Knowledge from friends ..class seminar II 2


สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมclass seminar II (29 Dec 2011)

ความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมclass seminar II (29 Dec 2011) สรุปได้ดังนี้คะ

 <<กรณีศึกษาถึง 9 กรณีศึกษาที่เป็นผู้รับบริการฝ่ายกาย และมีอีก 1 กรณีศึกษาที่เป็นฝ่ายจิตเวช>>

 --->การบันทึกนี้ขอนำเสนอเทคนิคการรักษาที่เพื่อนๆค้นคว้ามาจากjournalที่น่าสนใจหลายเทคนิคด้วยกันคะ

 โดยผู้รับบริการฝ่ายกายแบ่งได้ ดังนี้

 1. ประเภท Stroke  : เทคนิคทั้งหมดนี้ก็เพื่อส่งเสริมการเคลื่อนไหวให้ดี มีประสิทธิภาพมากขึ้น

- CIMT หรือ Constraint-induced movement therapy  เป็นการกระตุ้นการใช้ระยางค์แขนข้างที่อ่อนแรงทำกิจกรรม โดยจำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกายข้างดี เพื่อกระตุ้นให้ข้างที่อ่อนแรงได้เกิดการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่

- Brunnstrom movement therapy : กระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยใช้ปฏิกิริยาสะท้อนกลับ(Reflex)กระตุ้น เช่น 

- Bilateral arm training : การกระตุ้นการเคลื่อนไหวโดยใช้แขนทั้งสองข้างทำกิจกรรมหยิบจับ ประสานมือร่วมกัน โดยเรียนรู้การเคลื่อนไหวจากแขนข้างดี

- Motor relearning program : ใช้กิจวัตรประจำวันในบริบทจริงมาประยุกต์ใช้ ในการฝึกการเคลื่อนไหวร่างกายข้างที่อ่อนแรง

.......ps. ขณะที่เพื่อนนำเสนอรายละเอียดของการประเมินผู้รับบริการ ...ทำให้ได้เกร็ดความรู้จากอ.ป๊อป (ขอบพระคุณอาจารย์ที่ชี้แนะด้วยคะ)  ถึงความแตกต่างของคำ 2 คำ ซึ่งนศ.อย่างเราๆ ไม่ได้ตระหนักถึงจุดนี้มากนัก คือคำว่า "Home assessment & House assessment"

 Home assessment - หมายถึงการประเมิน ปฏิสัมพันธ์ในครอบครัว

 House assessment  - หมายถึงการประเมิน เฉพาะโครงสร้างของบ้าน

2. ประเภท Hand injury

- ในผู้รับบริการ Reflex Sympathetic Dystrophy Syndrome (RSD) ที่มีอาการ Edema + Chronic pain เทคนิคการรักษาที่นอกเหนือกจากการลดpain ลดedema แล้ว อย่าลืม!! ว่า บทบาท หน้าที่ของOTยังมีการทำอุปกรณ์ช่วย/อุปกรณ์ดาม(Splint) ที่มีคุณสมบัติที่ช่วยลดpainและedemaได้ด้วย ตัวอย่างเช่น การใช้ Air splint เป็นต้น

3. ประเภท Spinal cord injury

- ในผู้รับบริการที่เพื่อนนำเสนอนี้ มีพยาธิสภาพที่ระดับC7 มีความต้องการที่จะใช้มือทำกิจกรรม Self-care เพื่อนได้นำเสนอเทคนิคการรักษา เช่น การฝึก Training sitting balance from ADL โดยกิจกรรมที่ฝึกจะเน้นการใช้ Hand เป็นหลัก

4. ประเภท Tumor

- จากพยาธิสภาพส่งผลให้มีปัญหาในการเคียว-กลืน เพื่อนได้นำเสนอเทคนิคการรักษา Oral exercise วิธี Oral ball exercise โดยการใช้ ลูกบอลขนาดเล็กในการฝึกควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อภายในปากโดยมีเชือกผูกติดอยู่กับลูกบอล วิธีการบริหาร เช่น การใช้ลิ้นดันลูกบอลไปด้านซ้าย-ขวา บน-ล่าง

5. ประเภท Psychiatry

- ผู้รับบริการวินิจฉัยโรคเป็น Severe Depressive Disorder เทคนิคการรักษา คือ

CBT หรือ Cognitive Behavior Therapy : (เน้น Intra-personal) เป็นเทคนิคในการปรับความคิดและพฤติกรรม ให้ผู้รับบริการคิดเกี่ยวกับสถานการณ์นั้น ว่าจะทำอย่างไรกับปัญหาที่เกิดขึ้น แล้วให้ feedback ที่ถูกต้องเหมาะสมกลับไป

IPT หรือ Interpersonal psychotherapy : (เน้นทั้ง Intra-personal & Inter-personal skill) เป็นจิตบำบัดระหว่างบุคคล ตั้งอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เน้นการปรับตัวสู่เข้าสังคม

ผ่านไป2สัปดาห์แล้วนะคะ สำหรับClass seminar ของนศ.กิจกรรมบำบัดปี4 ...ส่วนตัวแล้ว ประทับใจในการนำเสนอไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของกรณีศึกษาและส่วนของjournalที่เพื่อนๆกลั่นกรองความรู้มามากเลยคะ มันน่าทึ่งมากจริงๆนะคะ... เพื่อนๆนำเสนอให้เราเข้าใจ คิดตามอย่างมีเหตุผล 
ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้นะคะเพื่อนๆ 
การเข้าสมนาในครั้งนี้ สร้างความคิดในใจเรา ในผู้รับบริการฝ่ายกาย(ซึ่งตนเองไม่ถนัด) ว่า เราต้องค้นคว้าความรู้มาเพิ่มอีกเยอะเลย 

.......พื่อเป็นนักกิจกรรมที่ดีในอนาคต!!!

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 473075เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2011 00:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท