แผลร้อนใน


 

    จากการที่ดิฉันเคยพบปัญหาแผลร้อนในภายในปากอยู่เป็นประจำแต่ไม่หายขาดจึงนำบทความนี้มานำเสนอให้กับผู้พบปัญหาเช่นนี้

แผลร้อนใน (Recurrent aphthous ulceration)
          เป็นโรคที่พบได้บ่อยเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อบุผิวของช่องปากผลที่เกิดอาจเกิดเพียงหนึ่ง หรือหลายแห่ง ทำให้เกิดความเจ็บปวดมาก

สาเหตุ
          การเกิดแผลร้อนในมีความเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน สภาพทางจิตใจ และสังคม มักจะเกิดกับผู้มีรายได้น้อย มีความเครียดและมีการทำงานที่มีการแข่งขันสูง อาจเกิดจากลักษณะทางกรรมพันธุ์ และภาวะขาดสารอาหาร โดยเฉพาะขาดธาตุเหล็ก,โฟเลต หรือวิตามินบี 12 นอกจากนี้ยังพบได้ในผู้หญิงก่อนมีประจำเดือน

ลักษณะแผลร้อนใน
          1. แผลร้อนในขนาดเล็ก (minor aphthous ulceration)
         
แผลลักษณะนี้พบได้บ่อยในกลุ่มผู้มีอายุระหว่าง 15 - 45 ปี พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย มักพบบริเวณเยื่อเมือกด้านริมฝีปาก ด้านแก้ม, กระพุ้งแก้ม และขอบลิ้น รอยโรคมักปรากฏอยู่ในช่องปากประมาณ 14 วัน และมีอาการเจ็บปวดในช่วงสั้น ๆ แต่เมื่อเยื่อบุผิวในช่องปากฉีกขาด จะเป็นแผลซึ่งมีลักษณะกลมรี มีสีเหลืองอ่อน จะมีความเจ็บปวดมากขึ้น
          2. แผลร้อนในขนาดใหญ่ (major aphthous ulceration)
         
แผลชนิดนี้พบได้น้อยกว่าแผลขนาดเล็ก แผลขนาดใหญ่นี้จะทำให้ผู้ป่วยมีความเจ็บปวด การรับประทานอาหาร การพูด การกลืนน้ำลายจะยากลำบาก พบได้ทุกบริเวณในช่องปาก การหายของแผลกินเวลาประมาณ 10 -40 วัน มักพบรอยแผลเป็นหลงเหลืออยู่

          3. แผลชนิดคล้ายเฮอร์ปีส์ (herpetiform ulceration)
         
แผลที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะคล้ายแผลขนาดเล็กพบได้บ่อยบริเวณใต้ลิ้น เพดานอ่อน ริมฝีปาก ด้านใน ลักษณะแผลจะเป็นกลุ่ม และเจ็บปวด หายได้ภายใน 7 - 14 วัน ผู้ป่วยมักกลืนลำบาก และ น้ำหนักลด เนื่องจากรับประทานอาหารลำบากและไม่เพียงพอ   

การรักษาแผลร้อนใน
          ในปัจจุบันยังไม่มียาชนิดใดที่รักษาแผลร้อนในให้หายขาด โดยไม่ปรากฏอาการเกิดขึ้นมาอีก ดังนั้นการรักษาที่นิยมในปัจจุบันคือ รักษาไปตามอาการโดยให้สเตียรอยด์ชนิดทาเฉพาะที่ เพื่อลดอาการเจ็บและอาการอักเสบ ดังนี้ 
          1.
ไทรแอมซิโนโลนอะเซทโทไนด์ ชนิดขี้ผึ้ง 0.1% ทาวันละ 3 ครั้ง หลังอาหาร
          2. ฟลูโอซิโนโลนอะเซทโทไนด์ 0.1% สารละลายหรือชนิดขี้ผึ้ง ทาวันละ 3 ครั้ง หลังอาหารหรือ อาจใช้ คลอร์
เฮ็กซิดีนกลูโคเนต 0.2 - 1% ใช้อมบ้วนปาก 10 มิลลิลิตร อม 1 นาที วันละ 2 ครั้ง (เช้า - เย็น) หรือหลังอาหาร

สี่งที่ควรทําเมื่อเกิดแผลร้อนใน
          หลีกเลี่ยงอาหารเค็มจัดและอาหารที่มีกรดหรือรสเปรี้ยว  เช่น  ผักดอง  รวมไปถึงขนมหวานที่เคี่ยวจนเหนียว  รวมทั้งเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์อาจทําให้อาการแผลในปากที่เป็นอยู่มีอาการรุนแรงขึ้น  นอกจากนั้นควรบ้วนปากด้วยน้ำเกลือวันละ 2 ถึง 3 ครั้ง และถ้าแผลไม่หายภายใน 3 สัปดาห์ควรไปพบแพทย์

         แผลร้อนในเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายกําลังเหนื่อยล้าหรือทรุดโทรม จึงต้องดูแลตนเองให้แข็งแรงด้วยการกินอาหารให้เหมาะสม นอนหลับอย่างเพียงพอและออกกําลังกายกลางแจ้งในที่ที่มีอากาศบริสุทธิ์เป็นประจํา จะช่วยลดความเสื่ยงจากโรคนี้ลงไปได้

 

    

 

  จากบทความของ สนุก! พีเดีย  หมวดความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี     แพทยศาสตร์ เรื่อง : แผลร้อนใน

ที่อ้างอิงมาจาก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

คำสำคัญ (Tags): #health#student
หมายเลขบันทึก: 473478เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2012 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ ค่ะ Ico64 ขอส่งความสุขด้วยคำกล่าวว่า สุขสันต์ วันปีใหม่ และทุกวันคืนตลอดไปนะคะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท