ความรู้ที่ได้รับจากการฟังการนำเสนอ I


ความรู้ที่ได้หลังจากการฟังที่เพื่อนนำเสนอ ซึ่งก็จะมีเคสที่แตกต่างกันออกไป ในแต่ละโรค แต่ละวิธีการรักษา (การนำเสนอตั้งแต่เลขที่ 1-10)

ความรู้ที่ได้จากการฟังวันนี้ คือ

1. เรื่องของ Oral stimulation 

eating pattern : 

- Automatic Phasic Bite-Release pattern =  เป็นลำดับขั้นตอนแรกของการเคี้ยว จะมีการเคลื่อนไหวของขากรรไกรในทิศทางขึ้นและลง พบตั้งแต่ 3-5 เดือน 

- Suckling = เป็นการดูดแบบไม่เว้นการหายใจ พบตั้งแต่ 2-4 สัปดาห์ และ 5-6 เดือน

- Munching Pattern = เป็นการเคลื่อนไหวขากรรไกรในทิศทางดิ่ง คล้ายกับการกัดเป็นช่วงๆ จะเคลื่อนไหวเฉพาะทิศทางขึ้นและลง พบตั้งแต่อายุ 5 เดือนขึ้นไป

-Mature Bite Pattern = การใช้ฟันกัด, บด อาหารนั้น ขากรรไกรจะขยับขึ้นลงอย่างช้าๆ ควบคุมได้เป็นจังหวะอย่างสม่ำเสมอ พบได้ตั้งแต่อายุ 1 ขวบ ขึ้นไป

2. เรื่องของผู้รับบริการที่มีกระดูกหัก 

ในบทบาทของนักกิจกรรมบำบัด สามารถทำได้คือ 

- เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว (ROM), เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

- ลดอาการบวม (edema)

        และใช้กิจกรรมที่ได้สามารถประยุกต์ใช้ได้จริง เพื่อให้ผู้รับบริการมีแรงจูงใจในการฝึกมากขึ้น เช่น ผู้รับบริการมีความต้องการที่จะตัดเล็บด้วยตนเอง ก็ใช้ที่หนีบเสื้อเป็นสื่อการักษาเพื่อให้ผู้รับบริการเพิ่มกำลังของกล้ามเนื้อและมีแรงจูงใจมากขึ้น

3. ผู้รับบริการที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองที่บริเวณ Basal ganglion hemulus

     สามารถใช้เทคนิคการทำ Bilateral  & Unibilateral training ในการช่วยเพิ่มความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อได้

4. ผู้รับบริการที่เป็นโรคหลอดเลือดสมอง 

     สามารถใช้เทคนิคของ Rood Approach ในการกระตุ้นกล้ามเนื้อได้ เช่น การเคาะกระตุ้นกล้ามเนื้อในส่วนนั้นๆ (Tapping), การสั่นเพื่อกระตุ้นกล้ามเนื้อ (Vibration), การลงน้ำหนักที่ข้อต่อ (Weight-bearing)

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 472072เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2011 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท