สวดมนต์ข้ามปีวัดพระแก้วเชียงรายกับพระธรรมราชานุวัตร


สวดมนต์ข้ามปีวัดพระแก้วเชียงรายกับพระธรรมราชานุวัตร

                          กระต่ายใต้เงาจันทร์

ในวันที่31 ธันวาคม2555 กระต่ายและครอบครัวไปสวดมนต์ข้ามปีที่วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย ปีนี้มีประชาชนเดินทางมาเป็นจำนวนมากกว่าทุกปี
     พระธรรมราชานุวัตรเจ้าคณะภาคหก เจ้าอาวาสวัดพระแก้วได้เปิดศาลาปฏบัติธรรมทั้งสองหลัง แต่ก็ยังล้นออกมาถึงด้านบริเวณข้างศาลานั่งสวดมนต์รายล้อมด้วยผู้คน มีน้ำข้าวโพด น้ำฟักทอง โอวัลติน ไมโล กาแฟ น้ำเปล่า และข้าวต้มเครื่องไว้บริการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดทั้งสิ้นพร้อมทั้งแจกหนังสือสวดมนต์ข้ามปีที่เป็นทั้งบทสวดภาษามคธ(บาลี)ซึ่งเรียบเรียงโดยพระธรรมราชานุวัตรแจกให้เป็นธรรมทานจำนวน1000เล่มปรากฏว่าไม่พอแจก และยังเป็นของที่ระลึกติดตัวกลับไปทุกคน

กระต่ายโชคดีที่อยู่ในศาลาเดียวกับที่หลวงพ่อนำสวดมนต์ข้ามปี มีนักศึกษาจากมหาลัยแม่ฟ้าหลวงหลายสิบคนนั่งอยู่ข้างๆได้ยินเสียงคุยกันเบาๆว่า รู้มาจากเวปวัดพระแก้วเพราไปหาดูในอินเตอร์เน็ต เห็นนักเขียนชื่อกระต่ายใต้เงาจันทร์เขียนไว้แต่ไม่ได้เปลี่ยนพ.ศ.เป็นของปีที่แล้วเลยโทรไปถามที่วัดเรื่องรายละเอียด เรื่องสวดมนต์ข้ามปีที่วัดพระแก้วพร้อมชวนครอบครัวมา กระต่ายเลยได้แต่นั่งอมยิ้ม เมื่อนักศึกษาหันมาถามว่า แล้วพี่มาจากจังหวัดไหนคะ มาทุกปีไหม รู้ได้อย่างไรก็ได้แต่ตอบว่า มาทุกปีคะ..แต่ไม่ได้บอกว่า..เป็นคนเขียนเอง.มีคนที่รู้จักว่าทำงานอยู่มจร.วัดพระแก้ว ละเขียนเวปเรื่องนี้ลงในเน็ต โทรมาถามรายละเอียดและอาจารย์ที่รู้จักโทรมาถามหลายสิบคน .รู้สึกดีใจคะ ที่อย่างน้อย ในการลงเรื่องนี้ก็เป็นที่สนใจของคนทั่วไปและเด็กๆที่เป็นเยาวชนของชาติ ทั้งหญิงและชาย ใส่ใจในพระศาสนา

จริงๆแล้วตัวกระต่ายเองคิดว่าจะนั่งปฎิบัติธรรมสวดมนต์จนข้ามปีใหม่แต่ด้วยบุคลิกที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในการรอบรู้ของพระธรรมราชานุวัตรทำให้ตัวเองต้องรีบหายืมปากกามาจดบันทึกทุกครั้งที่ท่านบรรยายและนำมาเขียนเสียทุกครั้งไป
เพราะฟังแล้วเพลิดเพลิน สนุก ไม่น่าเบื่อ ซ้ำยังทำให้เรารู้อะไรอีกมากมายในเรื่องประวิติศาสตร์ แหมแต่นักศึกษา กลุ่มใหญ่ ที่นั่งข้างๆซึ่งไม่รู้จักว่านั่นคือ หลวงพ่อวัดพระแก้ว ยังคุยกันและหัวเราะอย่างมีความสุขแม้เวลาเกือบจะเที่ยงคืนแล้ว บอกว่า ท่านเก่งเน๊อะ เล่าเรื่องสนุก น่าฟัง ทำให้หายง่วงเลยเพราะว่าท่านเล่าไป ท่านก็สอดแทรกมุขขำๆพร้อมหัวเราะเบาๆ จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมกระต่ายชอบฟังนัก
พระธรรมราชานุวัตรได้กล่าวถึงพลตรีหลวงวิจิตรวาทการกับศาสนาทำให้ตัวเองต้องกลับไปอ่านเรื่อง พลตรี หลวงวิจิตรวาทการเพราะเป็นคนที่ชอบอ่านหนังสือและชอบค้นคว้าทำให้ทราบว่า
พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ เป็นตัวอย่างของผู้ที่ต่อสู้กับชีวิต ด้วยความบากบั่น มานะ อดทน ซื่อสัตย์สุจริตในการทางาน ฟันฝ่าอุปสรรคนานัปการ มีความขยันหมั่นเพียร ศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองโดยไม่เคยหยุดนิ่ง ด้วยการอ่านหนังสือตลอดชีวิตของท่านในเรื่องการทำงานของพลตรี หลวงวิจิตรวาทการท่านใช้วิธี
แทนที่จะรอให้เขาจ่ายงานมาให้ หลวงวิจิตรวาทการไปของานเขาทำ ขอให้เขาสอนให้ เริ่มจากงานง่ายไปหางานยกขึ้นโดยลำดับ ก่อนที่คนอื่นจะมาพร้อม หลวงวิจิตรวาทการทำงานเสร็จไปแล้วอย่างน้อยสองเรื่อง ชื่อของท่านจึงได้สะดุดตาผู้ใหญ่ไปทุกวัน ทั้งๆ ที่เป็นเสมียนชั้นต่ำที่สุด ท่านกล่าวว่าไม่เป็นการยากลำบากเกินไปเลย ที่จะสร้างความเด่นความสำคัญให้แก่ตัว ขอแต่เพียงให้มีความมักใหญ่ใฝ่สูงในการทำงาน และสร้างความดีเด่นของตนด้วย "งาน" ไม่ใช่ด้วยวิธีอื่นชีวิตของหลวงวิจิตรวาทการ เป็นชีวิตของผู้มีวิริยะมานะกล้าในการทำความดี ได้ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ ในชีวิต เพื่อให้ได้มาซึ่งความเจริญ ชีวิตของท่านได้ดำเนินมาหลายบทบาท เริ่มจากการเป็นนักธรรม เป็นข้าราชการ นักการเมือง นักการทูต เป็นครู - อาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นนักประพันธ์ เป็นนักปราชญ์ จากสามเณรเปรียญ 5 ประโยค ท่านได้รับพระราชทานปริญญาบัตรเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2504
    หลวงวิจิตรวาทการยังเขียนเรื่องศาสนาไว้ว่า ๑. ศาสนาเน้นในเรื่องศีลธรรมจริยธรรม ความดีความชั่ว และจุดหมายสูงสุดของชีวิต

๒. ศาสนาเน้นทั้งระดับศีลธรรมจริยธรรมและระดับปรมัตถสัจจะ
๓. ศาสนาจะต้องมีพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคำสอนในรูปของศาสนพิธี

๔. ศาสนามีลักษณะศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสูงสุด เป็นที่พึ่งทางใจของมนุษย์

๕. ศาสนาเป็นหลักการที่แท้จริงแน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลง
๖. ศาสนามีศาสดาเป็นผู้ก่อตั้ง และศาสดานั้นอาจะได้รับเทวโองการจากพระเจ้า หรือได้ค้นพบสัจธรรมทีมีอยู่แล้ว ถึงแม้ไม่มีใครค้นพบ สัจธรรมนี้ก็ยังมีอยู่

๗. ศาสนาเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทั้งโลก เพื่อประโยชน์สุขแห่งมนุษย์ทั่วไป

๘. มนุษย์นับถือศาสนาหลายศาสนาในเวลาเดียวกันไม่ได้


        ซึ่งตรงนี้ หลวงพ่อวัดพระแก้วหรือพระธรรมราชานุวัตรได้บรรยายสลับกลับการสวดมนต์เพื่อพักอิริยาบถไว้ตรงทีเดียวโดยไม่ได้ดูหนังสือแม้แต่น้อย แม้แต่เรื่อง ศาสนาพุทธยังเป็นศูนย์กลางศาสนาโลกประเทศไทยเป็นมหาอำนาจที่ศาสนาอื่นๆยกย่อง
ในเรื่ององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก แปลจากภาษาอังกฤษว่า The World Fellowship of Buddhists ผู้บัญญัติคำเป็นภาษาไทยจาก ภาษาอังกฤษคือท่านอาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารของสำนักงานใหญ่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก มาเป็นเวลาหลายสิบปีก่อนที่ท่านจะเสียชีวิต
อาจารย์สุชีพ ปุญญานุภาพเข้าไปเกี่ยวข้องกับองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ตั้งแต่ท่านยังเป็นพระภิกษุอยู่วัดกันมาตุยาราม เมื่อท่านบุกเบิก ให้มีการรื้อฟื้นมหาวิทยาลัยสงฆ์มหามกุฏราชวิทยาลัย จนมหาวิทยาลัยสงฆ์ถือกำเนิดขึ้นมาแล้ว ท่านได้รับเชิญไปประชุมที่ประเทศศรีลังกา โดยมี พระมหาแสง โฆสธมฺโม (หรือท่านศ. แสง จันทร์งาม เดี๋ยวนี้)ร่วมเดินทางไปด้วย การไปประชุมครั้งนั้น เป็นการประชุมของชาวพุทธใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีมา เพราะเป็นการเชิญทั้งแกนนำชาวพุทธฝ่ายมหายาน, เถรวาทและวัชรยานไปพร้อมกัน เพื่อทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาร่วมกัน ผู้นำชาวศรีลังกาที่เชิญชวนให้ชาวพุทธสามัคคีกันเผยแผ่มากกว่าจะต่างคนต่างทำงานกันก็คือ ศ.ดร.จี.พี.มาลาลาเสเกร่า (G.P.Malalasekera) ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก เพื่อให้ตัวแทนพระพุทธศาสนาจากนิกายและประเทศต่างๆ ได้มีโอกาสมาประชุมปรึกษาหารือการพระศาสนาร่วมกัน
ปัจจุบัน องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก มีสำนักงานใหญ่ที่ประเทศไทย ถนนสุขุมวิท ด้านหลังของสวนเบญจศิริ
ประธานองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
• ม.จ.พูนพิศมัย ดิสกุล
• ศ.สัญญา ธรรมศักดิ์
• ฯพณฯ แผน วรรณเมธี เลขาธิการสภากาชาดไทยและที่เป็นรู้จักกันเป็นอย่างดีอีกองค์หนึ่งคือ พระธรรมโกศาจารย์
    

 

ในการสวดมนต์ข้ามปีมีทั้งสวดพื้นเมืองและบาลี การสวดมนต์เป็นพิธีกรรมทางศาสนาหลักสำคัญคือ พระธรรมคำสั่งสอนที่ถือว่าเป็นแกนกลาง เป็นใจกลางของต้นไม้ เปลือกที่ห่อหุ้มชั้นนอกคือ พระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา ส่วนโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาสนาวัตถุ คือ เนื้อของไม้
ใน การสวดมนต์ อานิสงส์9ประการ
1.รักษาพุทธศาสโนวาท
2.ประกาศธรรมคำสั่งสอน
3.กำจัดกิเลสนิวรณ์
4.ให้พรหมพุทธศาสนนิกชน
5.อบรมตนให้พรชีวิต
6.อุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ล่วงลับไป
7, ดับ ทุกข์ โศก โรค ภัย
8.ข้ามโอฆสงสาร
9.ถึงนิพานในอนาคต


     และในเวลาเกือบเที่ยงคืนได้ร่วมกันสวดอิติปิโส108 จบ พร้อมกับพระธรรมราชานุวัตรนำสวดโดยให้พระมหาบุญเหลือ พรมน้ำมนต์กับผู้เข้าร่วมสวดมนต์ทุกคน แต่มีมีผู้คนทั้งศาลาก็ลุกขึ้นไปนั่งให้หลวงพ่อพรมน้ำมนต์ด้วยอีกครั้งเพื่อเป็นศริริมงคลเป็นอันสิ้นสุด เป็นเวลาเกือบตีหนึ่งของวันใหม่

หมายเลขบันทึก: 473392เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2012 00:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ท่านเจ้าอาวาสฝากอนุโมทนาเจ้าของเวบไซต์มาด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท