"คนชอบอ่าน ชอบใช้ห้องสมุด" ประจำวันที่ 6 มกราคม 2555


สถิติการอ่านหนังสือของคนไทย


          การพูด การอ่าน การเขียน ฟัง กริยาเหล่านี้มนุษย์ทุกคนต้องปฏิบัติในชีวิตประจำวัน อยู่แล้ว แต่ปัจจุบันด้วยเหตุจำเป็นของเวลาที่มีขีดจำกัด จึงทำให้คนไทยห่างเหินกับการอ่านหนังสือ

          การศึกษาการอ่านหนังสือของคนไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากรในแต่ละวัยคือ วัยเด็ก (อายุ 6-14 ปี) วัยรุ่น (อายุ 15-24 ปี)วัยทำงาน(อายุ 25-59 ปี)และผู้สูงอายุ(อายุ 60 ปีขึ้นไป)โดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากรปี พ.ศ.2546 และครั้งล่าสุดเมื่อปี 2548 ที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งเป็นการสำรวจประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป สรุปประเด็นที่สำคัญดังนี้

          การอ่านหนังสือของคนไทย หมายถึง การอ่านหนังสือทุกประเภทรวมทั้งตำราเรียน ตลอดจนการอ่านจากอินเทอร์เน็ต ผลจากการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากรปี 2546 และ 2548 พบว่าประชาชนมีแนวโน้มอ่านหนังสือเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 61.2 ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 69.1 ในปี 2548 แม้ชายจะมีการอ่านหนังสือมากกว่าหญิง แต่หญิงมีอัตราการเพิ่มของการอ่านหนังสือมากกว่าชาย

http://2.bp.blogspot.com/_heHoaB7PRZI/S_YlOgebp1I/AAAAAAAABOQ/7OKdUvoHteE/s1600/read-books.jpg

          ประชากรในเขตเทศบาลมีการอ่านหนังสือมากกว่าประชากรที่อยู่นอกเขตเทศบาลทั้งนี้เนื่องจากมีแหล่งบริการ ร้านจำหน่าย และร้านให้เช่าหนังสืออยู่มากกว่า เมื่อจำแนกการอ่านหนังสือของประชากรตามวัยต่างๆพบว่า ในปี 2548 วัยเด็กมีการอ่านหนังสือมากที่สุด คือร้อยละ 87.7 รองลงมาคือ วันรุ่น(ร้อยละ 83.1)วัยทำงาน (ร้อยละ 65.0)และผู้สูงอายุ(ร้อยละ 37.4)

          ประเภทหนังสือที่อ่าน หนังสือพิมพ์เป็นหนังสือที่มีคนอ่านมากที่สุด โดยในปี2548 มีผู้อ่านหนังสือพิมพ์เพิ่มขึ้นจากปี 2546 คิดเป็นร้อยละ 27.6 การอ่านหนังสือประเภทตำราเรียนตามหลักสูตรมีการอ่านลดลง จากร้อยละ 40.0 ในปี 2546 เหลือเพียงร้อยละ 34.4 ในปี 2548 นอกจากนี้หนังสือประเภทนิตยสาร วารสาร/เอกสารที่ออกเป็นประจำ ตำรา/หนังสือเกี่ยวกับความรู้ก็ยังมีการอ่านลดลงเช่นกัน

          วัยเด็ก อ่านหนังสือประเภทตำราเรียนตามหลักสูตรมากที่สุด เนื่องจากยังอยู่ในวัยของการศึกษาภาคบังคับ รองลงมาคือนวนิยาย/การ์ตูน/หนังสืออ่านเล่น และตำรา/หนังสือเกี่ยวกับความรู้ วัยรุ่น อ่านหนังสือพิมพ์มากที่สุดถึงร้อยละ 68.9 ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 77.5 ในปี 2548 หนังสือพิมพ์เป็นหนังสือที่วัยทำงานอ่านมากที่สุด คือ มากกว่าร้อยละ 85 ทั้งในปี 2546 และ 2548 หนังสือพิมพ์เป็นหนังสือที่ผู้สูงอายุนิยมอ่านมากที่สุดเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังมีความสนใจในการอ่านจากอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้นจากร้อยละ 0.3 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 1.7 ในปี 2548

          สาเหตุที่ไม่อ่านหนังสือของคนไทย จากการสำรวจฯพบว่า ผู้ไม่อ่านหนังสือมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 38.8 ในปี 2546 เหลือร้อยละ 30.9 ในปี 2548 สาเหตุหลักของการไม่อ่านหนังสือของคนไทยในทุกวัยคือ การชอบฟังวิทยุ/ดูทีวี มากกว่าการอ่าน การชอบฟังวิทยุ/ดูทีวีเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้วัยเด็กไม่อ่านหนังสือ รองลงมาคือไม่ชอบอ่านหรือไม่สนใจอ่าน และอ่านหนังสือไม่ออก

          การส่งเสริมให้อ่านหนังสือ จากการสำรวจฯ ในปี 2548 เกี่ยวกับความคิดเห็นในการส่งเสริมเพื่อจูงใจให้ประชากรรักการอ่านหนังสือ พบว่าประชากรร้อยละ 31.6 เห็นว่าหนังสือควรมีราคาถูกลง และควรมีห้องสมุดประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ถือได้ว่าเป็นการสร้างโอกาสในการอ่านให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนมากยิ่งขึ้น การเลือกหนังสือที่เหมาะกับสภาพท้องถิ่นนั้นๆจะเป็นกลยุทธ์อีกอย่างหนึ่งที่ทำให้ประชาชนสนใจอ่านหนังสือ รองลงมาคือหนังสือควรมีเนื้อหาสาระน่าสนใจ(ร้อยละ 23.7)และควรส่งเสริมให้พ่อแม่ปลูกฝังให้เด็กรักการอ่าน(ร้อยละ 20.5)

          สรุป จากการสำรวจพฤติกรรมการอ่านหนังสือของประชากร พบว่าประชากรมีแนวโน้มอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น คือจากร้อยละ 61.2 ในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 69.1 ในปี 2548 วัยเด็กมีการอ่านหนังสือมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.7 รองลงมาคือวัยรุ่น(ร้อยละ 83.1)วัยทำงาน(ร้อยละ 65.0)และผู้สูงอายุ (ร้อยละ 37.4)การไม่อ่านหนังสือของประชากรมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ 38.8 ในปี 2546เหลือร้อยละ 30.9 ในปี 2548 ทั้งนี้สาเหตุของการไม่อ่านหนังสือของประชากรมาจากการชอบฟังวิทยุ/ดูทีวีมากกว่าการอ่าน

           การอ่านหนังสือนับเป็นปัจจัยและมูลเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดองค์ความรู้ การรับรู้ข่าวสารต่างๆที่ทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้กับการดำรงชีวิต และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้นหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนควรจะช่วยสนับสนุนให้ประชาชนรักการอ่านเพิ่มมากขึ้น
[ที่มา http://board.eduzones.com/question.php?qid=20110203182430NqCQHCr และ Team Content www.thaihealth.or.th ]

 

.............

          สิ่งที่มุ่งหวัง :   ภาพ 1 ภาพ คงมีความหมายที่จะสามารถอธิบายเล่าเรื่องด้วยตัวของภาพเอง ทั้งมุ่งหวังลึก ๆ ว่า จะเป็นภาพที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้พบเห็น ได้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดแรงจูงใจ รวมทั้งเอาอย่าง เลียนแบบ กระทำตาม นับแต่ตั้งแต่ความสนใจ ใส่ใจ เอาอย่าง   เพื่อการเป็นน้องนักอ่าน รักการอ่านและได้ประโยชน์จากการอ่าน และได้ข้อสรุปเชิงประจักษ์ด้วยตัวเองในที่สุดว่า การอ่านควรมีลักษณะอย่างไร ?

.......

ภาพเพิ่มเติม http://www.facebook.com/media/set/?set=a.164514046987110.28241.100002855477027&type=3

.....

บันทึกเล่าเรื่องโดย ปิยะดา แพรดำ
ห้องสมุดโรงเรียนวัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ

.....

ช่วยกันดี ดีทุกคน แข่งกันดี ไม่ดีสักคน

คำสำคัญ (Tags): #book#library#read
หมายเลขบันทึก: 473625เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2012 16:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท