เงิน ๆ ทอง ๆ เกี่ยวกับระบบสุุขภาพ


เงินที่ใช้ในการดูแลสุขภาพ เอามาจากไหน ใครจ่าย จ่ายเพื่อใคร ใช้้จ่ายอย่างไร

เรื่องสุขภาพหลายคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว เป็นความสำคัญอันดับท้าย ๆ มีคำถามว่าถ้ามีเงินจะเอาไปใช้อะไร น้อยคนที่จะตอบว่าเก็บไว้สำหรับเป็นค่ารักษาพยาบาล หรือ เอาไปใช้สำหรับสร้างเสริมสุขภาพตนเอง ส่วนใหญ่ก็จะใช้ซื้อสิ่งของอื่น ๆ

 

นึกถึงระบบสุขภาพของประเทศที่รัฐบาลกลาง หรือ หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการให้กับประชาชนเพื่อมุ่งหวังให้เกิดความเป็นธรรม เท่าเทียมกัน ในการเข้าถึงบริการสุขภาพ เพื่อป้องกันความเสี่ยง อย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ และ เกิดความยั่งยืนได้ ซึ่งจริง ๆ ก็เกิดคำถามว่าเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพมีที่มาที่ไปอย่างไร และ ใครมีส่วนเกี่ยวข้องบ้าง

 

ได้รับฟังการแบ่งปันจากท่านอาจารย์สุชาดา ภัยหลีกลี้ ในเรื่อง Health Care Financing ก็ถึงบางอ้อในคำถามดังกล่าว.......ที่ว่า

ใครจ่าย...

ในระบบสุขภาพคนที่จ่ายเงินในระบบสุขภาพไม่ใช่มีแค่ผู้ป่วยหรือผู้รับบริการอย่างเดียวมันรวมถึงเงินจากนายจ้าง จากองค์กรเอกชน จากหน่วยงานสากลระหว่างประเทศที่มาบริจาค จากภาครัฐซึ่งก็หมายรวมรัฐบาลกลาง กระทรวงสาธารณสุข และ กระทรวงอื่น ๆ ด้วย จากภาคเอกชนซึ่งรวมถึงผู้ป่วยในภาคเอกชนเป็นผู้จ่าย ใช้ระบบประกันสุขภาพที่มาจากตัวเองได้ซื้อ รัฐบาลซื้อให้ และ เป็นกองทุนสุขภาพชุมชนซื้อ  จากการประกันที่รัฐจัดให้เช่นประกันสังคม จากระบบจัดเก็บภาษีของภาครัฐไปจัดสรรเป็นงบประมาณแผ่นดินในด้านสุขภาพ ทั้งนี้รวมภาษีที่มาจากภาษีบาป เช่นภาษีบุหรี่เหล้า แล้วนำกลับมาเป็นค่าใช้จ่ายในเรื่องสุขภาพ และ สุดท้ายจากองค์กรระหว่างประเทศที่สนับสนุนงบประมาณใช้ใน campaign ใหญ่ ๆ เช่น HIV/AIDS, Malaria, TB control programe เป็นต้น

 

จ่ายเพื่ออะไร

การจ่ายเงินดังกล่าวก็เพื่อ (1) Primary health care ซึ่งก็เอาไปจัดสรร ดำเนินการเกี่ยวกับ เรื่องน้ำดื่ม สุขาภิบาล การควบคุมป้องกันโรค การบริการพื้นฐาน รวมถึง การให้บริการสุขภาพในพื้นที่ลำบากกันดารของประเทศ (2) ให้กับระบบ Secondary/Tertiary health care เช่นบริการในโรงพยาบาลต่าง เป็นต้น

 

จ่ายอย่างไร ที่จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในผลที่เกิดขึ้น

การจ่ายเงินในด้านสุขภาพนั้นจะจ่ายออกไปในลักษณะต่าง ๆ คือ การจ่ายสำหรับค่าให้บริการ เช่นค่าสวัสดิการของข้าราชการ หรือ เป็นค่าบริการต่อรายผู้ป่วยที่มารับบริการ การจ่ายรายหัว ซึ่งอาจเป็นการเหมาจ่ายรายหัวในกรณีประกันเอกชน หรือ เหมาจ่ายต่อการรักษา OPD หนึ่งคร้้ง การจ่ายรายหัวที่ตั้งเป็นงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้กับหน่วยบริการสุขภาพ เช่นกรณี สปสช สนับสนุนงบประมาณให้กับดรงพยาบาลรายหัวต่อปีเป็นต้น สุดท้ายแบบที่ไม่มีการจ่ายเช่นหน่วยบริการแพทย์เคลื่อนที่ต่าง ๆ 

 

จ่ายผ่านกลไกอะไร

กลไกที่ใช้สำหรับการจ่ายเงินในระบบสุขภาพหลัก ๆ ก็จะมี การจ่ายตรงคือจากกระเป๋าของผู้ป่วยหรือผู้ที่มาใช้บริการต่อสถานบริการนั้น ๆ การจ่ายจากระบบประกันของเอกชน การจ่ายจากระบบประกันที่รัฐบาลดำเนินการ และ การจ่ายจากระบบการเงินการคลังของรัฐบาลที่ได้จากการจัดเก็บภาษี

ใครได้ประโยชน์

ซึ่งหลัก ๆ ผู้ที่ได้ประโยชน์ก็จะเป็นประชาชนทั่วไปในระดับต่าง ๆ ท้องถิ่น ภูมิภาค ระดับชาติ รวมไปถึงภูมิภาคต่าง ๆ และ ระดับโลก ซึ่งอาจจะมีกรณีที่ีเป็นช่วงอายุเฉพาะ เฉพาะเพศ และ เฉพาะอาชีพในบางกรณี

 

ความเป็นธรรม ในระบบการเงินการคลังเพื่อสุขภาพนั้นจะพิจารณาดูว่า

ใครเป็นผู้จ่ายเงิน จ่ายผ่านระบบอะไร และ จ่ายเพื่อใคร คือจัดสรรไปตามระบบ และ แหล่งที่มาของเงินมาจากไหน จากรัฐบาล หรือ จากระบบประกันสุขภาพเอกชน ซึ่งกระบวนการจ่าย และ รับประโยชน์ก็จะเป็นตามกฎเกณฑ์นั้น

 

การเงิน การคลังเพื่อสุขภาพเป็นงานที่ต้องการความละเอียดเป็นอย่างในการคิดวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายที่พึงจะเกิดจากการใช้บริการ และ วิเคราะห์ถึงต้นทุนที่จะใช้ในการให้บริการซึ่งจะต้องเป็นต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ไม่ใช้ต้นทุนทางบัญชี ทั้งนี้เพื่อคำนวณให้เห็นถึงต้นทุนการให้บริการต่อครั้ง ต่อหน่วยการให้บริการซึ่งก็จะนำไปสู่การวิเคราะห์ และ วางแผนการดำเนินการ และ จัดสรรงบประมาณในการให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรมต่อผู้รับบริการ

เงินทองของนอกกาย แต่ใคร ๆ ก็อยากครอบครอง

แบ่งปันความรู้ และ จุดประกายความคิดโดย ผศ.ดร. สุชาดา ภัยหลีกลี้

หมายเลขบันทึก: 473243เขียนเมื่อ 2 มกราคม 2012 10:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท