แลกเปลี่ยนเรียนรู้ Seminar-2 (ON.1-10)


Present case study + Evidence base
วันนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างหนึ่ง ที่เพื่อนๆได้นำเสนอกรณีศึกษา ในโรคหรืออาการต่างๆ ที่เรานศ.กิจกรรมบำบัดได้เคยลงมือบำบัดฟื้นฟู ทั้งการประเมิน การหาปัญหา การตั้งเป้าประสงค์ การใช้กรอบอ้างอิง เทคนิค และการให้กิจกรรมการรักษา ที่สำคัญคือการข้อมูลวิจัยที่น่าเชื่อถือมาสนับสนุน หรือเปรียบเทียบกับวิธีการที่เราได้เคยให้กิจกรรมการบำบัดฟื้นฟู 
 
เพื่อนคนที่ 1 : กรณีเด็กที่เป็นโรคหัวบาตร (Hydrocephalus) ที่มีพยาธิสภาพที่สมอง พบปัญหา คือ ร่างกายอ่อนแรงครึ่งซีก และปฏิเสธใช้แขนข้างที่อ่อน โดยได้ใช้การบำบัดที่มีวิจัยสนับสนุนในการจัด (Setting Positioning) ท่าทางของเด็กตามพัฒนาการ และการใช้วิธี (CIMT) ในเด็ก ที่เป็นกระตุ้นการใช้งานของแขนข้างอ่อนแรงและสร้างแรงจูงใจ โดยจำกัดการใช้งานของแขนข้างปกติไว้ ซึ่งการใช้วิธีนี้ได้ผลดี และถ้าจะได้ผลยิ้งขึ้นควรใช้ร่วมกับวิธีการอื่นด้วย เช่น การตบไล่ตามกล้ามเนื้อ (Rood Approach) เป็นต้น
 
เพื่อนคนที่ 2 : กรณีเด็กที่เป็นโรค (Pierre Robin Syndrome) ที่มีปัญหาเรื่องพัฒนาการด้านการเคี้ยว ปิดปาก การเคลื่อนไหวลิ้น โดยเพื่อนอธิบายถึงรูปแบบการกิน (Eating Pantter) ว่าเด็กมีปัญหาถึงในขั้นไหน แล้วใช้การบำบัดโดยวิธีการกระตุ้น (Oral Sensory Steam) ร่วมกับ (Snsory Support) ที่มีเทคนิคการใช้การนวด การใช้เครื่องที่มีการสั่นสะเทือน กระตุ้นกล้ามเนื้อ และ การแตะมุมปาก การจับควบคุมขากรรไกเพื่อกระตุ้นกลืน
 
เพื่อนคนที่ 3 : กรณีศึกษาที่เป็นโรคทางจิตเวช (Schizophrenia) ที่มีปัญหาเรื่องแรงจูงใจ ทักษะสังคม โดยเพื่อนได้ให้กิจกรรมบำบัดที่ทำเป็นเดี่ยว-กลุ่มและได้มีวิจัยสนับสนุน เช่น การใช้ดนตรีเข้าช่วยซึ่งผู้รับบริการ และการสร้างแรงจูงใจ มีผลให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มีทักษะทางสังคม มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนในกลุ่มดีขึ้น
 
เพื่อนคนที่ 4 : กรณีศึกษาที่เป็นโรคหัวใจ (AVR) ที่ผ่านการตัดมาทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและได้มาบำบัด เพื่อเพิ่มการทำงานของมือ เป็นกิจกรรมที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ เช่น การฝึกเขียน การใช้ Putty การหยิบจับ และได้วิจัยที่สนับสนุนในการให้การบำบัดคล้ายกับที่เพื่อนให้กิจกรรมการบำบัด แต่จะเป็นคนในโรคมะเร็ง และวิจัยที่เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือ
 
เพื่อนคนที่ 5 : กรณีศึกษาที่เป็นโรคทางพันธุกรรมโครโมโซมคู่ที่ 19 มีปัญหาด้านพัฒนาการและการกลืน (Dysphagia) การฟื้นฟูใช้วิธีการกระตุ้น oral mortor ทั้งการนวดกล้ามเนื้อในการเคี้ยว กล้ามเนื้อที่ใช้ในการดูดกลืน การใช้เทคนิค three fingers jaw control เพื่อฝึกและกระตุ้นให้เด็กรู้จักขยับขากรรไกรเพื่อใช้ในการเคี้ยวอาหาร รวมทั้งการจัดท่าทางเพื่อให้สะดวกกับการรับประทานอาหารและป้องกันการสำลัก

เพื่อนคนที่ 6 : กรณีศึกษาที่เป็นโรคจิตเภท(Schizophrenia) คือ มีความแตกแยกของกระบวนการคิดและการตอบสนองทางอารมณ์ เช่น หูแว่ว เห็นภาพหลอน หลงผิด หวาดระแวง มีความคิดที่แปลกแยกออกไป และผู้รับบริการไม่มีแรงจูงใจในการทำกิจกรรม ซึ่งส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและการมีส่วนร่วมกับสังคม นักกิจกรรมบำบัดจึงมีส่วนที่จะช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้รับบริการ เตรียมความพร้อมสำหรับการใช้ทักษะต่างๆในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพื่ออยู่ในสังคมได้อย่างอิสระ

เพื่อนคนที่ 7 : กรณีศึกษาที่เป็นผู้ป่วยสุรา มีปัญหา คือ การรับรู้ความสามารถของตนเองไม่เหมาะสม, จัดความเครียดไม่เหมาะสม, ขาดการควบคุมตนเองเมื่อดื่มสุรา, จัดการตารางชีวิตไม่สมดุลม, วางแผนอาชีพในอนาคไม่แน่นอน และในแผนการบำบัดฟื้นฟูได้ใช้ คือ (PEOP),(Cognitive Rehabilitation),(MOHO) และ (CBT) ร่วมกัน การเปลี่ยนวิธีคิด การสร้างแรงจูงใจ คุณค่า เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรมด้านความคิด,การใช้เวลา,การควบคุมตนเอง โดยปรับกิจกรรมการฟื้นฟูที่เชื่อมกับบริบท ความสามารถ ความต้องการ การให้คุณค่า ให้สมดุล
 
เพื่อนคนที่ 8 : กรณีศึกษาที่เป็น (Posterior fracture distal end of radius
in the right) คือ มือขวามีอาการบวม มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว
และเจ็บระหว่างการเคลื่อนไหว ปัญหาพร้อมกิจกรรมที่ให้เพื่อการฟื้นฟู คือ 1.การลดบวม โดยใช้ (Retrograd meassage), 2.การเพิ่ม(PROM)โดยใช้การจุ่มมือใน(Paraffin)ก่อนการนวด การขยับข้อ และใช้การ(Passive movement), 3.การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยใช้(Putty)การใช้นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วต่างๆ การบีบไม้หนีบผ้า, 4.การเพิ่มความคล่องแคล่วของมือ โดยใช้(Tripod grasp)หยิบ(Putty) และ(Pegboard) รวมถึงการแตะสลับนิ้วมือ ซึ่งมีข้อมูลวิจัยสนับสนุนกิจกรรมที่ให้ในการบำบัดฟื้นฟูนี้
 
เพื่อนคนที่ 9 : กรณีศึกษาที่เป็น (Fx.Lt.lateral epicondyle with Fx. Lt. base of 5th proximal phalanx and Fx. Shaft of humerus) คือ มือด้านซ้าย มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวเนื่องจากอาการเจ็บและบวมของบริเวณมือและนิ้วมือ ซึ่งมีปัญหาและการให้การบำบัดฟื้นฟู 1.ลดอาการบวมในมือข้างซ้าย โดยให้การรักษา (Retrograde massage) ให้แรงที่กระชับนวดจากส่วนปลายสู่นสว่นต้น จัดท่าทางโดยให้วางมือในระดับที่สูงกว่าหัวใจ, 2.เพิ่ม(AROM of MP,PIP,DID joint to 10 degress) โดยทำ(PROM)ในแต่ละท่าของแต่ละข้อ โดยให้มีการทำ(Prolonged stretching) ซึ่งจากการที่เพื่อนได้หาข้อมูลวิจัยมาสันบสนุน พบว่า ควรเพิ่มในการฟื้นฟู คือ การให้(Splint)ช่วยในการเคลื่อนไหว และอุปกรณ์ช่วยลดบวมของแขน (Support structure for edema relief)
 
เพื่อนคนที่ 10 : กรณีศึกษาที่เป็น (Stroke) ซึ่งเพื่อนได้นำเสนอวิธีการบำบัดฟื้นฟู ที่เป็นกิจกรรมที่ช่วยในการ (Improve Voluntary Movement) ของผู้รับบริการ คือ การใช้กิจกรรม (Bilateral and Unilateral Training) ในการฝึกผู้ป่วย โดยใช้หลักการของ Motor learning และการหาข้อมูลวิจัยเพิ่มเพื่อเปรียบเทียบว่า วิธีการของ (Bilateral and Unilateral Training) กับ (CIMT) พบว่า ไม่แตกต่างกันมาก จึงควรใช้ทั้งสองวิธีร่วมกันให้เหมาะสมกับผู้รับบริการแต่ละคน เพื่อเพิ่มความสามารถในการประกอบกิจกรรมต่างๆได้ 
   
ขอขอบใจเพื่อนๆนะ สำหรับความรู้วันนี้ที่ได้เรียนรู้ร่วมกันจ้า ^^
หมายเลขบันทึก: 472868เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2011 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 15:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท