KM Knowledge


การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM)

กิจกรรมบำบัดเป็นทั้งศาสตร์ และศิลป์ที่ช่วยพัฒนา บำบัด ฟื้นฟูให้บุคคลทั้งผู้ที่เข้ามารับบริการ บุคคลรอบข้าง หรือนักกิจกรรมบำบัดเอง มีศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมชีวิตประจำวันได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งรูปแบบของการดำเนินชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคลก็จะแตกต่างกัน นักกิจกรรมบำบัดจึงต้องอาศัยทั้งความรู้ และประสบการณ์ในการบำบัด ฟื้นฟู ในหลายๆด้าน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีความถนัดและประสบการณ์ที่แตกต่างกัน

การทำงานเป็นทีม แบบ "การจัดการความรู้ Knowledge Management (KM) " เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้การทำงานทางกิจกรรมบำบัดมีศักยภาพมากขึ้น ซึ่ง อ.ดร.ศุภลักษณ์ เข็มทอง ไ้ด้นำเสนอต้นแบบการทำงานแบบทีม KM ของ รพ.บ้านตาก จ.ตาก ซึ่งการทำงานนี้ก็จะกล่าวถึง คุณอำนวย คือ ผู้ที่ตั้งประเด็น ข้อสงสัย หรือปัญหาการทำงานขึ้นมา และก็จะมี คุณกอบ(คุณลิขิต) คอยเก็บ จดบันทึกข้อมูลต่างๆ ทั้งหัวข้อที่ คุณอำนวยตั้งขึ้น และความคิดเห็นที่ คุณกิจ หรือสมาชิกได้แสดงออกมา จากนั้นก็จะได้ข้อสรุปออกมาร่วมกัน เมื่อเกิดปัญหาก็จะมี คุณเอื้อ คอยให้ความช่วยเหลือทีมผู้ร่วมงานเมื่อเกิดปัญหาในการทำงาน นอกจาำกนี้ยังมีการถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างผู้รับบริการด้วยกันเอง เพื่อเป็นการเรียนรู้โดยตรง โดยมี คุณเอื้อ คอยให้คำแนะนำ และช่วยเหลือ ซึ่งเรียกการทำงานแบบนี้ว่า "Best practice"  

ถ้าทำงานเป็นทีม แบบ KM ได้สมบูรณ์แล้วนั้น ก็จะทำให้ทีมมีศักยภาพดีมากขึ้น และกระจายในทีมอย่างสมดุล สามารถแก้ปัญหางานได้เป็นอย่างดี ทำให้ระบบการทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น และที่สำคัญทำใหุ้คุณภาพชีวิตทั้งผู้รับบริการ และบุคลากรภายในทีมมีความสุข (Well-being)

หมายเลขบันทึก: 472486เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2011 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท