ทำให้ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการรักษา(Motivation)ต่อไป

จากนั้นนักกิจกรรมบำบัดได้มองถึงองค์ประกอบการทำกิจกรรมที่ผู้รับบริการต้องการ นั่นคือการกลับไปประกอบอาชีพเป็นนักจัดรายการวิทยุ ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงาน นักกิจกรรมบำบัดมองในด้านของสิ่งแวดล้อมที่เป็นองค์ประกอบในการดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ โดยได้ศึกษาหาข้อมูลเพิ่มเติมจากบทความEvidence-based support ได้ความว่า การที่จะให้ผู้รับบริการที่มีพยาธิสภาพจากไขสันหลัง กลับมาทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันนั้นต้องอาศัยการสนับสนุนจากครอบครัว และผู้บำบัดควรตั้งเป้าประสงค์ในการรักษาร่วมกับผู้รับบริการ โดยการคำนึงถึงความต้องการของผู้รับบริการเป็นหลัก สุดท้าย ในการฝึกและฟื้นฟูการทำกิจวัตรประจำวันของผู้รับบริการ นักกิจกรรมบำบัดต้องให้เวลาในการฝึกโดยไม่เร่งรัด เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ผ่านสิ่งแวดล้อมในสถานการณ์ใหม่ๆ เป็นต้น

 

ต้องขอขอบคุณอาจารย์และเพื่อนๆทุกๆคนที่ให้การสนับสนุนและให้คำแนะนำที่ดีตลอดมาค่ะ :))

หมายเลขบันทึก: 474757เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2012 00:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณสำหรบความรู้ดีๆในการให้บริกรทางกิจกรรมบำบัดเพื่อเพิมความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันในผู้รับบริการที่มีความบาดเจ็บที่เส้นประสาไขสันหลังคอระดับ4 (Quadriplegia C.4 incomplete) ในการมองหาถึงความต้องการของผู้รับบริการและตอบสนองต่อความต้องการนั้นอย่างเหมาะสม

โดยขอเสนอแนะสักเล็กน้อยเกี่ยวกับผู้รับบริการที่มีพยาธิสภาพเช่นนี้ว่า

ควรจะดูเรื่องของการทรงตัวร่วมด้วยว่าทำได้มากน้อยเพียงไร รวมถึงสภาพของเก้าอี้ล้อเข็น (Wheel chair) ที่ใช้ ว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ สามารภปรับสิ่งใดได้บ้างเพื่อส่งเสริมควาสามารถในการทำกิจกรรมของผู้รับบริการ

นอกจากนี้ควรมีการฝึกให้ทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานด้วยตนเองจริงๆ หรือเข้าไปร่วมสังเกตการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐานของผู้รับบริการด้วยว่าทำได้ดีมากน้อยเพียงไร หรือมีส่วนใดที่ยังบกพร่องอยู่บ้าน เพื่อจะได้วางแผนการรักษาได้อย่างตรงจุดเพื่อส่งเสริมความสามารถของผู้รับบริการต่อไป

โดยหากเป็นไปได้ควรติดตามผลต่อไปถึงที่บ้านเพราะสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปก็ส่งผลต่อความสามารถในการทำกิจกรรมร่วมด้วยเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท