ว่าวไทย


ศิลปะการเล่นกับสายลม

นิทานตำนานว่าว

      ในสมัยของพระเจ้าอู่ทอง พ.ศ.1901 มีการกำหนดในพระอัยการ ว่า ห้ามประชาชนเล่นว่าวข้ามพระราชวัง  แสดงว่าสมัยนั้นคงจะมีการเล่นว่าวกันมาก  อาจเกรงว่าจะสร้างความเสียหายแก่ปราสาทราชมณเฑียร  หรือไม่ก็กริ่งเกรงต่อความไม่ปลอดภัย  เพราะเคยมีการใช้ว่าว  เป็นเครื่องมือในการศึก  เช่น สมัยพระเพทราชาทรงส่งกองทัพไปปราบกบฏเจ้าเมืองนครราชสีมา  แม่ทัพได้ใช้ว่าวจุฬาเป็นเครื่องช่วยนำหม้อบรรจุดินดำข้ามกำแพงเมืองเข้าไประเบิดภายในเมือง ทำให้ปราบกบฏสำเร็จ

      ส่วนการเล่นว่าวเพื่อการแข่งขัน  น่าจะมีขึ้นในสมัยอยุธยา ว่าวเป็นเครื่องเล่นของเด็กแต่ในประเทศสยามลมพัดแรง จะเห็นว่าวใหญ่ ๆ เป็นฝูงไล่ไขว้คว้ากันในอากาศ มีผ้คนเป็นกลุ่ม ๆ พนันขันต่อกัน

      การเล่นว่าวเป็นที่นิยมสืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์  มีหลักฐานปรากฏในจิตรกรรมฝาผนังตามวัดต่างๆ หลายแห่ง  มีการประดิษฐ์ว่าวให้รูปร่างหลากหลายมากขึ้น  มีการแข่งขันว่าวถวายหน้าพระที่นั่ง 

 

คำสำคัญ (Tags): #ว่าว#ว่าวไทย
หมายเลขบันทึก: 473883เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2012 10:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 16:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ไปเล่นเมื่อไหร่ไปด้วยน๊า :)

ว่าวไทย เย้ๆๆๆ อยากเล่นว่าว...วู้ๆๆๆๆ

ว่าวไทย เย้ๆๆๆ อยากเล่นว่าว...วู้ๆๆๆๆ

อ่านแล้วยากเล่นจังเลย นึกถึงสมัยเด็กๆ คะ น้องขา

ขอไปเล่นด้วยคนนะจ๊ะ อยากกลับไปเป็นเด็กจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท