วิเคราะห์1


ธรรมะ

ในความคิดของผม ผมคิดว่าศาสนาพุทธเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติ

ที่ว่าเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติไม่ใช่เพราะมีเรื่องอิทธิ ปาฏิหารนะครับ

...

แต่เป็นเพราะ

...ขอยกตัวอย่างนะครับ

ผมใช้คำว่า เป็นเรื่อง เหนือธรรมชาติ ก็อาจจะยังไม่ถูกต้องนัก แต่จะขออธิบายแล้วกันนะครับว่าคำว่าเหนือมันเป็นอย่างไร

ยกตัวอย่าง

ตย1.

ใบไม้ที่ลอยตามกระแสน้ำ ใบไม้ทุกใบที่ตกลงไปในน้ำย่อมลอยตามกระแส เพราะ ใบไม้ซึ่งลอยติดกับน้ำย่อมลอยตามตามน้ำ นี่จึงขอเรียกใบไม้ที่ไม่ไหลตามกระแสน้ำว่า เหนือธรรมชาติ

ตย2.

-สิ่งของที่ได้รับผลจากแรงดึงดูดของโลก ย่อมเคลื่อนที่เข้าหาโลก(หรือ ตกลงบนโลก) แต่การคนพบทางฟิสิกส์สามารถทำให้เราเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลกและขึ้นไปบนอวกาศได้ ขอเรียกว่า มนุษย์สามารถทำสิ่งเหนือธรรมชาติได้

โดยการเอาชนะแรงโน้มถ่วงนั้นเอง และนั้นคือ วิทยาศาสตร์

และเช่นเดียวการ การค้นพบของพระพุทธเจ้าก็คือวิทยาศาสตร์ ในทำนองเดียวกัน

แต่ผมจะขอเรียกว่ามันเป็นเรื่องเหนือธรรมชาติก็แล้วกัน เพราะน้อยคนที่จะสามารถทำได้ และนั้นคือความมหัศจรรย์

สิ่งที่พระพุทธเจ้า(พ.) ต่อไปขอเรียก พ.ค้นพบคือ (ผมเอามาจากตำรา อริยสัจ 4)

1.ความทุกข์ 2.สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ 3.ความดับทุกข์ 4.แนวทางปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์

ครั้งแรกที่ผมเรียนวิชาพุทธศาสนา ผมงงมากเลย ผมไม่เข้าใจอะไรเลย กับอริยสัจสี่

ผมรู้แค่ว่าตามตัวอักษรกับรู้ตามนิยามเท่านั้น

ผมไม่เข้าใจว่า มันเรียงลำดับอย่างไร เช่นว่า

พ.ค้นพบ ความทุกข์ ก็เหมือนกับ ไอแซก ค้นพบแรงดึงดููด

พ.ค้นพบ สาเหตุแห่งทุกข์ ก็เหมือนกับที่เราพบว่าแรงดึงดูดเกิดจากมวลหรือจากอนุภาคในมวลที่ยังไม่ชัดเจน

พ.ค้นพบ ความดับทุกข์ อันนี้ผมงงที่สุดเลย เฮ้ย!ความดับทุกนี้มันเป็นอย่างไร ทำไมไม่ค้นพบข้อ 4 ก่อนแล้วจึงมาข้อ 3

สมัยเด็กๆผมสงสัยว่า ความดับทุกข์คือนิพพานอย่างนั้นหรือ แล้วๆที่ท่านสวรรคต ก็คือเสด็จนิพพาน ไม่ใช่หรอ โอว งง แปลว่าต้องตายถึงจะไปนิพพานใช่ไหม พวกหนังสือกระทรวงนี่ พาผมงงมาจนถึงทุกวันนี้ครับ แต่ถ้ามันไม่ทำให้ผมงงก็คงไม่มีความสงสัย ถ้าไม่สงสัยก็คงไม่ได้รู้

แต่ผมไม่เข้าใจมันอย่างลึกซึ้ง คือ ต่อมาผมคิดว่าผมพอเข้าใจมากขึ้นนะครับ

อันสุดท้าย พ.ค้นพบทางดับทุกข์ อันนี้ก็งงครับ ผมงงว่าทางดับทุกข์ นี้มันทางไหนทำอย่างไร ต้องนั่งสมาธิ หรือ เพราะพระพุทธเจ้าท่านนั่งสมาธิแล้วจึงตรัสรู้

หรือเราต้อง รักษาศีล และก็นั่งสมาธิ และจึงจะมีปัญญา เรื่องเหล่านี้ไม่มีใครอธิบายกันเลยครับ แต่ผมก็พอเข้านะว่าทำไมเค้าไม่อธิบายกัน

ที่กล่าวมาข้างต้นคือเกริ่นครับ ต่อไปคือการวิเคราะห์สิ่งที่ผมสงสัย และนั้นทำให้ได้คำตอบบางอย่าง

ก่อนอื่นผมตั้งสมมุติฐานก่อนครับ ว่า

1.จิตใจมนุษย์มีสภาพบริสุทธิ์ ในตอนแรกเมื่อเกิดครั้งแรก เหมือนกระดาษที่ไม่เคยวาด

2.กระบวนการของจิตใจ ของการเติบโตทำให้เราสั่งสม ความยึดติด ความรู้สึกครอบครอง

3.ศาสนาเป็นเรื่องของกระบวนการในจิตใจล้วนๆ

4.ธรรมชาติสร้างให้เราต้องดำรงเผ่าพันธ์ ดังนั้น มนุษย์ต้อง enjoy life มนุษย์ต้องไม่เบื่อ มนุษย์ต้องอยากได้ ต้องหลงไหลในรสชาติ ต้องหลงในกาม

ดังนั้น

ผมคิด... มนุษย์ไม่ได้เห็นความทุกข์เหมือนที่พ.เห็น 

ทำนองเดียวกัน

...เหมือนที่ คนอื่นไม่ได้เห็นแรงดึงดูดของโลกเหมือนกับไอแซก

พ. เห็นความทุกข์ที่เหนือธรรมชาติ

เปรียบเหมือน

ใบไม้ที่ไหลตามน้ำไม่มีวันรู้ความแรงของกระแสน้ำ เพราะมันไหลตาม มันไม่ได้ปะทะ

ดังนั้น ความทุกข์ที่ประพุทธเจ้าเห็นคืออะไร

ถามว่าถ้าเราดูประวัติท่าน ท่านสุขสบายมาตลอด จนกระทั่งมาเห็น การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย และเกิดความเบื่อหน่ายทางโลก

ตอนผมเรียนมาถึงจุดนี้ถึงกับ ช๊อค ทำไมคนที่มีชีวิตสุขสบายเห็นเทวทูตแล้วเบื่อ

แต่เดี๋ยวก่อน... ท่านจะเบื่อการเกิดการแก่การเจ็บการตายได้อย่างไร

เพราะท่านยังไม่เคยผ่านมันเลย ...ตอนนั้นท่านระลึกชาติได้หรือเปล่า

ไม่.... ผมอ่านประไตยปิฎก ตอนนั้นท่านยังไม่สามารถระลึกชาติได้ครับ(ความคิดเห็นส่วนตัว)

ถึงระลึกชาติได้ แต่ผมก็เห็นคนที่ระลึกชาติได้(เช่นในปัจจุบัน) มันจะเบื่อเลย มันจะหาทางหลุดพ้นเลยครับ

ดังนั้น อะไรทำให้ท่านเบื่อ อะไรทำให้เบื่อขนาดนั้น ถ้าเราไขข้อสงสัยข้อนี้ได้ เราก็จะเคลียร ว่าความทุกข์คืออะไรกันแน่ ความทุกข์ที่ทำให้เบื่อหน่าย

และความทุกข์ที่ค้นพบนี้เองต้องสำคัญมาก ถึงกับต้องเป็นหนึ่งในความจริงอับประเสริฐ จริงมั้ย

ถ้าเป็นความทุกข์ทั่วไปที่ชาวบ้านเห็นกัน มันจะใช่หรือเปล่า

ผมเดาแล้วกันนะครับ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องของจิตล้วนๆ

1.จิตมนุษย์บริสุทธิ์ตั้งแต่เริ่ม ซึ่งจิตที่บริสุทธิ์นี่คือสภาวะนิพพาน ที่สงบสุข เย็น

2. นานเข้าจิตจะต้องยึดติดเป็นธรรมดา เพราะธรรมชาติสร้างเรามาแบบนั้น

3. คนทั่วไปทุกข์เพราะไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ หรือ เป็นสิ่งที่ตนไม่อยากเป็น

4.แต่ความทุกข์ในเชิงพุทธที่ผมเข้าใจเอาเองคือ การไม่สามารถรักษาจิตให้บริสุทธิ์ได้ คือความทุกข์ เช่น เราเคยฟังเพลง แต่ไม่ได้ฟังแล้วเราอยากฟังมาก ถึงกับต้องขับรถออกไปซื้อมาฟัง นี่คือความทุกข์ในมุมมองของผม

คือ ถ้ามองในมุมมองคนทั่วไปก็เป็นเรื่องธรรมดา ไม่ได้มีความทุกข์ มันจะทุกข็ก็ต่อเมื่อมันไม่ได้ฟังเพลง แต่นี่มันได้ฟัง ทำไมมันต้องทุก

แต่ถ้าเราวิเคราะห์ดีๆจะเห็นว่า ไอ่นี่มันไม่สงบเลย อยู่ดีๆ ก็ต้องลุกขึ้นมาฟังเพลง

ต้องลุกขึ้นมากินข้าว ต้องลุกมาทำโน้นนี่

และนี่แหล่ะครับ ไอ่การไม่สามารถรักษาจิตให้สงบได้ จึงทำให้เราเบื่อหน่าย

เช่น เอาอีกแล้วต้องกิน เอาอีกแล้วต้องถ่าย เอาอีกแล้วต้องอยากได้

สนับสนุนกับ ทำไมคนช่วงนั้นถึงคิดว่าการบำเพ็ญทุกรกิริยามันจะช่วยให้หายทุกข์ได้

บ๊ะ! ถ้าคนไม่อยากทุกข์ทำไมต้องยิ่งทำให้ตัวเองทุกข์เพื่อจะพ้นทุกข์หล่ะ

เพราะความทุกมันไม่ได้อยู่ต้องนั้น มันอยู่ที่เขารู้กันว่าต้องทำจิตให้สงบนะ จึงแทนที่ความทุกข์กายให้มันเต็ม พอความทุกข์กายมันเต็มก็สงบอยู่ในความทุกข์กายที่มันเต็ม

....

การทำให้เราเต็มไปด้วยทุกข์ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุ

จริงไหม

ดังนั้นจึงต้องค้นพบสิ่งต่อมา... คือ สาเหตุแห่งทุกข์ครับ

....

คือผมเดาอีกแล้ว ...เดาจากปฏิจจสมุปบาท คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร

เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ

เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส

เป็นอันว่ากองทุกข์ทั้งมวลนั่นย่อมเกิด ด้วยประการฉะนี้.

ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ สังเคราะห์(ปัญญา) ขั้นตอนของจิตใจ แบบละเอียด ซึ่งถ้าจะละเอียดขั้นเทพแบบนี้ได้ ต้องมีสมาธิ(กำลังของจิต)อย่างมาก และก่อนจะทำแบบนั้นได้ต้องรักษาความบริสุทธิ์ของใจได้(ศีล)ระดับหนึ่ง

ตอนนี้ผมจะไม่พูดนอกเรื่องครับ เดี๋ยวผมจะงง...

กลับมา... ผมงงต่อ...ผมจะเดาต่อ

เหตุแห่งทุกข์ คือ อวิชชา ใช่ไหม แล้วอวิชชา คืออะไร คือความไม่รู้

ความไม่รู้คือเหตุแห่งทุกข์ โอ้ว! ไม่เข้าใจเลย ถึงขั้นนี้ผมคิดว่าไอ่ตัวที่ทำให้เราไม่เข้าใจ คือภาษาครับ เราแปลภาษาออกมาอาจจะถูกแต่มันทำให้เราตีความผิด

แต่ตอนนี้ผมตีความว่า

ความไม่รู้ แล้วเราไม่รู้อะไร แล้วอะไรที่เราต้องรู้

อะไรทำให้เราจะไม่เกิดสังขาร เราต้องรู้อะไรบางอย่าง

แต่สิ่งที่เราต้องรู้ต้องเป็นเรื่องของจิตใจล้วนๆ แล้วมันอะไร

ผมโยงมั่วๆ ...ได้ข้อสรุปว่า

ที่เราไม่รู้เพราะเราไม่รู้ว่า

...

สรรพสิ่งล้วนอนิจจัง... ล้วนไม่เที่ยง...ล้วนมีสภาพพัง

..ล้วนมีเกิดขึ้น.. ตั้งอยู่ในท่ามกลาง...และดับไป

...นี่ คืออันนี้ครับ คือของแท้(ความคิดเห็นส่วนตัว)

นี่เป็นข้อสรุปส่วนตัวที่อธิบายต่อได้ว่ามันจะไม่ทำให้เกิดสังขารครับ

สังขารคือร่างกาย ถ้าเรารู้ว่ามันมีสภาพพัง...มีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา..

อย่างนี้...การเกิดสังขารก็ไม่เกิด แต่ไม่ได้บอกว่าร่างกายไม่มี ผิวหนังไม่มีนะครับ

มีครับ ยังไงมันก็มี แต่จิตใจเราไม่ไปรู้สึกว่ามันมีร่างกาย (เป็นเรื่องของจิตล้วนๆ)

...โอเค... ที่นี้ผมขอไปต่อ

..เมื่อเรารู้แล้ว ถึงสาเหตุ ถึงราก ...แล้วเราจะทำอย่างไรละเพื่อที่จะไม่ให้เราทุกข์(อย่าลืมดูนิยามความทุกข์)

คำนี้ก็พุดขึ้นมา... อย่าไปยึดมั่น ถือมั่น ว่านี่ของเรา...

ถูกต้องครับ ...แล้วจะทำอย่างไรหล่ะ

...

ให้คนปกติทั่วไปอย่างเราๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่น

อันนู้นก็พ่อ อันนี้ก็แม่ อันนี้นี่ก็งาน อันนั้นก็แฟน คนปกติทั่วไปมันมีสภาพอยู่บนกองทุกข์อยู่แล้ว

หมายเลขบันทึก: 472682เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2011 17:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ÄÄÄจริงๆๆเจ้าค่ะ...ชอบการวิเคราะห์..ของคุณมากเจ้าค่ะ...ยายธี (โอมม..ธรรมะคือ.คุณากร..ชวนชอบ..สาธร..อ้ะ.)

ขอบคุณที่ให้กำลังใจมากๆครับ ถ้ามีความเห็นต่าง หรือเหมือนประการใด กรุณาชี้แนะได้ตามอัธยาศัย ครับ

ÄÄÄ..ยายธี.คิดว่า..เมื่อวิเคราะห์..อย่างถ่องแท้แล้ว..ไม่คิดจะ..ปิดประตูตีแมว..ก็จะอยู่กับกองทุกข์ตลอดไป..หรือไม่ก็..เปิดประตูปล่อยแมว..ก็จะอยู่เหนือทุกข์..โดยง่าย..นะกับความเป็นคนปรกติ..อ้ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท