ก้านแมงจินูน


ก้านแมงจินูน บุญช่วย มีจิต ทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน ก่อนที่จะได้อ่านต่อไปใคร่ขอทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านก่อน เกี่ยวกับศัพท์และความหมายของคำที่ใช้ เพราะคำบางคำจำเป็นต้องใช้ภาษาถิ่น เพราะเมื่อแปลออกมาแล้วไม่ได้ความหมายหรือความรู้สึกเหมือนภาษาเดิมเขา คำว่า “ ก้าน” ไม่ได้หมายถึงกิ่งไม้ หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกิ่งไม้เลยแม้แต่น้อย แต่ก้านคำนี้เป็นคำกริยา หมายถึงใช้ไฟส่องหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งในที่มืด “ แมงจินูน” ตัวแมลงชนิดหนึ่งสีน้ำตาลอมแดง ชอบกินใบไม้อ่อน ๆ เช่นใบมะขาม ตะโก ติ้ว เป็นต้น ตัวเล็ก ๆ นำมาคั่วไฟอ่อน ๆ รับประทานกับข้าวเหนียวอร่อยดีนัก คนอีสานชอบกินเป็นประจำ บางแห่งเรียก แมงขะหนูน แมงอิฮูม แล้วแต่ท้องถิ่น แต่หมายถึงแมลงกินใบไม้ชนิดเดียวกัน แมลงชนิดนี้ใช่ว่าจะมีทุกฤดูก็หาไม่ แต่จะมีเฉพาะหน้าแล้งใบไม้ผลัดใบ ออกใบอ่อนพวกมันก็จะพากันมากินใบไม้ตอนหัวค่ำ ถ้าตกดึกพวกมันกินอิ่มแล้วก็จะบินไปที่อื่น และกลางวันก็จะหลบซ่อนตัวตามพุ่มไม้หรือพื้นดิน แต่พอตะวันตกดินตอนหัวค่ำก็จะพากันออกมากินใบไม้เต็มไปหมด จะสังเกตว่าต้นไหนมีแมงจินูนมากินมากหรือน้อย ต้องดูที่ใบไม้(ส่วนใหญ่จะเป็นตันมะขาม) จะเห็นแหว่ง เหี้ยนโกร๋นไปทั้งต้น แสดงว่าพวกเขามากินกันมาก กรรมวิธีการจับแมงจินูนแบบเดิม ๆ ก็ใช้ตะเกียง หรือ กะบอง ( ขี้ใต้ ) ส่องให้แสงสว่าง เจ้าแมงจินูนก็จะจับแทะกินใบไม้เต็มไปพรืดหมด พวกเราก็จะเก็บ ( จับ ) ใส่ตะข้อง หรือ กระป๋องน้ำใส่น้ำนิดหนึ่งกันไม่ให้พวกมันบินหนี ถ้าเป็นต้นไม้สูง ๆ เก็บไม่ถึงก็จะเขย่าลำต้นให้มันร่วงลงดินแล้วก็แย่งกันเก็บ การออกไปก้านแมงจินูนนี้ เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานมาก เด็ก ๆ ชอบ เพราะไปกันเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เฉพาะเพื่อนซี้ที่รู้ใจ คุยกันไปเก็บกันไป ถ้าโตเป็นหนุ่มเป็นสาวก็ถือโอกาสจีบกันไปจนลืมเก็บแมงจินูนเลยก็มี ตอนหัวค่ำจะมองเห็นแสงไฟส่องวับ ๆ แวม ๆ อยู่ทั่วไปตามสุมทุมพุ่มไม้ หรือ ใต้ต้นไม้ สักพักหนึ่งก็จะเดินทางกลับบ้าน เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะขี้ใต้ก็ทำเองจากน้ำมันยางผสมขอนดอก(ไม้เนื้ออ่อนผุ ๆ ) ห่อด้วยใบไม้ตองกุง แต่ปัจจุบันใช้ตะเกียงแก๊ส แบตเตอรี่ หรือ ไฟฉายให้แสงสว่างแทน และแมงจินูนที่ว่าก็หาได้ยากกว่าแต่ก่อน ต้นหนึ่ง ๆ มีไม่กี่ตัวเท่านั้นเอง นั่นเพราะจำนวนคนหามากขึ้น และที่สำคัญไม่ได้หาพอคั่วกินเพียงวัน ๆ เท่านั้น แต่หาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพราะเอาไปขายที่ตลาดได้ จึงทำให้ปริมาณแมงจินูนลดลงอย่างน่าใจหาย อีกไม่นานคงจะเป็นแมงสงวนหรือสูญพันธุ์ไปในที่สุด

ก้านแมงจินูน     บุญช่วย มีจิต

 

ทำความเข้าใจให้ตรงกันก่อน

                ก่อนที่จะได้อ่านต่อไปใคร่ขอทำความเข้าใจกับท่านผู้อ่านก่อน  เกี่ยวกับศัพท์และความหมายของคำที่ใช้  เพราะคำบางคำจำเป็นต้องใช้ภาษาถิ่น เพราะเมื่อแปลออกมาแล้วไม่ได้ความหมายหรือความรู้สึกเหมือนภาษาเดิมเขา

                คำว่า “ ก้าน”  ไม่ได้หมายถึงกิ่งไม้ หรือ ส่วนใดส่วนหนึ่งของกิ่งไม้เลยแม้แต่น้อย  แต่ก้านคำนี้เป็นคำกริยา หมายถึงใช้ไฟส่องหาสิ่งใดสิ่งหนึ่งในที่มืด

                “ แมงจินูน”  ตัวแมลงชนิดหนึ่งสีน้ำตาลอมแดง ชอบกินใบไม้อ่อน ๆ เช่นใบมะขาม ตะโก ติ้ว เป็นต้น  ตัวเล็ก ๆ นำมาคั่วไฟอ่อน ๆ รับประทานกับข้าวเหนียวอร่อยดีนัก คนอีสานชอบกินเป็นประจำ บางแห่งเรียก  แมงขะหนูน แมงอิฮูม แล้วแต่ท้องถิ่น แต่หมายถึงแมลงกินใบไม้ชนิดเดียวกัน

                แมลงชนิดนี้ใช่ว่าจะมีทุกฤดูก็หาไม่   แต่จะมีเฉพาะหน้าแล้งใบไม้ผลัดใบ  ออกใบอ่อนพวกมันก็จะพากันมากินใบไม้ตอนหัวค่ำ ถ้าตกดึกพวกมันกินอิ่มแล้วก็จะบินไปที่อื่น  และกลางวันก็จะหลบซ่อนตัวตามพุ่มไม้หรือพื้นดิน  แต่พอตะวันตกดินตอนหัวค่ำก็จะพากันออกมากินใบไม้เต็มไปหมด  จะสังเกตว่าต้นไหนมีแมงจินูนมากินมากหรือน้อย  ต้องดูที่ใบไม้(ส่วนใหญ่จะเป็นตันมะขาม) จะเห็นแหว่ง เหี้ยนโกร๋นไปทั้งต้น แสดงว่าพวกเขามากินกันมาก

                กรรมวิธีการจับแมงจินูนแบบเดิม ๆ  ก็ใช้ตะเกียง หรือ กะบอง ( ขี้ใต้ )  ส่องให้แสงสว่าง เจ้าแมงจินูนก็จะจับแทะกินใบไม้เต็มไปพรืดหมด  พวกเราก็จะเก็บ ( จับ ) ใส่ตะข้อง  หรือ กระป๋องน้ำใส่น้ำนิดหนึ่งกันไม่ให้พวกมันบินหนี  ถ้าเป็นต้นไม้สูง ๆ เก็บไม่ถึงก็จะเขย่าลำต้นให้มันร่วงลงดินแล้วก็แย่งกันเก็บ

                การออกไปก้านแมงจินูนนี้  เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานมาก เด็ก ๆ ชอบ เพราะไปกันเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ เฉพาะเพื่อนซี้ที่รู้ใจ  คุยกันไปเก็บกันไป  ถ้าโตเป็นหนุ่มเป็นสาวก็ถือโอกาสจีบกันไปจนลืมเก็บแมงจินูนเลยก็มี  ตอนหัวค่ำจะมองเห็นแสงไฟส่องวับ ๆ แวม ๆ อยู่ทั่วไปตามสุมทุมพุ่มไม้ หรือ ใต้ต้นไม้  สักพักหนึ่งก็จะเดินทางกลับบ้าน

                เป็นวิถีชีวิตที่เรียบง่าย  ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายใด ๆ  เพราะขี้ใต้ก็ทำเองจากน้ำมันยางผสมขอนดอก(ไม้เนื้ออ่อนผุ ๆ ) ห่อด้วยใบไม้ตองกุง  แต่ปัจจุบันใช้ตะเกียงแก๊ส แบตเตอรี่ หรือ ไฟฉายให้แสงสว่างแทน  และแมงจินูนที่ว่าก็หาได้ยากกว่าแต่ก่อน  ต้นหนึ่ง ๆ มีไม่กี่ตัวเท่านั้นเอง  นั่นเพราะจำนวนคนหามากขึ้น และที่สำคัญไม่ได้หาพอคั่วกินเพียงวัน ๆ เท่านั้น  แต่หาให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้  เพราะเอาไปขายที่ตลาดได้  จึงทำให้ปริมาณแมงจินูนลดลงอย่างน่าใจหาย  อีกไม่นานคงจะเป็นแมงสงวนหรือสูญพันธุ์ไปในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 473704เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2012 09:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 11:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท