ธรรมะสร้างคน…คนแก้ทุกข์


Buddist management

 

ธรรมะสร้างคน…คนแก้ทุกข์

  เช้าวันศุกร์ที่อากาศสดชื่นไม่หนาวเหน็บเหมือนเมื่อต้นสัปดาห์  เราเริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยบทเพลงที่ชื่อว่า Happiness  ความสุข อยู่ที่นี่ และเดี๋ยวนี้ .... เหมือนเป็นการตั้งคำถามไปในตัวว่า... ความสุขอยู่ที่นี่ และเดี๋ยวนี้จริงหรือ

หัวข้อการเรียนรู้ตาม course outline  วันนี้ ก็คือ Buddist  management  จากสามสัปดาห์ที่แล้ว  จะพบว่า การเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆบนโลกใบนี้มีเหตุปัจจัย เกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นกลไกการผลิตที่อยู่ในอำนาจของกลุ่มคนไม่กี่กลุ่ม  ผลกระทบที่เกิดกับผู้บริโภค  เกิดปัญหาสุขภาพ สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคม ตามมาอีกมากมาย  ถ้ามองในมุมมองแบบชาวพุทธอย่างเราๆ ก็จะพบว่า กลไกของเรื่องราวต่างๆ จะประกอบไปด้วย ทุกข์  สมุหทัย นิโรธ และมรรค ทางแห่งการหมดทุกข์ นั้นมีขึ้นตามแต่ละเงื่อนไข ซึ่งในวันนี้ อาจารย์ได้นำตัวอย่างที่น่าสนใจอยู่สี่เรื่อง  ให้เราได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ 

  • มูลนิธิข้าวขวัญ  อยู่ที่อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรีซึ่งมีเป้าหมายให้เกษตรกรและชุมชน มีการเรียนรู้จากความรู้ภายนอก และการฟื้นฟูความรู้ดั้งเดิมมาจัดการอย่างบูรณาการเพื่อให้เกิดระบบการเกษตรที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ และฟื้นฟูธรรมชาติ สามารถลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากภายนอก และสามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น สานสร้างเครือข่ายของผู้ผลิต และผู้บริโภคที่เห็นคุณค่า และความสำคัญกับเรื่องของวิถีชีวิต สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม อันเป็นการเชื่อมโยงกันระหว่าง การพัฒนาระบบเกษตรกรรม กับการพัฒนาวิถีชีวิตอย่างเป็นสุข รวมถึงการพัฒนาด้านอื่นอย่างรอบด้าน
  • บทเรียนจากไม้เรียง เป็นเรื่องราวของ ชุมชนพึ่งตนเอง ที่อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีแกนนำคือ ครูประยงค์ รณรงค์  ซึ่งเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่ได้รับรางวัลแม็กไซไซ   การพัฒนาชุมชนไม้เรียง นอกเหนือจากจะทำเพื่อชุมชน ก็มีการเรียนรู้เกิดขึ้น  ให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้  ที่ผ่านมาเราจะพบว่า คนขัดแย้งกัน เพราะความรู้ไม่ทันกัน พอได้เรียนรู้จริง ก็จะเกิดความรู้ที่ตรงกัน  ส่วนหนึ่งที่ทำให้ไม้เรียงประสบความสำเร็จ ในการแก้ปัญหาชุมชน นั่นก็คือการมีธรรมะในใจของผู้นำ  ที่ไม่ได้หวังประโยชน์   “การควบคุมความโลภได้ ถือเป็นธรรมะขั้นสูง”  โดยอาศัยการปลุกเร้าให้ผู้คนพึ่งตนเอง “การพึ่งตนเอง คือวิถีเดียวเท่านั้นที่เราจะอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน “  และ “ความยั่งยืนของชุมชน  คือ เสรีภาพของแผ่นดิน” 
  • Tzu chi buddhist Foundation   ใช้เรื่องของจิตสาธารณะ  อาศัยเงินบริจาคจากแรงศรัทธา สร้างโรงพยาบาล และโรงเรียนแพทย์  บรรยากาศในโรงพยาบาล ก็จะมีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ของเพื่อนมนุษย์  หล่อหลอมให้ผู้คนมีจิตใจที่งดงาม ผ่านกิจกรรมต่างๆ
  • Thich  Nhat  Hanh   สารคดีพื้นที่ชีวิต ตอนตื่นจากความคิด พิธีกรนำพวกเราเดินทางไปสู่หมู่บ้านพลัม ประเทศฝรั่งเศส ที่ซึ่งปลุกหลายชีวิตให้ตื่นจากความคิดที่เป็นทุกข์  ธรรมะในมุมมองที่ไม่แบ่งแยก สื่อสารออกมาในรูปแบบทีเป็นธรรมชาติ สอดคล้องกับวัฒนธรรมเดิม และใส่ใจเรื่องสุขภาพ  มีหลายสิ่งที่ได้เรียนรู้จาก สารคดีที่มีค่าชิ้นนี้ แต่มุมมองที่ชัดเจน ในเชิงบริหารจัดการ  มีอยู่ 4  ประเด็น หลัก คือ  ความสุขอยู่ทุกที่  , มีสติ , ทุกสิ่งเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน , มีศาสนา หรือ ธรรมะ หรือใช้ชีวิตกับธรรมชาติอยู่ตลอดเวลา

 ***

ทั้ง 4  การเรียนรู้ จะไม่เกิดขึ้น ถ้าไม่มีคำถาม Know how?   Know why? และต้องลงมือทำ ต้องปฏิบัติจริง  ต้องสัมผัส รับรู้ด้วยตนเอง  ต้องภาคภูมิใจ หรือที่เรียกกันว่า จิตตปัญญาศึกษา 

ส่งท้าย.... ลองเชื่อมโยงดู...เศรษฐกิจพอเพียง ตอบได้ทุกโจทย์จริงๆ

ผู้สอน : ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

วันที่ 30 ธค. 2554 อาคารเวชวิชชาคาร

หมายเลขบันทึก: 473070เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2011 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๕ นะคะ

ขอให้สุขกาย  จิต...แข็งแรงสดใส  ครอบครัวอบอุ่น  เพื่อนฝูงรักใคร่

จิตเบิกบานแจ่มใส....เพื่อสังคมดีงาม  สงบสุข

สุขสันต์ทุกวันใหม่ตลอดไปนะคะ

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณมายา

สวัสดีปีใหม่ค่ะ คุณหมอธิรัมภา คุณปู มีความสุขมากๆนะคะ

Happiness is here and now.......

ชอบครับเมย์

~~~ ฟังแล้วเพลินใจ อย่าลืมโหลดระฆังด้วยนะคะ โหลดมาแระ ~~~

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท