ออสเตรเลีย : ยุคแห่งการค้นพบทวีปใหม่ Age of discovery


ยุคแห่งการค้นพบ Age of discovery[1]

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 2 ปโตเลมี(Ptolemy) ท่านเป็นนักภูมิศาสตร์ชาวโรมันได้ระบุชื่อทวีปออสเตรเลียปัจจุบันว่าว่าเป็นดินแดนที่ไม่รู้จักลงไว้ในแผนที่โลก (Terra Incognita) ลงไว้ในแผนที่โลก

                ในยุคทองแห่งการค้นพบดินแดนใหม่ๆนั้น เกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยได้รับการอุปถัมภ์จากเจ้าชายเฮนรี่ นาวิกบุตร (Prince Henry the Navigator) ยุคนี้นั้นถือได้ว่าเป็นยุคทองแห่งการสำรวจดินแดนโดยการเดินเรือสมุทรขนาดใหญ่ เป็นการค้นพบครั้งใหญ่ซึ่งในระยะนี้มีการศึกษาวิชาการใหม่ๆ มีการต่อเรือขนาดใหญ่ที่มีความแข็งแรงมั่นคงพอที่ข้ามมหาสมุทรได้ โดยในก่อนหน้านั้นมีผู้กล่าวว่าชาวอาหรับอาจจะเดินทางมาออสเตรเลียเป็นพวกแรก แต่ก็ไม่สามารถที่จะหาหลักฐานมายืนยันคำกล่าวได้ อย่างไรก็ตามแต่พวกสเปนและดัชนับว่าเป็นพวกแรกที่ได้มาสำรวจชายฝั่งของทวีปออสเตรเลียมาก่อน ในปี ค.ศ.1606 ชาวสเปนที่ชื่อว่ากิโรส (Quiros) ได้เดินทางมาถึงเกาะเอสไพริตุ ซันโต (Espiritu Santo) ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของหมู่เกาะนิวเฮบบริดีส (New Hebrides) ปัจจุบันคือประเทศวานูตู (Vanutu) ต่อมา ค.ศ.1606 ทอร์เรส (Torres) ได้เดินทางข้ามช่องแคบทอร์เรสซึ่งได้นามตามชื่อของเขา ตัวเขานั้นได้ค้นพบทวีปออสเตรเลียแต่เขาไม่ได้เขียนบ่งไว้เลย อย่างไรก็ดีการเดินทางของทอร์เรสก็ทำให้สเปนนั้นได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่ได้ค้นพบทะเลทางตอนใต้

การค้นพบทวีปออสเตรเลียของชาวดัตช์

                โดยบริษัทดัตช์อินเดียตะวันออก (Dutch East India Company) นั้นได้ออกเดินทางสำรวจโดยเรือขนาดใหญ่ ไปยังสถานที่ต่างๆ ซึ่งอยู่ในบริเวณเลียบชายฝั่งทะเลตอนใต้ของเกาะนิวกินี  จากนั้นก็มีนักเดินทางสำรวจที่ชื่อ แจน คาร์สเตนซ์ (Jan Carstenz) ได้เดินทางสำรวจตามชายฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรเคปยอร์ค ซึ่งถือได้ว่าเขาได้เป็นผู้บุกเบิกเพื่อที่จะให้นักสำรวจ ซึ่งต่อมาในปี ค.ศ.1636 นั้นก็ได้มีนักสำรวจและนักเดินเรือชาวดัตช์อีก 9 คนก็ได้เดินทางมาเยือนน่านน้ำออสเตรเลีย ปรากฏว่าพวกนี้ได้พยายามเดินทางสำรวจชายฝั่งออสเตรเลียตั้งแต่คาบสมุทรเคปยอร์ค ไปทางตะวันตกเรื่อยไปจนถึงอ่าว เกรต ออสเตรเลีย ไบท์ (Great Australian Bright) ได้เป็นผลสำเร็จ

                ค.ศ.1642 ก็มีนักสำรวจที่ต้องการทราบว่ามีดินแดนทางตอนใต้ของอินโดนีเซียจริงหรือไม่ แต่นักสำรวจท่านนี้ก็ได้พยายามแล่นเรือไปยังหมู่เกาะๆหนึ่ง ซึ่งท่านเข้าใจว่าเป็นออสเตรเลีย ตามที่ได้มีการสำรวจมา แต่หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะดินแดนตรงนั้น เป็นที่แดนที่อยู่ถัดออกไปจากออสเตรเลีย ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นดินแดนใหม่ ในครั้งแรกเช่นกันก็เคยมีผู้มาสำรวจแล้ว ชื่อว่า วานดีมาน (Van demand) จึงตั้งชื่อเอาไว้ว่า เกาะวานดีมาน แต่ในภายหลัง เอเบิล แทสแมน (Abel Tasman) ได้มาสำรวจในภายหลัง ซึ่งเขาเองก็เป็นชาวยุโรปคนแรกที่พบประเทศนี้ แล้วตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า นิวซีแลนด์ ตามชื่อเมืองๆหนึ่งในประเทศเนเธอร์แลนด์ จากนั้นเขาก็เดินทางกลับ

                ค.ศ.1644 แทสแมนได้เดินทางสำรวจอีกเป็นครั้งที่ 2 ได้พบฝั่งทะเลทางตอนเหนือของออสเตรเลียเขาได้แล่นเรืออ้อมไปถึงชายฝั่งทะเลทางตะวันตกเฉียงเหนือจนถึงทางใต้ของเส้นทรอปิก ออฟ แคปริคอร์น (Tropic of Capricorn) ไปจนถึงแม่น้ำ แอซเบอร์ตั้น (Ashburton) ในรัฐออสเตรเลียตะวันตก ซึ่งนับได้ว่าครั้งนี้เป็ครั้งสุดท้ายของการเดินทางของชาวดัตช์ แต่อย่างไรก็ดี ชาวดัชที่ได้เดินทางมาสำรวจในครั้งนี้นับว่าโชคไม่ค่อยดีที่มีโอกาสเดินทางมาหลายๆครั้ง แต่ก็สำรวจได้แค่เฉพาะตอนเหนือและทางตะวันตกของทวีปเท่านั้น ไม่เคยได้เข้าไปสำรวจทางตะวันออกที่อุดมสมบูรณ์ของทวีปออสเตรเลียเลย[2]

ชาวอังกฤษค้นพบทวีป

                ใน ค.ศ.1688 วิลเลียม แดมเปียร์ (William Dampier) โจรสลัดชาวอังกฤษได้มาขึ้นฝั่งที่คิงก์ ซาวด์ (King sound) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปเป็นครั้งแรก และในเวลาต่อมาเขาก็ได้เดินทางมาสำรวจอีกครั้งหนึ่ง โดยนำของทัพเรืออังกฤษเข้ามาด้วย เพื่อทำการสำรวจนิวฮอลแลนด์ (New Holland) ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวดัชเรียกชื่อทวีปออสเตรเลีย เมื่อเขาเดินทางกลับอังกฤษ ก็ได้เขียนบทความเล่าเรื่องต้นไม้ ดอกไม้ นก สัตว์เลื้อยคลาน ตลอดจนชาวพื้นเมืองที่เขาได้พบปะและสังเกตในออสเตรเลียลงในหนังสือพิมพ์ แต่เขาเขียนบทความเรื่องนี้อย่างที่ไม่ค่อยรู้เรื่องกันเท่าใดนัก จึงทำให้ทวีปแห่งนี้ไม่เป็นที่สนใจเท่าใดนัก

การเดินทางสำรวจของกับตันเจมส์ คุก (Captain James Cook)[3]

          สำหรับการเดินทางของเจมส์คุกนั้น ในครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1768 1771) อีก 70 กว่าปีต่อจากการสำรวจของแคมเปีย คือในช่วง ค.ศ. 1770 เจมส์ คุก แห่งราชนาวีอังกฤษ ได้ออกเดินทางสู่ซีกโลกใต้เป็นครั้งแรกด้วยเรือของเขาที่ชื่อว่า เอนเดเวอร์ (Endeavour) โดยมีเซอร์โจเซฟ แบงค์ (Sir Joseph Banks) นักธรรมชาติวิทยา พร้องทั้งทีมงาน ทั้งนักนิเวศวิทยา นักดาราศาสตร์ นักเขียนแบบแปลน พร้อมด้วยลูกเรืออีกกว่า 94 ชีวิต ได้ออกเดินทางจากท่าพลีมัธ (Plymouth) ในประเทศอังกฤษ ในวันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1768 ได้เดินทางมาถึงเกาะตาฮิติ (Tahiti) ในวันที 3 มิถุนายน ค.ศ. 1769 ที่เกาะนี้กับตันคุกนั้นต้องการมาสังเกตการณ์ที่ดาวพระศุกร์โคจรผ่านดวงอาทิตย์ในระยะที่เด่นชัดที่สุด หลังจากนั้นเขาได้ทำแผนที่และยังให้ชื่อที่อยุ่ใกล้ๆ กับตาฮิตีว่าหมู่เกาะโซไซเอติ (Society Island) เนื่องจากเป็นกลุ่มเกาะที่มีลักษณะติดต่อถึงกันและกันอย่างสะดวก ต่อจากนั้น คณะของเจมส์ คุก ก็ได้เดินทางไปยังนิวซีแลนด์ ณ อ่าวเพาเวอร์ตี้ (Poverty bay) ในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 1796 คุกใช้เวลาสำหรับการสำรวจเกาะเหนือและเกาะใต้ของนิวซีแลนด์อยู่เป็นเวลา 6 เดือน และพิสูจน์ว่า นิวซีแลนด์นั้นเป็นอีกทวีปหนึ่งต่างหากจากออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา คุกได้ทำการยึดครองนิวซีแลนด์เข้าเป็นอาณานิคมของอังกฤษอย่างเป็นทางการ  

กับตันคุกค้นพบออสเตรเลีย ในวันที่ 20 เมษายน ค.ศ.1770 คุกได้ทำการสำรวจดินแดนตะวันตกเฉียงใต้ใกล้ๆ กับอ่าวเอเวอร์ราด (Cape Everard) ทางชายฝั่งตะวันออกของรัฐวิกตอเรีย หลังจากนั้น ได้ทำการสำรวจชายฝั่งทางตอนเหนือของทวีปเรื่อยไปเป็นระยะทางทั้งสิ้น 2,100 กิโลเมตร ในวันที่ 29 เมษายน ค.ศ. 1770 ได้ค้นพบอ่าวโบตานี (Botany Bay) ในอ่าวนี้ลูกเรือของเขาตกได้ปลาสตริงเกรย์ (Stringray) มากมาย ต่อจากนั้นคุกก็ได้ทำการสำรวจชายฝั่งขึ้นไปทางเหนือถึง 3,000 กิโลเมตร เรือเอนเดเวอร์ของเขาจึงได้ไปชนหินปะการังในบริเวรอ่าวทรินิตี้ (Trinity Bay) และต้องทำการซ่อมเรือที่เมืองคุกทาวน์ (Cook Town) เป็นเวลากว่า 2 เดือน (ไม่ปรากฏว่ามีผู้ตายในเหตุการณ์ในครั้งนั้นเลย)  ในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1770 คุกได้ทำการยึดครองชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลียไว้ทั้งหมด จากเกาะแทสแมเนียถึงคาบสมุทร แคป ยอร์ค ซึ่งคลุมดินแดนภาคตะวันออกของรัฐนิวเซาท์เวลส์ (New South Wales) รัฐวิกตอเรีย (Victoria) และรัฐ

ควีนสแลนด์ (Queensland) ไว้ในพระนามาภิไธยของพระเจ้าจอร์จ ที่ 3 (George III) แห่งอังกฤษ

                คุกนั้นได้เดินทางกลับถึงอังกฤษในวันที่ 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1771 แต่ทว่าเส้นทางขากลับที่เรือเอนเดเวอร์ได้แวะพักที่ปัตตาเวียนั้น ลูกเรือทั้ง 3 คนของเขาต้องเสียชีวิตลงด้วยโรคบิดและมาลาเรียไป

                การเดินทางครั้งที่ 2 ของกับตันเจมส์ คุกนั้นได้ควบคุมเรือรีโซลูชั่น (Resolution) และเรือแอดเวนเจอร์ (Adventure) ออกเดินทางจากอังกฤษในวันที่ 13 กรกฎาคม ค.ศ. 1772 หนึ่งปีให้หลัง เขาก็ได้ออกเดินทางเพื่อที่จะทำความรู้จักกับดินแดนที่ไม่รู้จักนี้อีกครั้งหนึ่ง

                การเดินทางในครั้งนี้พบอุปสรรคในเรื่องของเรือที่พลัดหลงไป โดยเรือรีโซลูชั่นกับเรือแอดเวนเจอร์นั้นได้ถูกพายุพัดพาไปคนละทิศทาง ปรากฏว่าเรือแอดเวนเจอร์ได้ออกสำรวจเส้นทางอีกเพียงเล็กน้อยก็ได้เดินทางกลับอังกฤษ ส่วนเรื่อรีโซลูชั่นนั้นได้เดินทางกลับไปทวีปแอนตาร์กติกาอีกครั้งหนึ่ง ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1774 แม้นว่าคุกจะไม่สามารถเดินทางต่อไปได้อีกเพราะถูกธารน้ำแข็งขวางก็ตามแต่

                คุกต้องใช่เวลายาวนานในการพบและทำแผนที่ของหมู่เกาะนิวคาลิโดเนีย (New Caledonia) และเซาธ์จอร์เจีย (South Georgia) ในที่สุกเขาก็เดินทางกลับถึงอังกฤษในวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1775 มีลูเรือเหลือรอดกลับมาเพียง 4 คนเท่านั้น จากการเดินทางเป็นระยะทางทั้งสิ้น 70,000 ไมล์ ใน 3 ปี

                การเดินทางครั้งที่ 3[4] ของกับตันเจมส์ คุก (ค.ศ. 1776-1780) ครั้งนี้กับตันเจมส์ คุก ได้เป็นกับตันคุมเรือรีโซลูชั่น และมีมาอีก 1 ลำก็คือ เรือดิสคัฟเวอร์รี่ (Discovery) โดยเรือลำนี้ใช้กับตัน ชาร์ล เคิร์ก (Charl Clerke) เป็นกำตันคุมเรือ ซึ่งเขาหวังว่าการเดินทางในครั้งนี้ จะเป็นที่ถูกใจและเป็นเรื่องน่าชื่นชมยินดีต่อชาวอังกฤษยิ่งขึ้น สำหรับการเดินทางไปในครั้งนี้ ได้เดินทางไปยังหมู่เกาะที่ออไมล์ (Ormai) ได้อาศัยอยู่ และได้ทำการผูกมัด (pledge) ในการซื้อขายเกาะที่ชื่อว่า ตาฮิติ (Tahiti) แล้วนั้น โดยหลักของการสำรวจครั้งนี้ก็คือ เขาต้องการแล่นเรือสำรวจดินแดนทางตอนเหนือก่อนก็คือบริเวรคาบสมุทรอาร์คติก (Arctic) ก็คือเส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ไล่มาเรื่อยๆ จนกระทั้งคุกได้สำรวจเจอหมู่เกาะเล็กๆเกาะหนึ่งในมหาสมุทรแปซิฟิก ก็คือเกาะฮาวาย (Hawaii) คุกได้แล่นเรือมาเทียบชายฝั่งที่ท่าเรือของหมู่บ้านไวเมีย (Waimea) ที่เกาะๆหนึ่งของฮาวายชื่อเกาะคาไว (Kauai) ซึ่งก็ได้รับการต้อนรับจากชาวชนบทแถวๆนั้นอย่างมาก ในเวลาต่อมาคุกได้ตั้งชื่อหมู่เกาะแห่งนี้ว่าเกาะแซนด์วิช [5](Sandwich Island) หลังจากที่ข้าหลวงแห่งเกาะแซนด์วิชรุ่นที่ 4  ได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าหลวงแห่งกระทรวงราชนาวี

                สำหรับการมาขึ้นเกาะของคุกนั้น ทำให้ชาวพื้นเมืองต้อนรับอย่างมาก ชาวพื้นเมืองคิดว่าได้มาพบกับเทพเจ้าองค์หนึ่งซึ่งถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความสันติและแสงสว่าง แต่อย่างไรก็ดีการที่คุกและลูกเรือที่ได้อยู่ในเกาะนั้นก็สร้างความอึดอัดให้กับชาวเกาะอยู่ไม่น้อย เพราะอาหารการกินที่มีอยู่เริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ชาวพื้นเมืองที่อยู่เกาะต่างๆของฮาวายเริ่มอึดอัดเต็มที เพราะว่าคุกและลูกเรืออยู่กันหลายสัปดาห์มาก และไปแย่งอาหารจากชาวพื้นเมืองมาเยอะ เพราะลูกเรือเป็นชาวยุโรปมีรูปร่างกำยำมักจะกินจุอยู่แล้ว จึงทำให้อาการการกินร่อยหลอลงไป แต่ต่อมาคุกก็ได้ตัดสินใจที่จะเดินทางแล่นเรือต่อไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็สร้างความโล่งใจให้กับชาวพื้นเมืองอย่างมาก

                แต่ในเวลาต่อมาเรือที่แล่นไปนั้นก็ถูกพายุโจมตีอีกครั้ง สร้างความเสียหายให้กับตัวเรืออย่างมากจนไม่สามารถแล่นต่อไปได้อีก ดังนั้นคุกจึงตัดสินใจเดินทางกลับมาที่เกาะฮาวายอีกครั้ง แต่คราวนี้การต้อนรับไม่เหมือนอย่างเดิม กลับถูกชาวพื้นเมืองปาก้อนหินใส่ขับใล่กับตันคุกและลูกเรือ จนต้องมีการยิงตอบโต้จากลูกเรือของคุกเอง แต่คุกก็พยายามห้าวมิให้ลูกเรือยิงตอบโต้ชาวพื้นเมือง แต่ก็ยิ่งทำให้ชาวพื้นเมืองโกรธหนักมากยิ่งขึ้นไปอีก กระทั่งคุกจึงต้องพยายามหนีขึ้นเรือไป แต่ก็ถูกชาวพื้นเมืองตามไปไล่จับมา และถูกชาวเกาะคนหนึ่งตีจนเขาล้มลง และท้ายที่สุดเขาก็ถูกสังหารด้วยมีดที่แทงนับร้อยแผลจนตาย ในขณะที่เขาอายุได้ 50 ปี แต่ลูกเรือที่รอดมาได้ก็เดินทางกลับอังกฤษในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1780 การเดินทางใช้เวลาทั้งสิ้น 4 ปี กับ 3 เดือน ซึ่งนับว่านานที่สุดในประวัติศาสตร์สำหรับการเดินเรือสำรวจดินแดนครั้งนี้



เรียบเรียงโดย โอภาส แย้มครวญ

อ้างอิง

[1] นันทนา กปิลกาญจน์, ประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะภาคพื้นแปซิฟิก (กรุงเทพ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,2529) หน้า4

[2] นันทนา กปิลกาญจน์ op.cit., p.6

[3] Ibid., p.7

[4] Collingridge, Vanessa (February 2003). Captain Cook: The Life, Death and Legacy of History's Greatest Explorer. P.380

[5] http://en.wikipedia.org/wiki/James_Cook#cite_ref-31

Captain James Cook, FRS, RN (7 November 1728– 14 February 1779) was a British explorer, navigator and cartographer who ultimately rose to the rank of captain in the Royal Navy. Cook made detailed maps of Newfoundland prior to making three voyages to the Pacific Ocean, during which he achieved the first European contact with the eastern coastline of Australia and the Hawaiian Islands, as well as the first recorded circumnavigation of New Zealand.

กับตันเจมส์คุ้ก (7 พฤษจิกายน 1728-14 กุมภาพันธ์ 1779) ท่านเป็นนักสำรวจชาวอังกฤษ,เป็นนักเดินทางและนักวาดแผนที่(Cartographer) ผู้ซึ่งในที่สุดท่านก็สามารถขึ้นสู่ตำแหน่งกับตันของราชนาวีหลวง,คุ้กได้เขียนรายละเอียดแผนที่ของ  นิวฟาวน์แลนด์ก่อนที่จะได้เดินทางไปยัง 3 สถานที่ในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งท่านประสบความสำเร็จเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ได้สำผัสกับพื้นที่ชายฝั่งตะวันออก(estern coastline)ของออสเตรเลียและเกาะฮาวาย ,ได้รับการบันทึกว่าได้เดินทางไปรอบๆเกาะนิวซีแลนด์เช่นเดียวกัน

หมายเลขบันทึก: 472785เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2011 18:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท