Learning doesn't converge


การนำเสนอ Case study ครั้งที่ 1 ของนักศึกษากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล เลขที่ 1-10

บันทึกฉบับ 3 

Case study I : Presentation  นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหิดล  เลขที่1-10

  1. การใช้เทคนิค constraint-induced movement therapy(CIMT) ในเด็กเป็นวิธีที่ดีที่สุด เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานของแขนและมือ การรักษาต้องมีความต่อเนื่อง เน้นปริมาณและความถี่จะช่วยให้เกิดความสามารถในการเคลื่อนไหวมากขึ้น
  2. Pierre Robin Syndrome  คือ โรคที่มีขากรรไกรล่างเล็กผิดปกติ ทำให้ตำแหน่งของลิ้นถอยลงไปปิดในช่องคอ จึงทำให้เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนและการหายใจ นักกิจกรรมบำบัดมีบทบาทกระตุ้นโครงสร้างภายในและภายนอกปาก รวมทั้งกล้ามเนื้อต่างๆที่มีหน้าที่ในการดูด เคี้ยว โดยวิธีการต่างๆ เช่น Oro motor stimulation เพื่อกระตุ้นให้โครงสร้างและกล้ามเนื้อทำงาน ควรมีการจัดท่าของเด็กขณะฝึกด้วยเพื่อให้เด็กสามารถกลืนอาหารได้สะดวกมากขึ้น นอกจากนี้การให้ Oral supportเพิ่มเติมกับเทคนิคข้างต้นจะช่วยให้ดียิ่งขึ้น
  3. การใช้ดนตรีบำบัดทั้งแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ในผู้ป่วยโรคจิตเภท เพื่อเพิ่มแรงจูงใจ, เพิ่มทักษะการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น  และค้นหากิจกรรมที่ผู้ป่วยสนใจก่อนกลับไปใช้ชีวิตที่บ้าน
  4.  บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยโรค Severe Aortic valve replecement (AVR)  คือ การเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ เช่น กิจกรรมเป่าฟองสบู่ ร่วมกับการสงวนพลังงานด้วยการปรับกิจกรรมให้สูญเสียพลังงานน้อยที่สุด โดยเน้นการใช้มือในการทำกิจกรรม
  5. โรค Chromosome คู่ที่ 19 ผิดปกติ พบปัญหาหลักเกี่ยวกับด้านการรับประทานอาหาร ซึ่งจำเป็นฝึกให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร  ส่วนอาหารที่นำมาฝึกนั้นไม่ว่าจะเป็นของเหลว  น้ำ  หรือว่าอาหารที่เป็นชิ้น ที่มาฝึกเคี้ยวและกลืนล้วนแต่มีผลต่อการรับความรู้สึกในปากทั้งนั้น
  6. โรคจิตเภท บทบาทของนักกิจกรรมบำบัด จะเน้นพัฒนาทักษะด้าน Social skill training โดยจะมองถึงความต้องการของผู้ป่วยเป็นหลัก เช่น ผู้ป่วยชอบทำอาหาร นักกิจกรรมบำบัดก็จะนำกิจกรรมทำอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาวิเคราะห์ แล้วนำไปเป็นกิจกรรมการรักษาในผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยได้เรียนรู้ถึงทักษะด้านอารมณ์ของตนเอง  การมีปฏิสัมพันธ์กันคนในสังคม  ที่สำคัญคือการเข้าใจตนเองและดูแลตนเองในแต่ละวัน
  7. ผู้ป่วย Alcohol withdrawal เน้นหลักการเกี่ยวกับ Cognitive rehabilitation therapy(CBT) ในการฝึกคิดและแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
  8. บทบาทของนักกิจกรรมในผู้ป่วยกระดูกหัก (Posterior fracture distal end of radius in the right hand)คือ ประเมินอาการและความสามารถของผู้ป่วยที่มีอยู่ เช่น บวม , ช่วงการเคลื่อนไหว , กำลังของกล้ามเนื้อ  จากนั้นวางแผนการรักษาโดยจะให้การรักษาตั้งแต่  การลดบวม , การเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว , การเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการเพิ่มความคล่องแคล่วของการใช้มือ เพื่อให้ผู้ป่วยมีความสามารถกลับไปทำกิจวัตรประจำวันได้
  9. บทบาทของนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยกระดูกหัก ได้แก่ Splint, scar massage รวมไปถึงการฝึกให้ผู้ป่วยทำกิจกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีการรักษาร่วมกันกับสหวิชาชีพอื่น ๆ ด้วย เพื่อให้ได้ผลดีมากขึ้น

10.  การฝึกแบบ Bilateral training และ Unilateral training ในผู้ป่วยหลอด             เลือดสมอง(stroke)มีประสิทธิภาพในการฟื้นฟูแขนและมือ เนื่องจากสมองของ       มนุษย์มี Plasticity แม้ว่าหลังจากการบาดเจ็บก็สามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ จาก       กิจกรรมใหม่ๆ ได้ทำให้สมองเกิดการพัฒนาส่งผลต่อทักษะของแขนและมือ           ของผู้ป่วยด้วย

หมายเลขบันทึก: 472328เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2011 04:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 14:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
 
  
    • ด้วยอำนาจพระพุทธบริสุทธิ์ล้ำ
      ด้วยอำนาจพระธรรมล้ำเลอค่า
      ด้วยอำนาจพระสงฆ์ทรงศรัทธา
      พร้อมกันมาอำนวยชัยปีใหม่เทอญ

 

ขอบคุณค่ะ คุณโสภณ เปียสนิท

ที่เป็นกำลังใจให้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท