The first presentation //+.+//


Present seminar ครั้งที่ 2 ( By..Tayawan )

                             //// สวัสดีค่ะ ////

               สำหรับการเขียนบทความในวันที่ 29 ธันวาคม 2554 นะค่ะ ก็เป็นวันที่ จขท. present งานค่ะ

                วันนี้สิ่งที่ ได้ Present นะค่ะก็เป็นการนำ Case study ของตนเองที่มาจากการฝึกปฏิบัติงาน มาหา Evidence-base 2 อัน เพื่อมา Support case ที่ได้ทำ

ข้อมูล Case study ของ จขท.นะค่ะ

  • Name :  นาย พ.
  • Gender : ชาย
  • Age : 28
  • Diagnosis : F322 Severe depressive episode without psychotic symptoms
  • Reason to referral :  Social skill training
  • Job : อาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
  • Status : โสด
  • Major symptoms :  : ซึมเศร้า แยกตัว และพยายามฆ่าตัวตาย
  • Period of symptoms development until now :     ซึมเศร้า แยกตัวไม่อยากออกไปนอกบ้าน ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม  คิดว่าคนในครอบครัวเกลียดตนเอง พยายามฆ่าตัวตาย ซื้อยามาทานเอง 46 เม็ด ต้องไปล้างท้องที่โรงพยาบาลนครธน กลับมาอยู่บ้านได้ 1 วัน ญาติได้พาตัวส่งโรงพยาบาล
  • Need of client : ต้องการกลับไปทำงานเดิม
  • Caution : ฆ่าตัวตาย
  • Family history : จากการสอบถาม ผู้รับบริการมีสมาชิกในครอบครัวรวม 7 คน คือ มีพ่อ แม่ พี่ชาย 2 คน  พี่สาว 2 คน ผู้รับบริการเป็นลูกคนสุดท้อง   และผู้รับบริการบอกว่า “ ตนเองสนิทกับพี่ชายคนโตมากที่สุด มีปัญหาอะไรก็ชอบไปปรึกษา แต่ตอนนี้พี่ชายแต่งงานย้ายไปอยู่อีกบ้านหนึ่งเลยไม่ค่อยได้เจอกัน
  • Work history : จากการสอบถาม ผู้รับบริการบอกว่า “ เคยเป็นอาจารย์สอนคอมพิวเตอร์ให้กับสถาบันแห่งหนึ่งจำชื่อไม่ได้ แต่ได้ออกมาแล้วเนื่องจากงานหนัก เหนื่อย เกินไป

และจากข้อมูล case จขท.จึงได้หา Evidence-base 2 อันมา Support case คือ

1. Randomised controlled trial of interpersonal psychotherapy and cognitive-behavioral therapy for depression

 Reference : Luty SE,Carter JD,McKenzie JM,Rae AM,Frampton CM,Mulder et al. Randomised controlled trial of interpersonal psychotherapy and cognitive-behavioral therapy for depression. British Journal of Psychiatry. 2007 ;190:496-502.

 

2. Effectiveness of Yoga Therapy as a Complementary Treatment for Major Psychiatric Disorder : A Meta-Analysis

 Reference :  Patricia C , Hilary , Meyer, Donna A . Effectiveness of Yoga Therapy as a Complementary Treatment for Major Psychiatric Disorders: A Meta-Analysis.The primary care companion for CNS disorders.2011;13(4)

 

                  ซึ่ง ใน Evidence-base of support อันแรกได้กล่าวถึงประสิทธิภาพของการใช้ CBT และ IPT ในคนไข้ที่มีภาวะ Severe depressive disorder และ Melancholic depress ซึ่งก็มีความหมายว่าหดหู่ซึมเศร้า ซึ่ง CBT ที่เรารู้จักกันก็คือ Cognitive-Behavior Therapy ซึ่งความหมายก็คือเป็นการบำบัดเพื่อปรับความคิดและพฤติกรรมของคนไข้ ซึ่งก็จะเน้นการแก้ไขปัญหาที่ปัจจุบัน ไม่ได้ค้นไปถึงปมที่มีมาตั้งแต่ในอดีต ก็คือจะมีการยกสถานการณ์ตัวอย่างสถานการณ์ สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์จริงขึ้นมาแล้วให้ผู้ป่วยได้ลองคิด ปัญหานั้นว่าต้องเองคิดอย่างไรและจะทำอย่างไรกับปัญหา ก็ให้คนไข้พูดหรือแสดงความคิดหรือพฤติกรรมออกมาที่ตนเองคิดออกมา ซึ่งถ้าถูกต้องเหมาะสมแล้วผู้บำบัดก็จะพูดสนับสนุนในสิ่งที่เขาทำหรือคิดว่าใช่ถูกต้องแล้ว แต่ถ้าความคิดหรือการแสดงออกไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ ผู้บำบัดก็เข้าไปเพื่อช่วยบอกถึงวิธีการหรือการแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างเหมาะสมให้ ซึ่งเป้าหมายของวิธีการนี้ก็คือ เพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงการประเมินต่อเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆในชีวิตของคนไข้ที่ไม่เหมาะสมและไม่ตรงกับความเป็นจริงให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์เหล่านี้ได้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น เพื่อให้เขาสามารถเรียนรู้การปรับตัวต่อสถานการณ์ต่างๆได้อย่างเหมาะสมต่อไป

               ซึ่งในบทความนี้ เขาได้ผลลัพธ์ออกมาว่า CBT มีประสิทธิภาพเมื่อใช้กับผู้ป่วยที่มีภาวะ severe depression ซึ่ง case study ของ จขท. ก็มีภาวะเดียวกันแต่ตอนนั้นก็ไม่ได้ใช้วิธีนี้ ก็จะใช้แค่เป็น Group activities

                ซึ่งจากที่ได้อ่านบทความนี้แล้วก็คิดว่า CBT เป็นอีก 1 ทางเลือกที่น่าสนใจ  ถ้าในการฝึกงานหรือการทำงานในอนาคตแล้วได้มีโอกาสเจอคนไข้แบบนี้อีก ก็จะลองใช้วิธีการนี้ดู และวิธีการนี้ก็ไม่ได้ใช้ได้กับคนไข้ที่เป็น depression ได้อย่างเดียว มันสามารถใช้ได้กับคนไข้ที่เป็น Schizophrenia , substance abuse , Panic disorder , Social phobia ,Eating disorder , OCD และ Bipolar ได้ด้วยและก็ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ว่า CBT จะสามารถใช้ได้กับคนไข้ฝ่ายจิตเท่านั้น คนไข้ฝ่ายกายที่มีภาวะทางจิตร่วมด้วยก็สามารถใช้วิธีการนี้ได้

               ส่วน IPT ย่อมาจาก Interpersonal Psychotherapy ซึ่งความหมายก็คือ จิตบำบัดระหว่างบุคคล ซึ่งอันนี้ก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้บุคคลเกิดภาวะซึมเศร้า ซึ่งบุคคลที่ใช้วิธีนี้ก็จะมี 4 ด้านหลักๆ คือ

1.สูญเสีย และโศกเศร้าที่ยังหาทางแก้ไขไม่ได้

2.การบาดหมางกับบุคคลที่มีความสำคัญในชีวิต เช่น คู่รัก ญาติ หรือเพื่อน

3.การปรับตัวต่อหน้าที่หรือบทบาทที่เปลี่ยนไป

4. การขาดทักษะทางสังคมที่จะนำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยว

              ซึ่งคนที่มาเข้าเป็นกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ได้ ก็ต้องผ่านการวัด Score จาก แบบประเมิน MADRS Score จะมี 10 items ข้อคำถาม ซึ่งเกณฑ์การคัดเลือก ก็คือ score ต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 30 คะแนนถึงจะมีโอกาสเข้ามาในกลุ่มทดลอง ซึ่ง score นี้ก็จะเป็น score สำหรับ บุคคลที่มีภาวะ severe depression ซึ่งตอนหลังใช้ 2 วิธีนี้แล้วก็จะมีการประเมินด้วยแบบประเมินนี้อีก ซึ่งก็พบว่า คะแนนมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น

      ซึ่งสามารถสรุปเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายว่า

      CBT จะเกี่ยวกับ Intrapersonal

      IPT จะเกี่ยวกับ Intrapersonal+Interpersonal

                สำหรับเนื้อหาและบทสรุปที่ได้ก็จะประมาณนี้ค่ะ

                ขอบคุณสำหรับการติดตามค่ะ.................................

                                                                                                               ทยวรรณ ( OTs Mahidol )

หมายเลขบันทึก: 472923เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2011 22:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 09:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ข้อมูลน่าสนใจมากๆเลยค่ะ เราก็เคยผ่านการฝึกงานทางจิตเวชมาแล้ว อาการคล้ายๆกันเลย ตอนนั้เรายังไม่รู้จักทั้ง 2 เทคนิคนี้เลย คิดว่าน่าจะได้ผลที่ดีและมีประสิทธิภาพ ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆที่อามาเผยแพร่กันนะ เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ขอขอบคุณข้อมูลที่น่าสนใจนะค่ะ โดยส่วนตัวแล้วเคยฝึกงานทางฝ่ายจิตมาแล้วเช่นกันค่ะ อาการที่สำคัญคือผู้รับบริการมีอาการหลงผิด คิดว่าCBT อยากจะนำมาใช้กับcaseหากได้เจอcaseฝ่ายจิตที่คล้ายๆกันนี้ และIPTก็น่าสนใจศึกษาเพิ่มเติมมากเลยค่ะ

ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของทั้งคุณ Gift_Phon และคุณ iDeAr ค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูล เทคนิค และวิธีการบำบัดฟื้นฟูผุ้รับบริการทางจิตเวชนะคะ เป็นประโยชน์มากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท