สิ่งที่ได้จาก Seminar II ครั้งที่ 1 วันนี้


ความรู้เล็กน้อยที่ได้รับจากการฟังในวันนี้

จากการที่ได้ฟังเพื่อนนักศึกษากิจกรรมบำบัดปี 4 ได้นำเสนอ case study พร้อมกับ evidence-based ที่สนับสนุนเกี่ยวกับ csae study ของเเต่ละคนในเเต่ละรายในวันนี้ 22 ธันวาคม พใศ. 2554
ทำให้ได้เห็นถึงศักยภาพ ความสามารถของเพื่อนๆที่มีเเต่ละคน ซึ่งรู้สึกว่าเพื่อนๆ ทำได้ดีกันทุกคนมากเลยในวันนี้ ทั้ง 10 คน เชื่อว่า ทุกคนได้นำเสนอความรู้ที่ได้หามาอย่างเต็มที่ให้เราได้ทราบ  

วันนี้อาจจะขอสรุปความรู้เล็กน้อย ที่ได้รับจากการฟังมาสักนิดหน่อยนะคะ

:: เริ่มจาก case study เด็ก ที่เป็น hydrocephalus ที่เด็กมีอาการอ่อนเเรงข้างขวา ได้มีการนำหลักของ CIMT มาใช้ คือ การใช้ข้างที่อ่อนเเรงในการทำกิจกรรม โดยจำกัดการเคลื่อนไหวของข้างที่ดีไว้  เเละยังเเนะนำอีกว่าใช้ CIMT ร่วมกับ หลักการอื่น ในการรักษา กระตุ้นพัฒนาการเด็กจะทำให้ได้ผลที่ดีขึ้น
- case เด็กที่มีปัญหาการดูดกลืน OT จะทำหน้าที่กระตุ้นตามพัฒนาการของเด็ก
- csae เด็กทีมีปัญหาความผิดปกติ โครโมโซมคู่ที่ 19  จะมีปัญหาทางร่างกาย รวมส่งผลถึงการกินของเด็กร่วมด้วย คือ เด็กจะไม่ทานอาหาร ซึ่ง OT จะใช้การฝึกเเละปรับพฤติกรรมการทานอาหารที่เด้กยอมรับ เเล้วฝึกการเคี้ยว การกลืนให้เป็นไปตามขั้นตอน (เเต่ก่อนฝึก ต้อง ตรวจ sensory ในปากด้วยนะ ว่ามี hyper or hypo sense ไหม ?)

เรามาดู case จิตกันหน่อยยะคะ
- case study schizophrenia :ในส่วนที่เพื่อนได้นำเสนอ เขาได้มีการนำดนตรีมาใช้ในการบำบัดผู้ป่วยด้วย ซึ่งทำให้ได้ทั้งความเพลิดเพลิน เเละยังเป็นการร้องเพลงที่ทำให้ผู้ป่วยคิดถึงสิ่งดีของตนเองด้วยนะคะ เเละเราควรการรักษาที่นำหลักการของ CBT เเละ OA มาใช้ในการเพิ่ม intrinsic motivation ด้วย 
-ผู้ป่วยจิตเภทส่วนใหญ่จะมีปัญหาในเรื่อง ความรู้ ความเข้าใจ การเข้าสังคม   ซึ่งนับว่าเป้นเรื่องสำคัญอย่างหนึ่ง OT จะเข้าไปมีบทบาทในการฝึกทักษะทางสังคม การเข้าสังคมให้กับผู้ป่วย จะฝึกเน้นเป็นการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับคนอื่น ให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีอย่างเหมาะสม  รวมทั้งกิจกรรมต้องเป็นกิจกรรมที่ไม่ยาก ง่ายเกินไป เเละ ปรับให้มีความยากง่าย ตามความสามารถผู้ป่วยด้วย
- ในผู้ป่วยติดสุรามักจะมีปัญหาในส่วนของการคิดเเก้ไขปัญหา(Problem solving) เพราะพวกเขามักจะใช้สุราเป็นทางออก เมื่อเกิดความเครียด  :: OT  จะไปฝึกให้ผู้ป่วยได้เกิดกระบวนการคิด การเเก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง รวมถึงการจัดการความเครียดด้วย

ในส่วนของ case กาย จะมีทั้ง ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจ ที่มีปัญหาอ่อนเเรงเเขน มือ เราจะไปฝึกให้เขาเกี่ยวกับ การเพิ่มความเเข็งเเรงในส่วนของมือ เพื่อให้เขาใช้มือทำกิจกรรมได้ดีขึ้น ,  fatique management, breathing excercise, stress management , ส่งเสริมการทำกิจกรรมยามว่าง เป็นต้น
- ในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกหัก :: จะให้ splint เเละเครื่องดาม รวมถึงฝึกการทำกิจกรรมด้วยร่วมด้วย
- ในผู้ป่วย stroke :: มีการฝึกเปรียบเทียบการทำกิจกรรมโดย ใช้มือข้าง เเละ สองมือร่วมกัน ในการทำกิจกรรม พบว่า ผลที่ได้ออกมาไม่ต่างกัน

 

เอาเป็นว่า ขอสรุป สิ่งที่ได้จากการฟังมาคร่าวๆเท่านี้นะคะ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับผู้ที่สนใจนะคะ ^___^

หมายเลขบันทึก: 472102เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 10:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ยินดีที่ได้แปลความรู้ในบันทึกนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท