สุ จิ ปุ ลิ


ฟังด้วยสมอง มองด้วยปัญญา
ฟังด้วยสมอง  มองด้วยปัญญา

พ่อแม่แต่โบราณมีความฉลาดทางด้านการศึกษา เมื่อจะบอกลูกสอนหลานจะใช้กุศโลบายในการสอน คือจะสอนให้คิด และทำให้ดู คือตาดู หูฟัง ปากท่อง สมองจำ คำศัพท์ที่จำยากก็จะเอาคำต้นมาย่อ เพื่อให้จำง่าย ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองส่วนมากคงผ่านวิธีการนี้มา สรุปคือท่านใช้หลัก สุ จิ ปุ ลิ 

คนสมัยใหม่ เรียกสี่คำนี้ว่าคาถา (เรียนเก่ง)แต่ละคำมีความหมายดังนี้ สุ  มาจากคำว่า สุตะ  คือการฟัง ทุกคนเกิดมามีการฟังเป็นเบื้องต้น จิ  มาจากคำว่า จินตะ คือการคิด ฟังแล้วไม่คิดก็ไม่เกิดปัญญา ปุ  มาจากคำว่า ปุจฉา คือการถาม เมื่อมีปัญหาต้องคิดต้องถามจึงเกิดปัญญาลิ  มาจากคำว่า ลิขิต คือการเขียน เมื่อฟัง คิด ถามแล้วจำไม่ได้ต้องรีบจด กระบวนการเหล่านี้เป็นเพียงกรรมวิธี ที่จะได้มาซึ่งองค์ความรู้ที่มีอยู่ทั่วทุกแห่ง

       ความรู้ที่เกิดขึ้น จะทรงอยู่หรือว่าสูญหาย ขึ้นอยู่กับการทบทวน หรือที่เราเรียกว่าท่องจำ แต่ปัจจุบันวิทยาการมากมายหลากหลายสาขา  ยากต่อการจดจำ ปราชญ์เฒ่าโบราณจึงสอนลูกหลานให้ฟังด้วยสมอง  มองด้วยปัญญา กล่าวคือฟังทุกเรื่องแต่อย่าจำทั้งหมด เอาสมองกรองเอาเฉพาะเรื่องที่เป็นสาระ มองทุกสิ่งที่ตาเห็น แต่จงเอาปัญญากรองเฉพาะภาพที่ชัดเจนเป็นประโยชน์

การศึกษาไทยยุคใหม่ที่ไร้พรมแดน ฟังให้ดี คิดให้ดี สอบถามและบันทึก เราจะฉลาดขึ้นยืนอยู่บนพื้นฐานภูมิปัญญาของตนเอง  เด็กไทยอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ก็ให้เลื่อนชั้นขึ้นไป ครูไม่สามารถลงโทษเด็กที่มีพฤติกรรมเลวได้ เพราะใช้สิทธิเสรีภาพเกินขอบเขต การปฏิรูปการศึกษาหากหา สี่คำนี้ไม่เจออาจนำไปสู่ความล้มเหลวได้

 

คำสำคัญ (Tags): #มหาจุฬาฯอุบล
หมายเลขบันทึก: 473906เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2012 10:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท