วิถีแห่งบุญ


บุญคือวิถีสู่ชีวิตที่ “สงบเย็นและเป็นประโยชน์” และบุญที่แท้ในพุทธศาสนา เป็นพลังสร้างสรรค์สังคมมาช้านาน แต่พลังนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเข้าถึงแก่นแท้ของบุญแล้วนำมาประยุกต์กับชีวิตและสังคมได้อย่างสมสมัย......

      วันนี้ อ. วิไล   แสงเหมือนขวัญ  อาจารย์ผู้ใหญ่ที่ดิฉันนับถือผู้เป็นกัลยาณมิตรชี้นำแนวทางการปฏิบัติทั้งการทำงานและการใช้ชีวิตได้กรุณาส่งข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในอเมริกามาให้อ่าน คือ  “จงเป็นผู้มีบุญคุณในตัว”   อ่านแล้วประทับใจมาก  จึงอยากนับมาแบ่งปันดังนี้คะ ........

           ค่ำคืนที่ลมแรงฝนตกหนัก สามีภรรยาวัยชราคู่หนึ่ง เดินเข้าไปในห้องโถงโรงแรม จะขอเช่าห้องพัก แต่พนักงานบริการเวรดึกบอกว่า “ขออภัยครับ..! ห้องพักทั้งหมด มีคณะมาประชุมตั้งแต่เช้าและจองเต็มหมดแล้วครับ โดยปกติหากห้องเต็มผม จะส่งแขกไปพักที่โรงแรมสำรองแต่ผมไม่สบายใจหากท่านทั้งสองต้องฝ่าลมฝนอีกครั้งนึง ห้องแม้จะไม่หรูหรา เท่าห้องชุด แต่ก็สะอาดดี ..ท่านทั้งสองจะลองพักที่ห้องส่วนตัวผมไหม??? ผมเข้าเวรดึกไม่ต้องใช้ห้องส่วนตัว ผมพักผ่อนที่เคาเตอร์ก็ได้”
          ชายหนุ่มให้คำเสนอแนะด้วยความจริงใจ คู่สามีภรรยาวัยชรา รับข้อเสนอด้วยความยินดีและขออภัย ทีสร้างความไม่สะดวก แก่พนักงานหนุ่ม    วันรุ่งขึ้นชายชราเดินไปชำระเงิน ค่าห้องพัก พบพนักคนเดิมยังอยู่ที่เคาเตอร์ พนักงานหนุ่มยังคงพูดด้วยอัธยาศัยดีว่า

          “ห้องที่ท่านพักเมื่อคืนวาน ไม่ใช่ห้องรับแขกของโรงแรม เราจะไม่คิดค่าห้อง หวังว่าท่านและคุณผู้หญิงนอนหลับสบายตลอดคืนที่ผ่านมา”
          ชายชราผงกศรีษะชื่นชม “คุณเป็นพนักงานที่เจ้าของโรงแรมทุกคน ใฝ่ฝันอยากได้.. สักวันหนึ่งผมอาจช่วยคุณสร้างโรงแรมสักแห่ง “
           หลังจากนั้น .. หลายปี ผมได้รับจดหมาย ลงทะเบียน ฉบับหนึ่ง พร้อมกับแนบตั๋วเครื่องบินไปกลับ นครนิวยอร์ค และหนังสือเชิญไปเที่ยวนิวยอร์ค ในจดหมายเล่าถึงเหตุการณ์ ในคืนที่ลมแรงและฝนตกหนัก หลังจากเดินทางไปถึงแมนฮัตตันไม่กี่วันชายหนุ่มก็ได้พบกับชายชรา ผู้เป็นแขกเก่าหลายปีก่อน 
            ณ.แยกถนน Fifth Avenue ตัดกับ Thirty Four Avenue ณ.จุดนี้มีอาคารหรูหราสร้างใหม่ตั้งตระหง่านอยู่ ชายชรากล่าว่า “นี่แหละคือโรงแรมที่ผมสร้างเพื่อคุณ ขอให้คุณมาช่วยผมดำเนินการ จำได้ไหม??” ทันที่ฟังชายชราพูดจบ ชายหนุ่มตกตะลึงจนพูดจาติดอ่าง “ท่านมีเงื่อนไขอะไรบ้างทำไมจึงเลือกผม ท่านเป็นใครกันแน่???”
          “ฉันคือ William Waldorf Astor ฉันไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ฉันเคยพูดว่คุณคือคนที่ฉันใฝ่ฝันอยากได้เป็นพนักงาน”
            ต่อมาที่นี้ กลายเป็นโรงแรม Waldorf ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ในนครนิวยอร์ค ผู้นำประเทศต่างๆ มักเลือกพักที่นี้ เมื่อมาเยือนมหานครนิยอร์ค โรงแรมแห่งนี้ เปิดกิจการเมื่อปีค.ศ. 1931 เป็นสัญญาลักษณ์แสดงฐานะ อันทรงเกียรติในนครนิวยอร์ค 
           พนักงานที่ได้รับหน้าที่ในขณะนั้น มีชื่อว่า George C. Boldt ซึ่งเป็นผู้กลับกันให้ Waldorf ครองตำแหน่งอันทรงเกียรติตลอดศตวรรษที่ผ่านมา 
        ไม่ต้องสงสัยเลยเขาพบผู้ใจบุญนั้นเอง อะไรเล่าที่เปลี่ยนชะตาชีวิตของพนักงานผู้นี้.. ..แต่ถ้าหากพนักงานเข้าเวรกลางคืนที่ฝนตก กลับเป็นอีกคนหนึ่ง จะเกิดผลเหมือนกันไหม !! .. ชีวิตในโลกนี้เต็มไป ด้วยบุญวาสนา เราแต่ละคนมีโอกาสก้าวหน้า เมื่อบุญมา วาสนาส่ง อย่ามองข้ามคนใดคนหนึ่งอย่าปล่อยปละละเลยโอกาสช่วยเหลือผู้อื่นได้ หัดปฏิบัติต่อทุกคนด้วยความยินดี เรียนรู้วิธีทำงานทุกอย่าง ให้สมบูรณ์แบบ ฝึกเป็นผู้เปี่ยมด้วยจิตใจขอบคุณในทุกโอกาส จงเชื่อมั่นว่า ตัวเราเองเป็นผู้มีบุญคุณแก่ตน

          ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับสาระธรรมที่พระไพศาล   วิสาโล  บรรยายในหนังสือเรื่อง” บุญที่ถูกลืม” ซึ่งพิมพ์เผยแพร่ในปี 2552   สรุปสาระได้ว่า

     .....ท่านอาจารย์พุทธทาสกล่าวไว้ว่า   ชีวิตที่ดีงามคือชีวิตที่ “สงบเย็นและเป็นประโยชน์” ความสงบเย็นนั้นย่อมทำให้ชีวิตมีความสุข แต่จะสงบเย็นได้ก็ต้องดำเนินชีวิตอยู่บนความถูกต้อง นั่นคือละเว้นความชั่ว ทำความดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ห่างไกลจากเครื่องเศร้าหมอง และเข้าใจความจริงของชีวิต จนสามารถวางใจได้อย่างถูกต้องต่อสรรพสิ่ง เมื่อนั้นย่อมไม่มีสิ่งใดรบกวนจิตใจให้ร้อนรุ่มหรือเป็นทุกข์ได้เลย

          อย่างไรก็ตาม “สงบเย็น”อย่างเดียวย่อมไม่พอ เราควรทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นด้วย จะว่าไปแล้วผู้ที่สงบเย็นอย่างแท้จริง ย่อมปราศจากความเห็นแก่ตัว จึงพร้อมจะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นอย่างเต็มที่ โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน และเมื่อเพียรพยายามอย่างเต็มที่ หากไม่สำเร็จก็ไม่เป็นทุกข์ ไม่คับข้องหมองใจ เพราะเข้าใจความจริงว่าทุกอย่างเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจที่ใครจะควบคุมหรือบังคับให้เป็นไปตามใจได้

         ดังนั้น  วิถีสู่ชีวิตที่ “สงบเย็นและเป็นประโยชน์” จึงสามารถรวมลงที่คำ ๆ เดียวคือ “บุญ” แต่ทุกวันนี้ความเข้าใจของชาวพุทธเกี่ยวกับ “บุญ” มีความหมายคับแคบลง อีกทั้งแรงจูงใจในการทำบุญก็ผิดเพี้ยน จนกลายเป็นการสนองความเห็นแก่ตัว และละเลยผู้อื่น อันที่จริงนอกจากคำว่า “บุญ” แล้ว แนวคิดอื่น ๆ ก็เข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนกันมาก เช่น “กรรม” และ “ธรรมะ” ทั้งหมดนี้ทำให้ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยมีชีวิตที่เหินห่างจากภาวะ “สงบเย็นและเป็นประโยชน์” นอกจากจะทำให้ตนไม่ได้รับประโยชน์จากชีวิตอย่างเต็มที่แล้ว ยังนำไปสู่การทอดทิ้งสังคม ทำให้สังคมอยู่ในภาวะเสื่อมถอยมากขึ้น

          เมื่อเป็นเช่นนี้  บุญจึงเกื้อกูลต่อสุขภาวะทั้งทางกาย ความสัมพันธ์ จิต และปัญญา ซึ่งเป็นสุขภาวะทุกมิติที่มนุษย์ต้องการ ขณะเดียวกันบุญก็มิได้สร้างสรรค์เฉพาะคุณภาพชีวิตเท่านั้น หากยังเอื้อเฟื้อต่อคุณภาพสังคมด้วย ทุกครั้งที่ให้ทานอย่างถูกต้อง นอกจากจะช่วยลดความเห็นแก่ตัว ฝึกตนเป็นผู้ให้ด้วยมิใช่เป็นแค่ผู้รับอย่างเดียว ยังช่วยให้สังคมเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน มีความสงบร่มเย็น 

        ที่สำคัญบุญที่แท้ในพุทธศาสนานั้น  จึงเป็นพลังสร้างสรรค์สังคมมาช้านาน แต่พลังนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยการเข้าถึงแก่นแท้ของบุญแล้วนำมาประยุกต์กับชีวิตและสังคมได้อย่างสมสมัย

       โดยนัยนี้   ชีวิตที่สงบเย็น และสังคมที่สงบสันติ เกิดขึ้นได้หากชาวพุทธเข้าใจและปฏิบัติอย่างถูกต้องไม่ว่าเรื่อง บุญ กรรม และธรรมะ จนนำไปสู่การพัฒนาตนและช่วยเหลือสังคมควบคู่กันไป……..

หมายเลขบันทึก: 472168เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2011 08:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 06:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. 2000 + 555

ขออวยพรให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง มีชีวิตที่เบิกบานสดใส สมหวังในสิ่งที่ปรารถนา คิดเงินให้ได้เงิน คิดทองให้ได้ทอง และประสบแต่สิ่งที่ดีงามตลอดปีและตลอดไปนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท