ความรู้ที่ได้รับจากการฟังการนำเสนอ III


จากการนำเสนอของเลขที่ 21-30

ความรู้ที่ได้คือ

1.บทบาทของ OT ที่สามารถทำได้ในเด็ก Schizencephaly คือ

- กระตุ้นพัฒนาการ

- ยับยั้ง reflex ที่ผิดปกติ

- ดูถึงเรื่องการทำกิจวัตรประจำวันต่างๆ

2. ผู้รับบริการที่มีปัญหาทางด้าน เป็นแผลฉีกขาดในเส้นเลือดที่ใช้ในการเหยียดมือ(Tear extenser tendon) บทบาทของ OT ที่ทำได้คือ

- เพิ่มความคล่องแคล่วของมือ

- ลดปวด

- ลดบวม

- เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ

- ฝึกการหยิบจับ

แต่ในที่นี้ ฝึกเพื่อให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้จริง OT อาจจะต้องประยุกต์ให้เข้ากับบริบทและความต้องการของผู้รับบริการ

3. เด็กที่มีภาวะปัญญาอ่อนข้างรุนแรง ( severe MR)

ต้องเน้นการปรับพฤติกรรมให้เด็กได้เรียนรู้  และควรจะเน้นการทำกิจกรรมที่ใช้ในการดำรงชีวิตในตนเองให้ได้ เพื่อความอยู่รอดของตัวเด็กเอง

4. ปัญหาของเด็กสมาธิสั้น (ADHD) ที่พบได้คือ

- หุนหันพลันแล่น

- สมาธิสั้น

- ไม่อยู่นิ่ง

วิธีการรักษาของเด็กสมาธิสั้น ในทาง OT คือ

- ให้ sensory diet

- ปรับสิ่งแวดล้อม

- กระตุ้นระบบ Sensory integration

5. เรื่องของ Sensory ในผู้รับบริการที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง หากมีการ impair sense ให้ใช้เทคนิค sensory re-education  (การเรียนรู้ความรู้สึกใหม่) แต่ถ้าทำแล้วไม่พบความก้าวหน้าให้ใช้เทคนิค compensate เพื่อใช้ทักษะอื่นๆในการป้องกันการเกิดอันตราย เช่น ใช้ตามองแทน, ใช้หูฟัง หรือใช้มือข้างดีแทน

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 473558เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2012 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 21:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท