สิ่งที่ได้จากกรณีศึกษา "จุดเริ่มต้นของความคิด II "


   ในวันที่ 29 ธันวาคม 2554 คาบเรียน seminar II เป็นการนำเสนอกรณีศึกษาครั้งที่สองของเพื่อนเลขที่ 11-20 ซึ่งในวันนี้ case ส่วนใหญ่จะเป็นcaseฝ่ายกาย จะมีเทคนิคที่น่าสนใจหลายๆเทคนิคด้วยกัน

   CIMT หรือ Constraint-induced movement therapy ที่เป็นการใช้ร่างกายข้างอ่อนแรงในการทำกิจกรรมโดยจำกัดการเคลื่อนไหวของร่างกายข้างที่แข็งแรงเพื่อกระตุ้นให้ข้างที่อ่อนแรงได้เกิดการทำงาน

   Brunnstrom movement therapy คือการกระตุ้นโดยให้สิ่งเร้าต่างๆเพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบปฏิกิริยาสะท้อนกลับ(Reflex)

   Bilateral arm training คือ เทคนิคการใช้มือหรือแขนทั้ง2ข้างในการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อกระตุ้นให้ด้านที่อ่อนแรงได้เกิดการทำงาน

   เทคนิคการลดบวม String wrapping คือการใช้เชือกพันที่นิ้วมือจากส่วนต้นไปส่วนปลายซึ่งผู้บำบัดต้องผู้บริบทอื่นด้วยเช่น ผิวหนังของผู้รับบริการ บาดแผล เป็นต้น การใส่ Air splintและมีการทำกิจกรรมในการฝึกความคล่องแคล่วในการทำงานของแขนและมือร่วมด้วย

   Oral ball exercise คือการใช้ ลูกบอลขนาดเล็ก(เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.8 ซม.)ในการฝึกบริหารออกกำลังและควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบริเวณปากโดยมีเชือกผูกติดอยู่กับลูกบอล

   Mirror box therapy เป็นเทคนิคที่ให้ผู้รับบริการนำแขนข้างที่อ่อนแรงใส่เข้าไปในกล่องที่ด้านนอกเป็นกระจกเงาแล้วให้ผู้รับบริการใช้แขนข้างที่มีแรงทำกิจกรรมโดยตามองกระจกที่สะท้อนเงาแขนข้างที่มีแรง ซึ่งจะทำให้เกิด Visual imagination ทำให้สมองเกิดการเรียนรู้การเคลื่อนไหวของแขนด้านที่อ่อนแรงตามไปด้วย(Motor re-learning)

   CBT หรือ Congnitive Behavior Therapy เป็นเทคนิคในการปรับความคิดและพฤติกรรม เน้นการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน จะมีการยกสถานการณ์ตัวอย่างหรือสถานการณ์จริงแล้วให้ผู้รับบริการลองคิดเกี่ยวกับสถานการณ์นั้น ว่าคิดอย่างไร ทำอย่างไรกับปัญหาให้ผู้รับบริการได้แสดงความคิดและพฤติกรรมที่ตนคิดออกมาแล้วให้ feedback ที่ถูกต้องเหมาะสมกลับไป

   IPT หรือ Interpersonal psychotherapy คือ จิตบำบัดระหว่างบุคคล ตั้งอยู่บนพื้นฐานความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ซึ่งจะเน้น intrapersonal+interpersonal skill

 

 

และยังมีโรคที่ไม่ค่อยได้พบเห็นบ่อยนักอย่างโรค Dsytonia มีอาการแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อ

ผู้รับบริการที่ไม่ได้พบบ่อยนักอย่างเช่น Reflex Sympathetic Dystrophy (RSD) ซึ่ง มีอาการ เด่นคือ edema และ pain

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 473050เขียนเมื่อ 30 ธันวาคม 2011 20:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2012 00:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท