แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Seminar-2 (ON.11-20)


เพื่อได้แนวทางในการบำบัดฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัด เพื่อนำไปปรับใช้

สวัสดีปีมะโรง ขอให้ทุกท่านสุขสมหวังตามปรารถนา สุขภาพแข็งแรง พบเจอสิ่งดีๆ ร่ำรวย พระคุ้มครอง นะคะ ^^

และวันนี้จะมาสรุปความรู้ที่ได้ร่วมฟังการนำเสนอของเพื่อนนักศึกษากิจกรรมบำบัด กรณีศึกษาต่างๆ ที่น่าสนใจ

เพื่อนคนที่ 11 กรณีศึกษาเป็น (VCD) คือ มีอาการอ่อนแรงซีกซ้าย มีการใช้เครื่อง biometric ช่วยในการควบคุมการเคลื่อนไหวของแขนข้างที่มีพยาธิสภาพ และมีการใช้หลักการ (CIMT) Constraint Induced Movement Therapy กับผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง คือ เป็นการกระตุ้นใช้งานมือข้างที่อ่อนแรงในการทำกิจกรรม และจำกัดการใช้งานมือข้างที่มือปกติโดยอาจใส่ถุงมือไว้ แต่ระยะเวลาการฝึกควรพอปรับให้เหมาะสมกับผู้รับบริการ เนื่องจากผู้รับบริการจะเกิดอาการล้าและเครียดได้

เพื่อนคนที่ 12  ** เป็นกรณีศึกษาของดิฉันเอง ผู้ที่สนใจสามารถเข้าอ่านได้ที่ Blog ที่ได้ลงบันทึกการนำเสนอไว้แล้วได้คะ http://www.gotoknow.org/blogs/posts/473493

เพื่อนคนที่ 13 กรณีศึกษาเป็น (Stroke) ผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง โดยมีกาใช้เทคนิคของ Brunnstrom Movement Therapy โดยจะใช้การกระตุ้น reflex และใช้ Synergy ช่วยในการเคลื่อนไหว เช่น  Motor Relearning Program คือ การฝึกการเคลื่อนไหวโดยเรียนรู้ผ่านกิจกรรมทำในสิ่งแวดล้อมที่จริงและเหมาะสม เป็นการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ ทำให้เกิดการเรียนรู้และเป็นแบบแผนของการพัฒนาการเคลื่อนไหวต่อไป และหลักการใช้  Bilateral arm training คือ การใช้แขนสองข้างทำงานหรือทำกิจกรรมพร้อมกัน เพื่อใช้มือข้างอ่อนแรงทำกิจกรรมเรียนรู้การเคลื่อนไหวจากข้างที่แข็งแรง และช่วยควบคุมการเคลื่อนไหวให้ดียิ่งขึ้น

เพื่อนคนที่ 14 กรณีศึกษาเป็น (RSD) Reflex Sympathtic Dystrophy คือ หลักการการลดบวมของ OT ทำได้โดยใช้ String wrapping (ใช้เชือกพัน) ใช้ Retrograde massage (ใช้การนวดไล่จากปลายนิ้วมือไปถึงข้อมือ) ใช้ Elevation (ให้ยกขึ้นสูงเหนือหัวใจ), และการจัดท่าทาง เพื่อให้เกิดการไหลเวียนของเลือด หรือเทคนิคอื่นๆซึ่งต้องคำนึงถึงข้อจำกัดต่างๆของผู้รับบริการที่มีอยู่ด้วย

เพื่อนคนที่ 15 กรณีศึกษาเป็น (CPA Tumor) คือ โรคเนื้องอกในสมองที่เกิดขึ้นที่บริเวณก้านสมอง อาการ คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง สำสักอาหาร นอกจากการฟื้นฟูทางร่างกายแล้ว ยังต้องช่วยสร้างแรงจูงใจของผู้รับบริการรายนี้ด้วย การฟื้นฟูทางกิจกรรมบำบัดจะเน้นเรื่องการทานอาหาร เทคนิคชื่อว่า Ball - Rolling Exercise โดยให้ผู้รับบริการอมลูกบอลที่ผูกเชือกยาวไว้ แล้วเลื่อนลูกอมไปทั่วๆในปาก โดยที่ผู้บำบัดเป็นคนคอยจับเชือกไว้ เทคนิคนี้ช่วยการทำงานของกล้ามเนื้อปาก

เพื่อนคนที่ 16 กรณีศึกษาเป็น Closed 3 fracture มีการใช้ (IPC) Intermittent Pneumatic Compression คือ อุปกรณ์ใส่ขาเพื่อช่วยให้การสูบฉีดเลือดที่ขาไปยังหัวใจ ลดอาการเส้นเลือดอุดตัน คล้ายๆเครื่องปั้มลมเข้าไปที่ขา

เพื่อนคนที่ 17 กรณีศึกษาเป็น (Stroke) มีการใช้หลักการของ Brunnstom ในการฟื้นฟูของมือ นิ้วมือที่มีส่วนช่วยในการหยิบจับ และเทคนิค Motor Relearning ช่วยส่งเสริมเรื่องของการใช้งาน และหลักการ (CIMT) ช่วยส่งเสริมการใช้มือได้ด้วย แต่ขึ้นอยู่กับความถี่ของการฝึก และเน้นเรื่องความสามารถในการกลับไปทำงานด้วย

เพื่อนคนที่ 18 กรณีศึกษาเป็น (Stroke) อัมพาตครึ่งซีก มีภาวะเกร็ง spastic มีการใช้เทคนิค Mirror Box Therapy คือ ให้ผู้ป่วยที่นำมือข้างอ่อนแรงใส่ในกล่อง ซึ่งด้านข้างกล่องจะเป็นกระจกเงา ให้สามารถมองสะท้อนเห็นมือข้างปกติทำงานเสมือนเป็นการกระตุ้นมืออ่อนแรงในการทำ Action ตามมือข้างปกติ ที่เป็น Motor Relearning สมองเกิดการเรียนรู้การเคลื่อนไหวของอีกข้างตาม เป็นการ Imagination ซึ่งอาจารย์ได้แนะนำให้ นศ.ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง Mirror Therapy ด้วย

เพื่อนคนที่ 19 กรณีศึกษาเป็น Severe Depression Disorder มีการใช้หลักการ(CBT) Cognitive Behavior Therapy ช่วยเกิดการเปลี่ยนแปลงความคิด เพื่อเกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม ร่วมกับหลักการ (IPT) Interpersonal Psycho Therapy คือ การตั้งคำถามมาเพื่อให้ผู้รับบริการคิดว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี แล้วให้เลือก เพื่อเกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม โดยการเปลี่ยนแปลงความคิดของเขา แล้วเมื่อผู้ป่วยสามารถเข้าใจตนเองมากขึ้น จึงเน้นด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะทางสังคมมากขึ้น 

เพื่อนคนที่ 20 กรณีศึกษาเป็น (SCI-C7 Incomplete) Spinal Cord Injury เป็นการฟื้นฟูโดยใช้กรอบอ้างอิง COPM ดูความต้องการของผู้ป่วยด้วย คือ การดูแลตนเองและการฝึกทรงตัวในการนั่ง พร้อมมีการฝึกการทำงานของมือร่วมด้วย เพื่อเป็นกิจกรรมที่มีเป้าหมายมากขึ้น และการใช้หลักการ MOHO ในการเพิ่มแรงจูงใจในการทำกิจกรรมด้วย

หมายเลขบันทึก: 474323เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2012 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 06:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท