บันทึกการเรียนรู้วิชาสัมนากิจกรรมบำบัด วันที่ 5 มกราคม 2555


บันทึกการเรียนรู้วิชาสัมนากิจกรรมบำบัด วันที่ 5 มกราคม 2555

1. หลักการ Dynamic interacture จะดูในเรื่อง การดูแลตนเองของผู้ป่วย(self-care) โดยจะใช้ในผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุจนสมองได้รับการกระทบกระเทือน(Traumatic brain injury:TBI) โดยภายในหลักการนี้จะใช้กรอบในการรักษาผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บกระทบกระเทือนถึงสมองที่ชื่อว่า Comprehensive model โดย Comprehensive model นี้จะดูในเรื่องของการตระหนักรู้เกี่ยวกับสภาพร่างกายของตนเอง ว่าตอนนี้ตนเองเป็นโรคอะไร เจ็บป่วยอะไร ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุกระทบกระเทือนสมองบางคนไม่สามารถบอกถึงสภาพความเจ็บป่วยของตนเองได้ โดย Comprehensive model นี้จะสอนให้ผู้ป่วยตระหนักรู้ถึงสิ่งเหล่านี้ผ่านวิธีการต่างๆ เช่น online awareness และ self knowledge ซึ่งดิฉันยังมีความรู้ในด้านของหลักการนี้น้อยถ้ามีผู้สนใจแนะนำให้ลองค้นหาเพิ่มเติมค่ะ

2. Schizencephaly เป็นโรคที่มีผลมาจากความผิดปกติของสมอง ซึ่งเกิดจากพัฒนาการที่ผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์ และทำให้ผู้ป่วยมีอาการชัก ซึ่งจะทำให้เด็กมีพัฒนาการล่าช้ากว่าวัย โดยจากการรักษาของนักกิจกรรมบำบัดจะใช้หลักการกระตุ้นระบบรับความรู้สึกต่างๆ (sesory stimuli) ในการรักษา โดยจะกระตุ้นผ่านระบบต่างๆ เช่น ระบบการรับสัมผัส ระบบการทรงตัว ระบบการได้ยิน เป็นต้น

3. Life style oreintal base program เป็นโปรแกรมที่ใช้รักษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยจะมีหลักการในการรักษา คือ

        - จะทำการประเมินรูปแบบในการใช้ชีวิตของผู้ป่วยเพื่อนำไปใช้ในการรักษา (assesment in life style intervention)

        - โดยการรักษาจะคล้ายกับการทำกลุ่มบำบัดในผู้ป่วยจิตเวช

        - โปรแกรมนี้จะเน้นที่การเพิ่มขึ้นของ self-efficiancy

4. Decrease & Sensory loss (หลักที่ใช้ในการรักษาการสูญเสียการรับความรู้สึกหรือมีการรับความรู้สึกที่น้อยลง

      - สูญเสียการรับความรู้สึก(sensory loss) หลักในการรักษาคือ ใช้ระบบรับความรู้สึกอื่นมาทดแทนหรือใช้อวัยวะที่ไม่สูญเสียการรับความรู้สึกมาทดแทน เช่น ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกด้านซ้าย จะทำให้ร่างกายด้านซ้ายสูญเสือการรับความรู้สึก กล่าวคือ ร่างกายด้านซ้ายจะไม่มีความรู้สึกเจ็บเมื่อถูกหยิก เป็นต้น ดังนั้นเมื่อร่างกายด้านซ้ายได้รับบาดเจ็บจากการถูกความร้อน(น้ำร้อนลวก, น้ำมันกระเด็น,ฯลฯ) ก็จะไม่รู้สึก เราจะใช้ระบบรับความรู้สึกอื่นทดแทน เช่น จากการสังเกตโดยการมอง หรืออาจใช้มือด้านขวาทดแทน

      - การที่ร่างกายมีการรับความรู้สึกลดลง(disminished, decrease) คือ การที่เมื่อก่อนเคยรับความรู่สึกได้มากกว่าปัจจุบัน เช่น ระบบการได้ยิน :เมื่อก่อนเคยได้ยินเสียงออดหน้าบ้านดังกว่านี้ แต่ปัจจุบันได้ยินน้อยลงทั้งที่ออดหน้าบ้านไม่ได้เสีย, ระบบการมองเห็น : เมื่อก่อนเคยมองชัดกว่านี้(สายตาสั้นขึ้น/ยาวขึ้น/เป็นต้อต่างๆ) เป็นต้น โดยหลักที่ใช้ในการรักษามี 2 วิธี คือ วิธีที่หนึ่ง จะเหมือนวิธีการรักษาของผู้ที่สูญเสียการรับความรู้สึก คือใช้ระบบรับความรู้สึกอื่นมาทดแทน ส่วนอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า sensory re-education/retraining) คือ การที่ให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะใช้ระบบรับความรู้สึกนั้นที่ลดลงไป โดยจะมีนักกิจกรรมบำบัดเป็นผู้ฝึกและให้คำแนะนำในการฝึก

      - การที่ร่างกายมีระบบการรับความรู้สึกที่เร็วกว่าปกติ(hypersensitive) คือการที่ร่างกายแปลผลการรับความรู้สึกที่แตกต่างจากคนอื่น เช่น การที่บุคคลคนหนึ่งจับลูกบอลยางที่เป็นหนามแล้วรู้สึกเจ็บมากจนไม่อยากแตะต้องอีกเลยจนทำให้กลัวสิ่งที่เป็นหนามทั้งหมดแม้อย่างอื่นจะไม่เจ็บ(ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน) แต่คนบางคนจับลูกบอลยางที่เป็นหนามแล้วไม่รู้สึกอะไรหรืออาจรู้สึกเจ็บบ้างแต่ยังสามารถจับได้อีก(ไม่ส่งผลกระทบกับชีวิตประจำวัน) เป็นต้น โดยวิธีการรักษาจะมี 2 วิธี เช่นกัน โดย วิธีที่หนึ่ง คือ วิธี sensory re-education/retraining และวิธีที่สอง คือ การใช้เทคนิคการลดการรับความรู้สึก(desensitization) : ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่นักกิจกรรมบำบัดใช้ในการให้การรักษาผู้ที่มีระบบการรับความรู้สึกเร็วกว่าปกติ

หมายเลขบันทึก: 474360เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2012 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท