Gift_Phon
OTs พรพรรณ ฐิติพันธ์รังสฤต

เกร็ดเล็กๆน้อยๆกับการฟื้นฟูหลอดเลือดสมอง


     เป็นครั้งแรกของผู้บันทึกที่มีบล็อกความรู้ทางวิชาการเป็นของตัวเอง ความรู้นี้เป็นความรู้เกี่ยวกับด้านสุขภาพและเกี่ยวข้องกับวิชาชีพกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง จากสิ่งที่ผู้บันทึกได้เรียนทฤษฎีความรู้ต่างๆเกี่ยวกับตัวโรคและ หลักการรักษาทางกิจกรรมบำบัดและจากการได้ลงฝึกปฏิบัติงานทางคลินิกทำให้ผู้บันทึกได้มีความรู้ เทคนิคต่างๆ และประสบการณ์ต่างๆที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับผู้ป่วยหลอดเลือดสมองได้ ทีนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าโรคหลอดเลือดสมองนั้นเป็นอย่างไร

     โรคหลอดเลือดสมองหรือโรคที่คนทั่วไปรู้จักและเรียนกันว่า”โรคอัมพฤกษ์ หรือ อัมพาต” เป็นโรคที่เกิดขึ้นและพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โรคหลอดเลือดสมองนี้สามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. โรคหลอดเลือดสมองอุดตันหรือหลอดเลือดสมองตีบ

2. โรคหลอดเลือดสมองแตก

     ทั้ง 2 ชนิดนี้ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนนั้นๆไม่พอหรือที่ก้อนสมองมีเลือดออกทำให้ร่างกายที่ถูกควบคุมด้วยสมองส่วนนั้นสูญเสียการทำงานไปโดยเฉียบพลัน อาการที่พบมีดังต่อไปนี้

     • อ่อนแรง หรือ ชาในร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง

     • ตามองไม่เห็นภาพในซีกใดซีกหนึ่งหรือทั้งหมด หรือมองเห็นภาพซ้อน

     • เกิดความผิดปกติของการใช้ภาษา เช่น ไม่เข้าใจภาษา

     • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง

     • เกิดภาวะกลืนลำบาก พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว

     • ซึมหรืออาจหมดสติ

     ระดับการฟื้นตัวของแต่ละคนจะมีการฟื้นตัวไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับระดับรอยโรคที่เกิด อายุ ความแข็งแรงของร่างกายด้วย ในบางรายสามารถฟื้นตัวแล้วหายเป็นปกติได้ หรือบางรายอาจมีความผิดปกติหลงเหลืออยู่ ปัญหาที่พบบ่อยในคือปัญหาของการใช้ร่างการส่วนบน (Upper extremity) ประกอบไปด้วย การเคลื่อนไหวของหัวไหล่ แขน ข้อมือ และนิ้วมือในทิศทางต่างๆ ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะไปขัดขวางการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิตต่างๆ เช่น การอาบน้ำ การทานอาหาร หรือการหยิบจับอุปกรณ์ต่างๆ ให้คุณภาพในการใช้ชีวิตแย่ลง ในบางรายอาจเกิดความไม่มั่นใจในตนเอง ไม่เห็นคุณค่าในตนเองเลยก็เป็นได้

     ผู้บันทึกได้อ่านงานวิจัยหนึ่งเกี่ยวกับการกระตุ้นการควบคุมกล้ามเนื้อของรยางค์ส่วนบนและการฟื้นฟูการทำงานของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน ซึ่งสรุปใจความได้ว่า การกระตุ้นกล้ามเนื้อจะช่วยฟื้นฟูการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อได้ ซึ่งมีการศึกษาอีกมากมายที่พบว่าการกระตุ้นกล้ามเนื้อนี้สามารถช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อได้อีกด้วย ผลที่ได้วัด 2 อย่างคือ 

     • การทำงานของกล้ามเนื้อโดยใช้แบบประเมิน Fugl-Meyer Motor Assessment เป็นแบบประเมินที่วัดการควบคุมทำงานของกล้ามเนื้อในผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง

     • การทำงานของกล้ามเนื้อที่ไปมีผลต่อการทำกิจกรรมการดูแลตนเองโดยใช้แบบประเมินFunctional Independence Measure (FIM) นอกจาการใช้กระตุ้นกล้ามเนื้อในการฟื้นฟูแล้วในงามวิจัยนี้ยังใช้การกระตุ้นด้วยไฟฟ้า (electrotherapy) อีกด้วย

      ถ้าผู้ใดสนใจที่จะอ่านงานวิจัยนี้ต่อ ชื่องานวิจัยนะคะ “Neuromuscular Stimulation for Upper Extremity Motor and Functional Recovery in Acute Hemiplegia”

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก

1. si.mahidol.ac.th [homepage on the Internet].โรคหลอดเลือดสมอง-สาระน่ารู้เพื่อผู้สูงวัย:[ cited 2011 December,20].Available from : www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/Thaiweb/stroke2.html

 2. Chae J, Bethoux F, Bohinc T, Dobos L, Davis T, Friedl A. Neuromuscular Stimulation for Upper Extremity Motor and Functional Recovery in Acute Hemiplegia. the American Heart Association 1998; 29:975-979

 

หมายเลขบันทึก: 471937เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2011 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ได้รับความรู้มากๆเลยคะ ^_________^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท