หนึ่งความประทับใจในงานบุญที่วัดปางริมกรณ์


หนึ่งความประทับใจในงานบุญที่วัดปางริมกรณ์

 

 

 

 

 เมื่อข้าพเจ้าได้เดินทางไปทอดกฐินที่วัดปางริมกรณ์ ในนาทีแรกมิได้คิดว่าไม่มีอะไรมากเพียงมีความตั้งใจที่จะเดินทางไปทำบุญกับดร.ฤทิชัย แกมนาค คู่ชีวิต เท่านั้น ด้วยเหตุผลที่ว่า มีพระนิสิตที่วัดนี้ คือพระวีระชัย มณีรตโน(รักษาการแทนเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน) มาช่วยงานที่ห้องสมุดโดยจิตสาธารณะ ตั้งแต่ต้น แม้จะเป็นพระที่ยังมีอายุน้อย แต่ความคิดความอ่าน มิได้น้อยเหมือนอายุ ตั้งในเรื่องการวางตน ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความรับผิดชอบ การรักษาคำพูดรวมทั้งการการรักษาศีลจึงเกิดความประทับใจ ด้วยจะเห็นว่า ในสังคมไทยในปัจจุบัน ถ้าพระสงฆ์ทำสิ่งไม่ดี สื่อต่างๆไม่ว่า จะเป็นหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์จะโหมประโคมข่าวกันอย่างเป็นหัวข้อใหญ่และพูดกันไปอย่างเอิกเกริกประมาณว่า ดูมรหสพต่างๆ หรือโฆษณาชวนเชื่อจนพิพากษ์วิจารณ์เป็นที่สนุกปาก ด้วยเหตุนี้ในความคิดข้าพเจ้าดูว่าจะไม่มีเป็นธรรมสักเท่าใดนัก
     แต่การที่จะให้พระสงฆ์ออกว่าโฆษณาคุณความดีด้วยตัวเองว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ก็ดูจะผิดวินัยหรือ วิสัยของสงฆ์ที่จะกระทำจึงทำให้ได้ข้อคิดว่า พระดีเราก็ต้องรักษาเพื่อสืบทอดพระศาสนา ในส่วนพระไม่ดีเราก็ต้อง ป้องกันไม่ให้เข้ามาเป็นมารศาสนา
       ในการเดินทางไปที่วัดนี้อีกหนึ่ง ความที่ประจำใจที่ติดตาจะอยู่ในความรู้สึกจนลืมไม่ลงเหมือนคราวที่เดินทางไปแจกผ้าห่มที่ออมก๋อยคือที่นี่ชาวเขาเอาข้าวห่อใบตองมาให้โดยเอาเช็ดกับเสื้อกลัวว่าเราจะรังเกียจไม่สะอาดซึ่งเป็นชายชราแก่ๆคนหนึ่งโดยค่อยๆมาสะกิดตัวเราและยกข้าวที่ห่อใบตองเหนือท่วมหัว พอตัวเองรับมาทานต่อหน้า ชายชราคนนั้นถึงกับน้ำตาซึมทำให้ผู้เขียนเองรู้สึกตื้นตันว่า เขาอยากตอบแทนบุญคุณเราบ้างนั่นเอง นั่นเป็นความรู้สึกนำไปสู่ความประทับใจคือ ความจริงใจ บริสุทธิ์ใสซื่อนั่นจนเป็นภาพวาดที่งดงามแห่งความทรงจำ ที่มิต้องผ่านภาพเขียนใดๆ
      แต่สำหรับที่วัดปางริมกรณ์ สิ่งที่ประทับใจคือ ชาวบ้าน ความใสซื่อ แบบชนบท รอยยิ้มที่จริงใจ และการต้อนรับที่ชาวบ้านตั้งใจและร่วมมือกันทั้งที่ชุมชนนี้ส่วนหนึ่งเป็นเชื้อสายชาวมอญ แต่ที่มหัศจรรย์ใจคือพระบรมสารีริกธาตุและศิลปะ สถาปัตยกรรม ในรอยยิ้มและแววตาเป็นสื่อบอกถึงความในใจ ของชาวบ้านและขนบประเพณีที่ยังรักษาไว้อย่างไว้
      การทำบุญใดที่ก่อประโยชน์ให้คนหมู่มากนั่นคือการได้บุญที่ยิ่งใหญ่ รายได้กฐินครั้งนี้ทั้งหมดนำไปสร้างศาลาซึ่งแรงงานมาจากพระนิสิต และพระลูกวัดอีก4รูปกับชาวบ้านช่วยกันเห็น พระนิสิตรูปนี้มาค้นคว้างานห้องสมุด จึงสอบถามไปว่า ทำไมผิวคล้ำดำจังพักนี้ ท่านตอบมาว่า สร้างศาลาทุกวัน ข้าพเจ้าเคยขอรูปและประวัติท่านหลายครั้งเพื่อนำมาประกอบการเขียน แต่ด้วยวิสัยพระนิสิตเอง เป็นคนขี้เกรงใจเพราะเคยถวายปัจจัยท่านหลายครั้งที่ต้องเดินทางมาช่วยงานที่ห้องสมุดมจร.วัดพระแก้วท่านจะไม่รับจนตัวเองต้องบังคับให้ท่านรับปัจจัยทุกครั้งไป
      จึงนำประวัติวัดมาให้อ่านกันและเพื่อท่านใดมาเชียงรายและแวะมาเที่ยวที่วัดนี้ มี“น้ำตกขุนกรณ์” ที่สวยงามและเป็นแห่งท่องเที่ยวหรือแม้ความประสงค์อยากร่วมทำบุญสร้างศาลาก็ขออนุโทนาบุญด้วยคะ
               (กระต่ายใต้เงาจันทร์)

ประวัติวัดปางริมกรณ์ (พอสังเขป)
             วัดปางริมกรณ์ ตั้งอยู่บ้านปางริมกรณ์ หมู่ 10 ต.แม่กรณ์ อ.เมือง จ.เชียงราย สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน 4 ตารางวา อาณาเขตทิศเหนือประมาณ 46 วา จดแม่น้ำกรณ์ ทิศใต้ประมาณ 46 วา จดหมู่บ้านทิศตะวันออกประมาณ 46 วา จดหมู่บ้าน ทิศตะวันตกประมาณ 24 วา จดโรงเรียนบ้านปางริมกรณ์
อาคารเสนาสนะประกอบด้วย
• อุโบสถ
• ศาลาการเปรียญ
• กุฏิสงฆ์
• ศาลาราย

วัดปางริมกรณ์สร้างเมื่อ พ.ศ. 2484 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2520 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 ตารางวา ยาว 80 ตารางวา การบริหารปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบ คือ
1. พระปัญญา
2. พระสมบูรณ์ อตฺตสถโร
3. พระคำมูล คำภิโร
4. เจ้าอธิการสมบูรณ์ ถิรจิตฺโต
5. พระสนั่น กลฺยาณสิริ
6. พระบัญชา โกวิโท
7. พระอธิการวิเชียร ชุติทตฺโต
8. พระวีระชัย มณิรตโน ( รก.เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน )



ประวัติบ้านปางริมกรณ์
             ความเป็นมาของบ้านปางริมกรณ์เดิมทีเป็นชุมชนเล็กๆ ที่ชาวบ้านเข้ามาอาศัยอยู่ตามหุบเขาโดยมีชาวบ้านอาศัยอยู่ประมาณสิบกว่าหลังคาเรือน ชาวบ้านเข้ามาทำสวนเหมี้ยง ซึ่งเป็นพืชทางการเกษตร ที่ชาวบ้านปลูกและเก็บเพื่อนำไปขายเป็นอาชีพจึงเรียกชุมชนนี้ว่า “ปางเหมี้ยง” โดยชาวบ้านเข้ามาอาศัย เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. 2435 เป็นต้นมาอยู่มาถึงประมาณ ปี พ.ศ. 2475 ชาวบ้านจึงทำการขออนุญาตทางอำเภอตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่มีจำนวนสิบกว่าหลังคาเรือน ขณะนั้นมี นายกอง พรหมโวหาร เป็นกำนันประจำตำบลและได้รับอนุญาต ให้ตั้งเป็นหมู่บ้านใหม่ได้ โดยตั้งชื่อว่า “บ้านปางริมกรณ์” หมู่ 10 ต.แม่กรณ์ อ.เมือง จ.เชียงราย โดยตั้งนายถา เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก สถานที่ท่องเที่ยวในชุมชนค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยชาวบ้าน หมู่ที่ 10,9 ได้ร่วมกันพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวและได้ตั้งชื่อว่า “น้ำตกขุนกรณ์” จนมาถึงปัจจุบันนี้

 

การก่อสร้างศาลาอเนกประสงค์ที่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะเงินกฐินที่ไปทอดวัดปางริมกรณ์หมดไปแล้วกับการก่อสร้าง

ประโยชน์ของการสร้างศาลาเอนกดประสงค์วัดปางริมกรณ์เป็นสถานที่ประชุมของชาวบ้าน      เป็นสถานที่สวดอภิธรรมศพ                               เป็นสถานที่จำวัดสำหรับพระภิกษุ สามเณร อาคันตุกะ

เป็นสถานที่อบรมนักเรียน นักศึกษาที่เข้ามาทำกิจกรรมในบ้านปางริมกรณ์

เป็นสถานที่พักผ่อนของประชาชนทั่วไป

เป็นสถานที่เก็บอุปกรณ์ของวัดเช่น เก้าอี้ โต๊ะ ลำโพง เครื่องเสียงฯลฯ

เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมเจริญกัมมัฏฐาน

ศรัทธาประชาชนที่มาทำบุญที่วัด

 

 

ศาลาที่ยังสร้างไม่เสร็จ

 

 

 

บริเวณข้างในศาลา

รูปปัจจุบันของศาลาอเนกประสงค์ที่ยังสร้างไม่เสร็จ

บริเวณข้างวัด“น้ำตกขุนกรณ์”

 




 

 

หมายเลขบันทึก: 471943เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2011 12:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท