DBA : การคิดเชิงวิพากษ์


การคิดเชิงวิพากษ์

การคิดเชิงวิพากษ์

การคิดเชิงวิพากษ์ เป็นกระบวนการคิดแนวใหม่และเป็นมิติหนึ่งที่จะทำให้คนในสังคมไทยสามารถที่จะแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรีภาพ ในรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนปี 2540 ได้ให้เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน

ความหมายของการวิพากษ์
 การวิพากษ์  หมายถึง การพิจารณาตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยโต้งแย้งและท้าทายสมมุติฐานที่นำมากล่าวอ้างว่า อาจมีข้อผิดพลาดและไม่เป็นจริง
     การวิพากษ์ การวิจารณ์ และวิจารณาญาณ สามคำนี้มีความหมายแตกต่างกัน คำว่าวิจารณ หมายถึง การให้คำตัดสินสิ่งที่กำลังพิจารณา  และคำว่าวิจารณาญาณ หมายถึง ปัญญาที่ใคร่รู้และการใช้เหตุผลที่ถูกต้อง วิจารณาญาณเกิดจากการใคร่ครวญในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง กระบวนการคิดเชิงวิพากษ์เป็นการทำงานของสมองซีกซ้ายเชิงเหตุผล การคิดเชิงวิพากษ์จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เมื่อเราเผชิญกับสถานการณ์ เช่น  เมื่อจินตนาการที่วาดไว้ ไม่สมหวัง  เมื่อข้อมูลเข้ามาปะทะและต้องตัดสินใจทางเลือก

ความหมายของการคิดเชิงวิพากษ์
  การคิดเชิงวิพากษ์ หมายถึง ความตั้งใจที่จะตัดสินเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยการไม่เห็นคล้อยตามข้ออ้างที่นำเสนอ แต่ตั้งคำถามท้าทาย หรือโต้แย้งข้ออ้างนั้น เพื่อเป็นแนวทางความคิดออกสู่ทางต่างๆ ที่แตกต่าง อันจะนำไปสู่การแสวงหาคำตอบที่สมเหตุสมผลมากกว่าข้ออ้างเดิม

เหตุใดเราจึงต้องคิดวิพากษ์
  เราทุกคนจำเป็นจะต้องมีการคิดเชิงวิพากษ์ การคิดเชิงวิพากษ์มีประโยชน์หลายประการ เช่น
-  การคิดวิพากษ์ช่วยสืบค้นความจริง แทน คล้อยตามความเชื่อ  หากเราคิดเชิงวิพากษ์จะทำให้เราไม่เชื่อหรือคล้อยตามความเชื่อแบบเดิม
-  การคิดวิพากษ์ช่วยสังเกต ความแตกต่างท่ามกลางความเหมือน  การคิดเชิงวิพากษ์ทำให้เราสามารถสังเกต และไม่ทำให้เราด่วนสรุปเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้
-  การคิดวิพากษ์ช่วยให้เชื่อในสิ่งที่ถูกต้องไม่ถูกหลอก  การคิดเชิงวิพากษ์จะมีการคิดแบบรอบคอบ จะทำให้ไม่ถูกหลอกได้
-  การคิดเชิงวิพากษ์ช่วยให้ตัดสินตาม ข้อเท็จจริง ไม่ใช่ อารมณ์ความรู้สึก  ทุกวันนี้การตัดสินส่วนใหญ่มักใช้อารมณ์มากกว่าข้อเท็จจริง ดังนั้นการคิดเชิงวิพากษ์สามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้
-  การคิดวิพากษ์ทำให้เกิดการพัฒนา เพราะพิจารณาครบถ้วน ไม่ บกพร่อง
-  การคิดวิพากษ์เป็นจุดเริ่มต้นของความคิดสร้างสรรค์ เพราะ กล้าคิดแนวใหม่ ไม่ปักใจ        ในสิ่งเดิม

เราจะวิพากษ์อะไร
 การที่เราจะวิพาก์อะไรนั้น สิ่งที่เราจะวิพากษ์นั้นจะต้องมีลักษณะ
       1.  เป็นข้อสมมุติที่ยอมรับกันทั่วไป แต่เรามีข้อสงสัย ไม่ปักใจเชื่อและยอมรับ   การเป็นนักคิดเชิงวิพากษ์นั้นจะต้องย้อนไปตั้งต้นตอของสมมุติฐานว่ามีความเหมาะสมหรือไม่ ดีแล้วหรือ เหมาะสมแล้วหรือ นักคิดเชิงวิเคราะห์สามารถหาทางเลือกที่ดีกว่า โดยหาเหตุผลที่ดีกว่าเพื่อการสนับสนุนสิ่งนั้น
       2. เป็นการอ้างเหตุผลที่ต้องตรวจสอบความถูกต้อง  โดยปกติแล้วหากมีข้ออ้างมักมีเหตุผลมาสนับสนุนข้ออ้างนั้นเสมอ เช่น  ถนนเส้นนี้น้ำท่วมเพราะปีนี้พายุเข้ามาหลายลูก เป็นต้น
       3. เป็นคำกล่าวอ้างที่ต้องตรวจสอบความจริง  คำกล่าวอ้างจะต้องไปสู่การตรวจสอบความจริง เพื่อให้ได้ข้อสรุปว่า จริง หรือ เท็จ ประการใด

อย่าพึ่งเชื่อ เผื่อใจไว้ เป็นทนายฝ่ายมาร
        ความสงสัยเป็นก้าวหนึ่งของนักคิดเชิงวิพากษ์ ความสังสัยเป็นศูนย์กลางของนักคิดเชิงวิพากษ์ นักคิดเชิงวิพากษ์จะไม่ปักใจเชื่อในข้ออ้าง และจะตั้งสมมุติฐานในทางตรงข้าม เพื่อนำไปสู่การตรวจสอบสมมุติฐาน ดังนี้
หลักที่ 1 อย่าเพิ่งเชื่อ ให้สงสัยไว้ก่อน การเป็นนักคิดเชิงวิพากษ์เริ่มต้นจากการความสงสัย โดยให้มีความสงสัยไว้ก่อน ไม่ควรเชื่ออะไรง่าย นักแต่งเพลงชาวเอเทนธ์ กล่าวไว้ว่า ความคิดครั้งที่สอง นับเป็นความคิดที่ฉลากที่สุด เพราะฉะนั้นเราไม่ควรเชื่อในครั้งแรก จนกว่าจะได้ไตร่ตรองจนสามารถมองเห็นปัญหาที่แท้จริงได้
หลักที่ 2 เผื่อใจไว้อาจจะจริง หรือไม่จริงก็ได้  นักคิดเชิงวิพากษ์จะต้องเผื่อใจไว้ด้วยว่า บางครั้งอาจจริง หรืออาจไม่จริง  อาจจะใช่หรือ อาจไม่ใช่ อาจจะเป็นหรืออาจไม่ไม่เป็น
หลักที่ 3 เป็นทนายฝ่ายมาร ตั้งคำถามคัดค้าน นักคิดเชิงวิพากษ์ต้องทำตัวเป็นเหมือน ทนายฝ่ายมาร นั่นคือ มีความตั้งใจที่จะเผชิญคัดค้านต่อข้ออ้างที่ได้รับ โดยใช้เทคนิคต่อไปนี้
           - ยืนข้างมาร ตั้งสมมุติฐานในมุมตรงกันข้าม   เช่น หากเรื่องนั้นมีแนวโน้มจริง เราอาจตั้งสมมุติฐานว่าอาจจะไม่จริงก็ได้
           -  ตั้งคำถามสะกิดให้มองมุมตรงข้าม  ลักษณะของคำถามของนักคิดเชิงวิพากษ์คือเป็นคำถามที่ชวนให้คิด เช่น เรื่องนั้นอาจไม่จริงก็ได้  คนนั้นอาจไม่ผิดก็ได้ มีทางเลือกอื่นที่ดีกว่าที่คิดก็เป็นไปได้

การพัฒนาทักษะการคิดเชิงวิพากษ์
 ในแต่ละวันมีข้อมูลมากมาย เช่น ข้อมูลจากโทรทัศน์  หนังสือพิมพ์  รายการวิทยุ การที่เราจะเชื่อเรื่องใดนั้น ก็ควรใช้กระบวนการคิดแบบวิพากษ์ ข้ออ้างทั่วไปในชีวิตประจำวันที่เราควรวิพากษ์
1.ข้ออ้างที่ใช้นั้น กว่า  หรือ ที่สุด โดยไม่มีตัวเปรียบเทียบ ว่าวิพากษ์เทียบกับอะไร  ในสถานการณ์ปัจจุบันมีหลายบริษัทที่ออกโมษณามาว่า ดีกว่า ดีที่สุด หากเราไม่ใช้กระบวนการคิดวิพากษ์ ก็จะทำให้เราหลงเชื่อ เราควรใช้กระบวนการคิดแบบ วิพากษ์ว่าสิ่งนั้นเทียบกับอะไร เป็นต้น
2. การกล่าวอ้างที่สร้างความรู้สึกน่าเชื่อถือ ต้องวิพากษ์ ความจริง หรือ ความรู้สึก  ผู้บริโภคมักถูกหลอกให้หลงเชื่อในการกล่าวอ้างของการโมษณา เช่น มหาวิทยาลัยแห่งนี้หลักสูตรผ่าน สกอ เป็นแห่งแรก เรามาดูว่าหลักสูตรที่ผ่าน สกอ ในมหาวิทยาลัยที่สองไม่แตกต่างจากมหาวิทยาลัยแห่งแรกเลย ดังนั้น เราต้องใช้กระบวนการคิดเชิงวิพากษ์ในการตัดสินใจสิ่งนั้น
3.ข้อสรุปแบบเหมารวมว่า ทั้งหมดเป็นเช่นนั้น อาจไม่ทั้งหมดก็ได้  ข้อสรุปที่ว่าทั้งหมดเป็นเช่นนั้นอย่าพึ่งเชื่อ ควรไตร่ตรองให้ดีก่อนค่อยเชื่อ
4.ข้อออ้างสรุปแบบล้มกระดาน ต้องวิพากษ์ อาจไม่ล้มกระดานก็ได้
5. การอ้างอำนาจที่เหนือกว่า ให้วิพากษ์ด้วยการใช้ เทคนิคสลับที่สลับทาง
6.ข้อวิพากษ์จากสาเหตุเดียว ให้วิพากษ์เทคนิคการมององค์รวม
7. การกล่าวอ้างด้านเดียว ให้วิพากษ์ด้วยเทคนิคเหรียญสองด้าน
8.หากมีแนวโน้มว่าจะเชื่อตามนั้น ให้ฝึกชะลอการตัดสินใจอย่าด่วนสรุป

วินิจฉัยข้ออ้างและข้อสมมุติ
 หากเราต้องการเป็นนักวิพากษ์ที่ดีนั้นจะต้องรู้หลักในการวินิจฉัยข้ออ้างและข้อสมมุติ เพื่อพัฒนาความสามารถในการวินิจฉัย นักคิดเชิงวิพากษ์จะต้องแยกแยะความแตกต่างระหว่าสิ่งต่อไปนี้ ความจริงกับความเชื่อ ข้อเท็จจริงกับข้อคิดเห็น ความคุ้นเคยกับความสมเหตุสมผล

การพัฒนานักคิดเชิงวิพากษ์
 การฝึกและการพัฒนาเป็นนักคิดเชิงวิพากษ์นั้นต้องทำการฝึก 2 ด้านดังนี้ การพัฒนาเพื่อนิสัยการวิพากษ์  เช่น วิพากษ์ความคิดตัวเอง ใจกว้าง รอบคอบไม่ด่วนสรุป เป็นต้น ฝึกตอบสนองเมื่อถูกวิพากษ์ เช่น เมื่อความคิดเห็นเราไม่ได้รับการยอมรับ นักคิดเชิงวิพาก์ต้องตอบสนองอย่างถูกต้อง

อ้างอิง : หนังสือชุดผู้ชนะ 10 คิด  ศาสตราจารย์ ดร. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์

หมายเลขบันทึก: 471922เขียนเมื่อ 21 ธันวาคม 2011 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท