พยาน


ต้องอ่าน

 

Global Moderator


 

  

                                   กฏหมายควรรู้ในชีวิตประจำวัน

                             « เมื่อ: 11,มิถุนายน,2010, 07:08:53 PM »

 


                                             การเป็นพยานในศาล

   เมื่อคุณอยู่ในเหตุการณ์ในคดีหนึ่ง หรือ อาจไม่อยู่ในเหตุการณ์แต่มีผู้อ้างคุณเป็นพยานคุณจะต้องไปเป็นพยานในศาลตามข้อบังคับของกฏหมาย กฏหมายเกี่ยวกับเรื่องนี้ควรจะรู้ไว้บ้าง
พยานบุคคลที่จะต้องไปสืบพยานในศาลมีอยู่ 2 กรณีด้วยกันคือ
1.พยานที่คู่ความนำไปเอง หรือ ที่เรียกว่า  "พยาน"
2.พยานที่ศาลมีหมายเรียกไป หรือ เรียกว่า "พยานหมาย
พยานทั้งสองกรณีต้องปฏิบัติดังนี้คือ
1.  ตรวจหมายเสียก่อน
เมื่อได้รับหมายเรียกให้เป็นพยาน ต้องตรวจดูในหมายนั้น
เป็นหมายของศาลอะไร  อยู่ที่ไหน  ต้องตรวจดูว่าให้พยานไปเบิกความในวัน เดือน ปีอะไร
ปกติศาลจะนัดเวลา 09.00 น. หรือ 13.30 น.
2. ไปศาลตามวันเวลานัด
2.1  พยานได้รับหมายศาลแล้ว  มีความจำเป็นไม่อาจไปศาลได้  
การขัดขืนไม่ไปศาลอาจถูกศาลออกหมายจับไปกักขังไว้จนกว่าจะเบิกความต่อศาล  
นอกจากนั้นยังเป็นความผิดตาม ประมวลกฏหมายอาญาอีกด้วย  พยานควรไปถึงศาลให้ตรงตามนัด  
หากไปไม่ตรงเวลาศาลอาจเลื่อนการสืบพยานและอาจต้องไปศาลใหม่

2.2  เมื่อไปถึงศาลแล้ว  ควรนำหมายเรียกนั้นไปสอบถามเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
 หรือตรวจดูจากบัญชีนัดความที่ศาลติดประกาศไว้หน้าอาคารศาลว่า
 คดีที่จะต้องเบิกความเป็นพยานนั้น ศาลจะออกพิจารณาที่ห้องพิจารณาเลขที่เท่าไร
 แล้วไปรอที่ห้องพิจารณานั้น เพื่อคู่ความฝ่ายที่อ้างพยานหรือ
เจ้าหน้าที่ศาลจะได้ทราบว่า พยานได้มาแล้ว

2.3  พยานคนใดจะเบิกความก่อนหลัง สุดแล้วแต่ศาลหรือคู่ความฝ่ายอ้าง
พยานที่ยังไม่ได้เบิกความจะต้องรอนอกห้องพิจารณาหรือที่ห้องพักพยาน


3.  การปฏิญาณ

หรือสาบานตนก่อนเบิกความพยานจะต้องปฏิญาณหรือสาบานตนตามลักธิศาสนา  เว้นแต่

3.1  บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 14 ปี หรือหย่อนความรู้สึกผิดชอบ

3.2  ภิกษุสามเณรในพุทธศาสนา

3.3  บุคคลที่คู่ความตกลงกันว่า  ไม่ต้องปฏิญาณหรือสาบาน  สำหรับพระภิกษุสามเณรนั้น
จะไม่ไปศาล หรือไปแล้วไม่เบิกความเลยก็ได้  ส่วนพยานอื่นหากขัดขืนคำสั่งศาลที่ให้ปฏิญาน
หรือให้เบิกความ มีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญา


4.  การถามพยาน

เมืื่อปฏิญานหรือสาบานแล้วพยานจะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับ
ชื่อ อายุ ที่อยู่ และความเกี่ยวพัน
ระหว่างพยานและคู่ความ  จากนั้นคู่ความหรือทนายความฝ่ายที่อ้างพยานมา  
ศาลจะถามเรื่องราวจากพยาน เมื่อฝ่ายที่อ้างถามพยานเสร็จแล้ว  
คู่ความหรือทนายความอีกฝ่ายอาจจะถามค้านพยาน
อีกครั้งหนึ่ง  กฏหมายห้ามมิให้ถามพยานด้วยคำถามที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี
หรือคำถามที่อาจทำให้พยานหรือคู่ความอีกฝ่ายหนึ่ง หรือ บุคคลภายนอกต้องรับโทษทางอาญา
  หรือเป็นคำถามที่เป็นการหมิ่นประมาทพยาน  หากมีคำถามเช่นว่านี้ศาลจะเตือน
ให้พยานรู้ตัวก่อนหรืออาจห้ามใช้คำถามเช่นนั้น


5.  การเบิกความ

การเบิกความ  ศาลอาจจะให้พยานเบิกความโดยวิธีเล่าเรื่องตามที่ตนได้รู้ได้เห็น
 หรือได้ยินมาโดยตรงเท่านั้นและจะต้่องเบิกความด้วยวาจา
 ห้ามอ่านข้อความหรือจดหรือเขียนมา
 เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลหรือพยานผู้เชี่ยวชาญ


6.  เลื่อนการสืบพยาน

ในกรณีที่มีการเลื่อนสืบพยานไป  ศาลอาจสั่งให้พยานลงชื่อรับทราบวันนัดครั้งต่อไปไว้
 กรณีเช่นนี้ต้องบันทึกจดจำไว้ให้ดี  เพราะศาลจะไม่ออกหมายเรียกไปอีก
 และจะถือเสมือนว่าพยานได้รับหมายเรียกในนัดต่อไปแล้ว


7.  ค่าพาหนะและค่าป่วยการพยาน

ในคดีแพ่งพยานที่มาศาลตามหมายเรียก  ศาลจะกำหนดค่าป่วยการพยาน
ตามรายได้และฐานะของพยานแต่ไม่เกินวันละ 150 บาท กับค่าพาหนะเดินทางและค่าเช่า
ที่พักของพยานที่เสียไปด้วยตามสมควร
 ในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์  ศาลมีอำนาจสั่งให้โจทก์เสียสค่าพาหนะ
แก่พยานโจทก์ตามที่ได้เสียไปจริงไม่เกินสมควร  ในคดีอาญาที่ราฏร์เป็นโจทก์  
โจทก์จะต้องเสียค่าพาหนะให้แก่พยานโจทก์เท่าที่เสียไปจริงตามสมควร


ความผิดอาญา

การขัดหมายเรียกของศาลไม่ไปให้ถ้อยคำหรือเบิกความเป็นพยาน  
มีความผิดตามประมวลกฏมายอาญามาตรา 170ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ

การเบิกความเท็จในการพิจารณาคดีต่อศาล  ถ้าความเท็จนั้นเป็นข้อสำคัญในคดี
มีความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา 177 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี
 หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


เป็นไงครับได้ความรู้พอสมควรสำหรับการเป็นพยานศาล
 อ้อ..ขอเสริมอีกสักนิดน๊ะครับ กรณีตาม
ข้่อ 2.1 นั้นหากว่าท่านไม่พร้อมที่จะไปเป็นพยาน อาจเจ็บป่วย
หรือ อาจมีธุรกิจสำคัญจำเป็นต้องเลือนการเป็นพยานออกไปจากกำหนดกรณีนี้
ถ้าหากท่านเป็นพยานฝ่ายจำเลย ท่านต้องทำบันทึก
แจ้งให้ญาติของจำเลยหรือทนายฝ่ายจำเลยทราบล่วงหน้าแต่หากท่าน
เป็นพยานฝ่ายโจทก์ หรือที่อัยการเป็นโจทก์ (ที่พนักงานสอบสวนตำรวจมาสอบท่านเป็นพยาน)
 ท่านจะต้องแจ้งให้พนักงานสอบสวนทราบพร้อมทั้งทำบันทึกเหตุขัดข้อง
เพื่อว่าตำรวจจะได้นำไปให้อัยการขอเลือนการสืบพยานออกไป
พยานบางท่านอาจได้รับหมายเรียกจากศาลให้เป็นพยานหลังจาก
คดีล่วงเลยมาเป็นปี ๆ แล้ว อีกทั้งตำรวจคนสอบสวนก็ได้ย้ายไปอยู่ที่อื่นแล้ว
 กรณีเช่้นนี้ท่านจะไปดูคำให้การของท่านจากกากสำนวนของตำรวจก็ไม่ได้  
ท่านจะต้องไปพบอัยการที่สำนักงานอัยการก่อนเวลา
 สอบถามเจ้าหน้าที่ประจำสำนักอัยการว่า ใครเป็นเจ้าของ
สำนวนตามหมายเรียกของศาลให้เรามาเป็นพยานศาลในวันนี้ เจ้าหน้าที่
ก็จะเปิดรายการและแนะนำให้เราไปพบอัยการผู้นั้นเพื่ออ่านคำให้การของเราเพื่อให้
จำได้ก่อนที่จะเข้าห้องพิจารณาคดี  หรือหากเป็นกรณี ขอเลือนตาม
ข้อ 2.1 ก็ให้ไปพบก่อนล่วงหน้าสักวันสองวันเพื่อทำบันทึกให้อัยการ
ไปแถลงต่อศาลขอเลือนการเป็นพยานศาลของเรา  
จบแล้วครับ

อธิบายภาพ
1. ศาล   2. พยาน   3. จำเลย  4. ทนายจำเลย
5. อัยการ (ทนายโจทก์)  6. เสมียนศาล (ให้พยานสาบาน)
7-8  ญาติของโจทก์ และ จำเลย









 
คำสำคัญ (Tags): #พยาน
หมายเลขบันทึก: 473973เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2012 13:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 10:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ได้ความรู้นำไปใช้จริงๆขอบคุณนะคะ

เป็นความรู้ที่น่าสนใจและพวกเราทุกคนควรจะได้รับรู้เพื่อเตรียมตัวสำหรับผู้ที่กำลังจะต้องไปเป็นพยานนะครับ เตรียมตัวและรู้ก่อนเป็นประโยชน์อย่างยิ่งครับ อย่างที่สุภาษิตจีนกล่าวไว้ว่า รู้เขา รู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ครับ.....ฮ้า..อ้า

ขอบคุณมากค่ะสำหรับความรู้ในเรื่องที่สำคัญในชีวิตแต่คนส่วนมากรวมทั้งพี่ก็ยังไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไร หวังใจว่าจะไม่ต้องไปเป็นพยานให้ใคร แต่ถ้าจำเป็นต้องไปก็รู้สึกมั่นใจขึ้นแล้วค่ะ

เป็นประโยชน์มากๆๆค่ะสำหรับผู้ที่ไม่รู้เกี่ยวกับเรื่องการไปเป็นพยาน...แต่ขออยู่ห่างเรื่องพวกนี้ดีกว่า...น่ากลัวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท