ภาคีร่วมผลักดันนโยบายสวัสดิการภาคประชาชน


นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับสวัสดิการสังคม

ภาคีร่วมผลักดันนโยบายสวัสดิการภาคประชาชน

การไปเข้าร่วมประชุมประจำเดือนของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์วันละบาทที่จังหวัดสงขลา หนึ่งในโครงการที่แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนนั้น นำมาซึ่งการพยายามรวบรวมข้อมูลเพื่อหาภาคีร่วมผลักดันเรื่องนี้ร่วมกัน

  • การศึกษาวิจัย เรื่องความเหมาะสมของระบบการออมเพื่อสวัสดิการและการชราภาพของแรงงาน นอกระบบโดยผ่านกลไกการทำงานชุมชน โดยสถาบันพัฒนาสยาม และสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://gotoknow.org/suwatana)
  • โครงการเผยแพร่ความรู้การพัฒนาระบบสวัสดิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ภายใต้แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.hppthai.org/ แล้ว คลิ๊กที่ลิงค์เว็บไซต์/ โครงการเผยแพร่ความรู้การพัฒนาระบบสวัสดิการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน
  • โครงการปฏิบัติงานนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี กรณีศึกษา : กองทุนสัจจะวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน ภายใต้แผนงานพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.hppthai.org /แล้ว คลิ๊กที่ลิงค์เว็บไซต์/เครือข่ายพัฒนานโยบายสาธารณะภาคใต้

  • การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กรการเงินชุมชน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://km4fc.wu.ac.th/

  • สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) พอช.การมีการทำเรื่องสวัสดิการชุมชน(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.codi.or.th)

นี่คงเป็นเพียงส่วนหนึ่งจากอีกหลายๆ ภาคส่วนของสังคม ที่ทำงานเพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้อยู่ มสช. อยากประสานให้เกิดการประชุมร่วมภาคีเหล่านี้ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ นำเสนอเรื่องราวจากพื้นที่ และรวมวางยุทธศาสตร์การทำงานร่วมกัน

อยากเชิญชวนทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและผู้ที่สนใจร่วมกันเสนอแนะความคิดเห็นในเรื่องนี้ด้วยคะ

                                                                                                      โอ มสช.

    

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4739เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2005 13:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมมีโอกาสไปร่วม  "ตลาดนัดความรู้แก้ปัญหาหนี้สินโดยชุมชน"  จัดโดย  พอช.

และเก็บบันทึกบางประเด็นที่ได้จากเวทีครั้งนี้  เข้าอ่านได้ที่

http://learn-together.gotoknow.org

ธวัช หมัดเต๊ะ

 

หรือ  ไปที่ "ค้นหา"   แล้วพิมคำว่า  "ออม"

ก็จะพบกับ blog ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องการเงินชุมชนหลายอยู่เหมือนกันครับ

 

ลืมไปนิดหนึ่งครับ   ตรงที่ค้นหา   จะมีช่องให้เรากดเลือกด้วยนะครับ   ผมทดลองเลือก  "บันทึก"  และพิมพ์คำว่า "ออม"  ก็พบหลาย blog ที่เขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้  รวมทั้ง บัทึกครั้งนี้ของคุณโอ  ด้วยครับ

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ผมเสนอให้มสช.กับก.คลังโดยพี่สุวัฒนาซึ่งจับเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องจริงจัง (สศค.มี2ส่วนที่จับเรื่องนี้    อีกส่วนงานหนึ่งทำเรื่องแผนแม่บทการเงินฐานราก) ร่วมเป็นhubเชื่อมโยงหน่วยงานนโยบายและปฏิบัติการของรัฐและเอกชนมาคุยเรื่องนี้กันครับ
ที่จริงในCoPนโยบายสาธารณะเรื่องสวัสดิการสังคมที่มสช.ให้การสนับสนุนก็คุยเรื่องนี้กันอยู่เหมือนกัน ผู้ประสานงานคือ   คุณราภรณ์ [email protected] กำลังประสานจัดประชุมหน่วยงานองค์กรที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผมได้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพ(สถานที่) เชิญชวนให้มาจัดประชุมที่ม.วลัยลักษณ์ นครศรีธรรมราชด้วยครับ
นอกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังมีUNDPให้การสนับสนุนด้วย
นอกจากนี้ สศช.มีงานวิจัยระบบการเงินระดับจุลภาคโดยTDRIมีข้อเสนอแนะพาดพิงถึงสัจจะวันละบาทด้วย เป็นต้น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในgotoknow.org/km4fcในเมฆความรู้ หัวข้อดร.ครูชบ ยอดแก้ว สัจจะวันละ1บาท สศช.และสศค.ได้ครับ

การผลักดันนโยบายว่าด้วยเรื่องสวัสดิการภาคประชาชนเป็นเรื่องที่น่าดำเนินการอย่างยิ่ง แต่ที่สำคัญคือต้องหาวิธีทำงานด้วยกัน และพร้อมๆกันอย่างเป็นระบบ  วิธีร่วมมือแบบภาคี น่าจะเกิดประโยชน์ที่สุด และหลีกเลี่ยงการทำการผลักดันแบบลงไปมะรุมมะตุ้ม และแห่กันไปทำ เพราะภาคประชาชนซึ่งเป็นผู้ที่ทำงานเลี้ยงตนเองแบบไม่มีเงินเป็นเดือนแต่ได้รับค่าจ้างทำงานเป็นวัน จะเสียเวลาและสูญเสียรายได้ ประเทศก็จะสูญเสียผลผลิต

        ดังนั้นบรรดาภาคีทั้งหลายต้องรีบเร่งสร้างเครือข่ายงานกันโดยด่วน

         การผลักดันนโยบายสวัสดิการภาคประชาชนนี้นับว่าเป็นสุดยอดของ WIN-WIN เพราะถ้าดูดีๆรัฐบาลจะได้การสร้างฐานความเข้มแข็งของประชาชนด้วยการลงทุนที่ถูกที่สุดเพราะประชาชนทำเอง เพียงรัฐเป็นพี่เอื้อกับพี่ประสาน ก็สุดยอดแล้ว

         ท้ายที่สุดที่ไม่สุดท้ายประสงค์จะไปเยี่ยม ม.วลัยลักษณ์ เพราะไม่เคยไปเลยคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท