ความรู้ที่ได้จาก Seminar II ครั้งที่ 3


การนำเสนอความรู้ case study & evidence-based support [OTs No. 21-30]

สวัสดีปีใหม่ 2555 ปีมะโรง กันนะคะทุกคน^__^
สำหรับในวันนี้ คือ วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555 มีการนำเสนอ case study & evidence-based support  กันต่อนะคะอีกเช่นเคย ซึ่งในวันนี้ส่วนใหญ่จะเป็น case study ฝ่ายกายเเละฝ่ายเด็ก  ,, ดิฉันจะขอสรุปเป็นเกร็ดความรู้ที่ได้จากการฟังในวันนี้นะคะ

case study : fracture neck of femur ในกรณีนี้ได้มีการฝึกเพิ่มความคล่องเเคล่วของมือ เเละ เพิ่ม body movement  กิจกรรมที่ให้เเก่ผู้รับบริการจะต้องเป็นกิจกรรมที่ทำได้ถูกต้อง เป็นกิจกรรมที่เกิด Product activity and Independence ซึ่งถ้าเป็นกิจกรรมที่เห็นผลงาน ประสบความสำเร็จได้ ต้องเป็นกิจกรรมที่ผู้รับบริการสนใจ จะช่วยให้เขารับรู้คุณค่าของตนเองได้ 

เพิ่มเติม>>ถ้าผู้รับบริการมีปัญหาไม่เข้าใจความสามารถของร่างกาย นั่นเป็นปัญหาทางจิตใจของเขา  OT จะต้องช่วยให้เขาเกิดการยอมรับตนเองให้ได้ (Acceptant , Acceptation) เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการรักษา

 

case study : EDC ,EIP (มีปัญหาเรื่องมือ)  ในกรณีนี้ผู้รับบริการมีปัญหาเรื่อง hand function  OTจึงเข้าไปช่วยฝึกในเรื่องของ Dxterity เช่น Perdure pegboard        รวมถึงการฝึกกิจกรรมการรักษา เเนะนำให้เป็นเเบบ Polytechnique occupation [work+education] เพื่อให้เมื่อทำการฝึกกิจกรรมบำบัดออกไปเเล้ว สามารถกลับไปทำงานได้จริง  เช่น ผู้รับบริการอายุ 17 ปี เรียนเทคนิค การช่าง เเล้วเวลาการฝึกกิจกรรมการรักษาอาจส่งเสริมให้มีการทำกิจกรรมที่เขาได้เรียนมา เช่น ให้ไปลองทำงานในเเผนกซ่อมบำรุง  OTต้องเป็นคนประสานงานฝ่ายดังกล่าวด้วย

case study : ADHD [hyperactive child]
ได้มีการเเนะนำให้ใช้ CBT ร่วมกับ SI ด้วยในเด็ก เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม อีกทั้ง OT ช่วยเเนะนำผู้ปกครองในการปรับพฤติกรรมเด็กที่บ้าน ให้ความรู้เกี่ยวกับผลข้างเคียงยาที่เด็กทาน  เป็นต้น

Autism อายุ 17 ปี >>เด็กวัยรุ่นที่โตพอสมควร OTต้องหากิจกรรมที่เป็น work ให้เขา ให้เขามี  vocation , ซึ่งในการฝึกจะใช้ cognitive intregration 

กรณีเด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อนข้างรุนแรง ( severe MR)
>>เน้นการปรับพฤติกรรมให้เด็กได้เรียนรู้  ควรเน้นการทำกิจกรรมที่ใช้ในการดำรงชีวิตประจำวันจองตนเองให้ได้

Schizencephaly >> ภาวะการพบน้ำในสมอง ซึ่งเด็กที่เป็นดังกล่าว OTจะช่วยในเรื่องกระตุ้นพัฒนาการ ยับยั้ง reflex ที่ผิดปกติ  เพราะเด็กจะมีปัญหาพัฒนาการล่าช้า  

 

case study : severe traumatic brain injury 
มีการนำเสนอการใช้ dynamic interaction model [ฝึก self care , movement]  ร่วมกับ comprehensive model [ฝึก self awrewness] ทำให้ช่วยฟื้นฟูผู้รับบริการได้ดี  รวมถึงต้องมีการให้กิจกรรมที่หลากหลาย

case study : cerebro vascular accident
>> ใช้ CIMT ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น การใช้โทรศัพท์
รวมถึง OT จะฝึกกิจกรรมที่เขาสามารถทำได้ในชีวิตประจำวันไป [ADL training]

case study :  Left hemiparesis
>>ได้มีการนำเสนอ การรักษาเเบบ dynamic group ที่ใช้ในกลุ่มผู้รับบริการจิตเวช มาใช้ในการทำกิจกรรมการรักษาในผู้รับบริการ stroke เป็นกลุ่มการมีส่วนร่วม ปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เเต่ในที่นี้การทำกลุ่มกิจกรรม OTจะต้องมีการวิเคราะห์กิจกรรม เเตะละขั้นตอนให้เหมาะสมกับความสามาถของผู้รับบริการเเต่ละรายด้วย  ในส่วนของวัตถุประสงค์จะเน้นการส่งเสริมเพิ่มความสามารถของร่างกายเป็นหลัก

 

*** ในเรื่องสุดท้ายนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Sensory ในผู้รับบริการโรคหลอดเลือดสมอง  หากมีการ impair sense  >>จะใช้เทคนิค sensory re-education  (การเรียนรู้ความรู้สึกใหม่)   เเล้วถ้าหากทำเเล้วไม่พบความก้าวหน้า ก็จะใช้เทคนิค compensate เพื่อใช้ทักษะอื่นๆทดเเทนในการป้องกันการเกิดอันตราย เช่น ใช้ตามอง , ใช้หูฟัง หรือใช้มือข้างดีแทน เป็นต้น

 

สำหรับความรู้ที่ได้สรุปในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านเป็นอย่างมาก

ขอขอบคุณเพื่อนๆที่ได้นำเสนอความรู้ดีๆ ให้รับฟังกัน  .... โชคดีนะคะ ทุกคน ^____^

หมายเลขบันทึก: 473573เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2012 01:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 12:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท