case study I


นำเสนอกรณีศึกษาครั้งที่ 1

ออทิสติก

กรณีศึกษา เพศ ชาย อายุ 17 ปี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิสติก โดยถูกส่งต่อมาหานักกิจกรรมบำบัดเพื่อฝึกทักษะการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหาร ทำกิจกรรมยามว่าง หรือฝึกการช่วยเหลือตนเองในด้านต่างๆ

 โดยสิ่งที่ดิฉันได้ทำการฝึกให้กับผู้รับบริการมีดังต่อไปนี้ คือ

1. ฝึกให้ผู้รับริการแกะถุงอาหารเพื่อรับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง

    กิจกรรม บอกขั้นตอนการแกะถุงอาหารให้ผู้รับบริการ แล้วให้ผู้รับบริการพูดตาม แล้วถามซ้ำ จากนั้นให้ลองทำกับสถานการณ์จริง ถ้าทำไม่ได้หรือติดขัดที่ขั้นตอนใดจะใช้การเตือนในขั้นตอนนั้น

2. ลดภาวะการกระตุ้นตนเองผ่านกิจกรรมที่มีคุณค่าและมีความหมาย เช่น กิจกรรมการเหลาดินสอ กิจกรรมการฝึกพิมพ์สัมผัส กิจกรรมการปั้นดินน้ำมันเพื่อต่อยอดนำไปสู่กิจกรรมที่มีเป้าหมาย คือ การปั้นขนม หรือการรับจ้างพิมพ์งาน

3. ฝึกให้ผู้รับบริการสามารถล้างจานได้ด้วยตนเอง

   ขั้นตอนการทำกิจกรรมจะคล้ายข้อ 1 แต่เปลี่ยนเป็นกิจกรรมการล้างจาน

4. เพิ่มระดับความตื่นตัวของผู้รับบริการให้เหมาะสมในการทำกิจกรรม เนื่องจากผู้รับบริการมีลักษณะของการเหม่อลอยตลอดเวลา มีความเชื่องช้าและงุ่มง่ามในการทำกิจกรรม

    ก่อนการเริ่มทำกิจกรรมต่างๆ จะให้ผู้รับบริการทำกิจกรรมที่กระตุ้นระบบต่างๆ เพื่อเพิ่มระดับความตื่นตัวของการทำกิจกรรม เช่น การกระโดดข้ามสิ่งกีดขวาง เป็นต้น

5. เพิ่มช่วงความสนใจให้เหมาะสมในการทำกิจกรรมง่ายได้ เช่น การพิมพ์งานให้เสร็จสมบูรณ์เหมาะสมกับเวลา โดยเพิ่มจำนวนงานที่พิมพ์ และเพิ่มเวลาการพิมพ์งานของผู้มารับบริการ

6. สามารถเริ่มต้นในการทำกิจกรรมง่ายๆ ได้ด้วยตนเอง เช่นกิจกรรมการออกกำลังกายเพื่อส่งเสริมการมึสุขภาพที่แข็งแรง และจุดประสงค์ของเป้าหมายนี้เนื่องจากผู้รับบริการไม่สามารถเริ่มต้นทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง

    จะจัดทำตารางรูปภาพแสดงกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวันให้ผู้รับบริการและอธิบายถึงวิธีในการใช้ตารางรูปภาพให้แก่ผู้ปกครองของผู้รับบริการ

ผลของการฝึก

1. สามารถแกะถุงอาหารได้ดีขึ้น เตือนน้อยลง

2. สามารถทำกิจกรรมที่มีคุณค่า เช่น การปั้นดินน้ำมันหรืเหลาดินสอโดยมีการเตือนน้อยลง

3. สามารถล้างจานได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องเตือนได้เพียงขั้นตอนเดียวคือ ขั้นการถูจาน

4. มีระดับความตื่นตัวในการทำกิจกรรมเพิ่มขึ้น เมื่อได้รับการกระตุ้นที่ระบบต่างๆ ของร่างกายก่อนการทำกิจกรรมต่างๆ

5. ยังมีช่วงความสนใจในการทำกิจกรรมไม่ต่อเนื่อง ต้องเตือนเป็นระยะ (กิจกรรมการฝึกการพิมพ์สัมผัส)

6. ยังไม่สามารถเริ่มต้นในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้ด้วยตนเอง ติดการเตือนโดยผู้ปกครอง

หลักฐานที่ดิฉันได้นำมาสนับสนุนการให้การรักษา/ข้อมูลเพิ่มเติมในการรักษา

หลักฐานI : เกี่ยวกับการฝึกอาชีพในผู้ป่วยออทิสติก โดยจากงานวิจัยที่ได้อ่านพบว่ามีการนำผู้ป่วยออทิสติก อายุ 12-13 มาทำการทดลองในการฝึกอาชีพ โดยการฝึกอาชีพนั้น เป็นงานที่สามารถพบได้ทั่วไปจากการทำงาน เช่น การทำอุปกรณ์ในการทำงานหาย อุปกรณ์ในการทำงานแตกหัก จับคู่อุปกรณ์กับการทำงานผิดประเภท ซึ่งเป็นงานที่มีความยากลำบากในการที่จะทำให้สำเร็จของผู้ป่วยออทิสติก โดยผลจากงานวิจัยพบว่า การที่ผู้ป่วยออทิสติกได้รับการฝึกการขอความช่วยเหลือทั้งในด้าน การทำอุกรณ์หาย อุปกรณ์ในการทำงานแตกหัก หรือ จับคู่อุปกรณ์ผิดประเภท จะประสบความสำเร็จเมื่อ ได้รับการฝึกตั้งแต่เป็นเด็ก ประมาณ 3-4 ขวบ เป็นต้นไป และมีการฝึกแบบสุ่ม คือ ถ้าร้องขอความช่วยเหลือไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการช่วยเหลือ ดังนั้นจึงต้องร้องขอการช่วยให้ถูกต้องโดยการฝึกการขอความช่วยเหลือ (จากงานวิจัยชื่อ :Teaching adolescents with autism to describe a problem and request assistance during simulated vocational tasks (2011))

หลักฐานII : เกี่ยวกับการให้การรักษาผู้ป่วยออทิสติก ซึ่งมีการรักษาหลายประเภท เช่น การรักษาด้วยการใช้เทคนิคการบูรณาการประสาทความรู้สึก (sensory integration), การรักษาโดยใช้เทคนิคที่เกี่ยวพื้นฐานด้านความสัมพัน (relationship-based, interactive intervention)เป็นต้น (จากงานวิจัยชื่อ : Evidence-Based Review of Interventions for Autism Used in or of Relevance to Occupational Therapy (2008))

สรุป การที่ดิฉันเลือกการให้การรักษาที่เกี่ยวกับทักษะการใช้ชีวิตประจำวันและทักษะด้านที่เกี่ยวกับการส่งเสริมการประกอบอาชีพเนื่องจาก คิดว่ากรณีศึกษามีความจำเป็นและสมควรที่จะกระทำทักษะดังกล่าวที่ได้ฝึกไปได้ เนื่องจากเป็นสิ่งที่เด็กในวัยนี้ควรที่จะทำได้ และเป็นกิจวัตรประจำวันที่จะทำให้ผู้ป่วยอยู่ได้โดยพึ่งพาบุคคลอื่นน้อยที่สุด

หมายเลขบันทึก: 473846เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2012 07:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณคุณเบญรัตน์ในการแบ่งปันประสบการณ์ในครั้งนี้ค่ะ

เป็นเคสที่น่าสนใจอีกเคสหนึ่งนะคะ..เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วเราจะเจอเคสออทิสติกที่เป็นเด็กมากกว่าวัยรุ่น

อีกทั้งกิจกรรมที่ให้ก็เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจ ทั้งยังเกี่ยวข้องกับการฝึกอาชีพซึ่งเขาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง

อยากจะทราบเกี่ยวกับการสื่อสารของเคสนี้น่ะค่ะ..ว่าเขาใช้การสื่อสารอย่างไร และเมื่อเขาต้องดำเนินชีวิตประจำวันเขาสื่อสารกับบุคคลอื่นได้หรือไม่อย่างไร และเราจะสามารถช่วยเขาได้อย่างไรบ้างคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท