seminar II (ครั้ง4)


กิจกรรมบำบัด, บันทึกการเรียนรู้
และแล้วสัปดาห์หนึ่งก็ผ่านไปอย่างรวดเร็ว การนำเสนอในวิชา seminar กลับมาครบรอบ (ครบทุกเลขที่) อีกครั้ง แม้จะมีการนำเสนอในหลายๆ ที่ผ่านมา แต่เนื้อหาและการนำเสนอของเพื่อนในแต่ละคนแต่ละสัปดาห์ก็แตกต่างกันไป และน่าสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับความรู้และสิ่งที่ได้รับในสัปดาห์นี้คือ - Occupational Adaptation (OA) เป็น frame of reference ของวิชาชีพกิจกรรมบำบัด (OT) ที่เน้น 3 อย่างด้วยกันคือ การทำในสถานการณ์ที่เหมือนจริง (reality life situation), เกิด learning process, และเกิด self adaptation - Dyadic group activity เป็นการทำกิจกรรมกลุ่มกัน 2 คน ซึ่งอาจหมายถึงผู้บำบัด และผู้รับบริการ - MOHO จะใช้การจัดการเวลา (time management) โดยให้ความสำคัญกับการใช้เวลา บทบาท ความสามารถในการใช้เวลา นิสัยการใช้เวลาที่ทำเป็นประจำ - Metal practice เป็นการฝึกคิดไปเรื่อยๆ จนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ซึ่งการใช้เทคนิค relaxation ก็เป็นส่วนหนึ่งของ metal practice - การวัด self-control อาจวัดโดยใช้การจับเวลา - CMOP เป็นการมองถึง ตัวบุคคล(person), กิจกรรม(occupation), สิ่งแวดล้อม(Environment) โดยจะเน้นที่ client center คือมองผู้รับบริการเป็นจุดศูนย์กลาง มีการวางแผนการบำบัดฟื้นฟูร่วมกัน โดยนักกิจกรรมบำบัดบอกจุดประสงค์และวิธีการในกิจกรรมการบำบัดฟื้นฟู ว่าทำเพื่ออะไร ทำอย่างไร มีวิธีการอื่นอย่างไรบ้าง จากนั้นจึงตั้งเป้าประสงค์ร่วมกัน - จิตวิญญาณ (spiritsual) ใน CMOP จะหมายถึง well-being - เราสามารถเพิ่มแรงจูงใจ (motivation) ได้หลายทางด้วยกัน เช่น >> support from others >> an air of expectation >> extended time >> new daily structure >> therapeutic relationship >> gradual change in challenge โดยจะเน้นที่ interview & challenge - นักกิจกรรมบำบัดจะฝึกการสื่อสารโดย communication skill for life - เป้าประสงค์ทางกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วย dysphagia ในเรื่องของการรับประทานอาหาร คือ ฝึกให้ผู้รับบริการมีทักษะในการรับประทานอาหาร เช่น การรับประทานอาหารในที่ทำงาน การรับประทานอาหารขณะสนทนา เป็นต้น ขอขอบคุณอาจารย์และเพื่อนๆ ที่ได้มอบความรู้ดีๆ และแบ่งปันประสบการณ์ให้^^
หมายเลขบันทึก: 474581เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2012 22:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 09:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท