นโยบายสาธารณะ กับการจัดการระบบสุขภาพคนไทย


Health development approaches and National Health Act

สรุปความคิดจากการเรียนรู้ รายวิชา health system management

ผลจากพัฒนาที่ไม่ถูกทิศ เสมือนการสร้างบ้านที่ไม่ตรงแปลนของสังคมไทยที่ผ่านมา ส่งผลไปยังระบบสุขภาพของคนไทย   ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา โรคมะเร็งมีความสำคัญทางด้านสาธารณสุข เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นสาเหตุการตายหนึ่งในสาม รองจากโรคหัวใจและระบบการไหลเวียนของเลือด และอุบัติเหตุ และมีสถิติสูงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี โรคมะเร็งได้กลายเป็นสาเหตุการตายมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย  และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี

การได้มาซึ่งสุขภาวะที่สมบูรณ์ของมนุษย์  ถูกกำหนดด้วยปัจจัยต่างๆ เช่น ปัจจัยภายใน ( Internal Factors)  ได้แก่   ปัจจัยด้านตัวบุคคล ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญคือ มิติทางด้านชีวภาพ มิติทางด้านจิตวิทยา และมิติทางด้านความรู้ ความเชื่อ  ปัจจัยภายนอก (External Factors)  ได้แก่  สภาพภูมิศาสตร์ ภาวะเศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมประเพณีและขนบธรรมเนียมต่างๆ เป็นต้น ปัจจัยดังกล่าวมีผลกระทบต่อสุขภาพบุคคลทั้งทางบวกและทางลบ  และปัจจัยด้านคุณภาพการบริการสุขภาพ ( Quality Health Service Factors)  การส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีของบุคคล จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาแบบองค์รวม โดยบูรณาการการพัฒนาปัจจัยต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์และมีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพ ร่วมกับระบบบริการสาธารณสุข โดยมุ่งเน้นให้คนมีความรู้ในการส่งเสริมสุขภาพ  การป้องกันโรค การดูแลตนเองและครอบครัว ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านจิตใจ คุณภาพการบริการสุขภาพ เป็นการจัดบริการสาธารณสุขในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการของประชาชน ในเรื่องสุขภาพอนามัย เพื่อยกระดับสุขภาพอนามัยของคนในชาติให้อยู่บนรากฐานของการมีสุขภาพอนามัยที่ดี โดยทั้งภาครัฐและเอกชนให้ความร่วมมือกันจัดบริการสุขภาพให้ทั่วถึง   

ความล้มเหลวของการพัฒนาที่ผ่านมา นอกจากจะทำลายสิ่งแวดล้อม ชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชพรรณแล้ว ยังพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของหลายประเทศ ได้สร้างปัญหาให้กับความเป็นอยู่ของมนุษย์ และวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างมหาศาล วิถีการบริโภคที่หลากหลาย ซับซ้อน และนำไปสู่โรคภัยไข้เจ็บนานับประการ ดังจะเห็นได้จาก ปัญหาสาธารณสุขที่เปลี่ยนแปลงไป  นำไปสู่การแก้ปัญหาที่ยากขึ้น เช่น การป่วยด้วยโรคติดเชื้อ ก็พัฒนามาเป็นการป่วยด้วยโรคไร้เชื้อ กลายเป็นสังคมแห่งโรคเรื้อรัง ซึ่งเกิดภาระในการดูแลมากมายตามมา  เกิดการป่วยตายที่ไม่จำเป็น สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นตัวสะท้อนการพัฒนาที่ล้มเหลว และนโยบายสาธารณะที่ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ    การพัฒนาในปัจจุบันจึงจำเป็นที่จะต้องอาศัยการสร้างสุขภาวะ  ไม่ทำลายโอกาส คนรุ่นต่อไปในการใช้ทรัพยากร และเติบโต รวมไปถึงการมุ่งสู่พัฒนาอย่างยั่งยืน จากทิศทางการพัฒนาสุขภาพ : จากการประชุมนานาชาติที่ประเทศแคนาดา ปี 2529 ได้กำหนดกฎบัตรออตตาวา (Ottawa Charter for Health Promotion) ไว้ 5 ข้อดังนี้

1.  การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ (Build Healthy Public Policy) คือ มีนโยบายสาธารณะที่สนใจสุขภาพ  (สุขภาวะ สมดุล )  

ตัวอย่าง  นโยบายสาธารณะ: สมัชชาสุขภาพโลก 2551

1. ปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ การทำงาน การศึกษา ระบบประกันสังคม     - เด็ก สตรี วัยทำงาน ผู้สูงอายุ

2. กระจายทรัพยากรอย่างเป็นธรรม ระบบธรรมาภิบาล

          - รัฐ-เอกชน-ประชาสังคม ทำงานร่วมกัน

          - ระบบภาษีแบบก้าวหน้า

3.  เฝ้าระวังและประเมินผลกระทบจากนโยบายและการกระทำต่างๆ

    - ต่อสุขภาพ

      - ความเป็นธรรม

      - ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ

2. การสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ  Create Supportive Environments สร้างสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ทางสังคม ที่เอื้อหนุน เกื้อกูล ต่อสุขภาวะ  มีทางเลือกให้ประชาชน กายภาพ : สวนสาธารณะ ถนน น้ำ ขยะ

  • สังคม วัฒนธรรม ที่ผักผ่อนหย่อนใจ
  • กฎหมาย/ระเบียบ - ภาษีแบบก้าวหน้า
  • กลไกการมีส่วนร่วม - สมัชชาสุขภาพ

ความสำเร็จที่ผ่านมา (ท้องถิ่น)

  • หมวกกันน็อค
  • ถนนปลอดเหล้า
  • เทศบาลเล็กในเทศบาลใหญ่
  • โฮงมูนมัง
  • สภาเมือง

ความสำเร็จที่ผ่านมา (ประเทศ)

  • กม.ประกันสังคม
  • กม.หลักประกันสุขภาพ (สปสช), สสส.
  • กม.ควบคุมบุหรี่
  • การใช้สิทธิบัตรยาเพื่อสาธารณะโดยรัฐ
  • ถอนคาเฟอีน ออกจากยาแก้ปวด
  • ถุงยางอนามัย 100 %

3. การสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน  (Strengthen Community Actions )  สร้างชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้

4.การพัฒนาทักษะส่วนบุคคล  (Develop Personal Skills) พัฒนาทักษะประชาชนและครอบครัว

5. การปรับระบบบริการสุขภาพ (Reorient Health Services ) ปรับทิศทางการลงทุนด้านสุขภาพ ให้มาเน้น บริการปฐมภูมิ ส่งเสริม ป้องกัน

การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพจากนโยบายสาธารณะ 

ในปัจจุบันได้ถูกขยายความให้ครอบคลุมถึงมิติทั้ง 4 ของสุขภาพ โดยครอบคลุมในเรื่องของ สุขภาพทางกาย สุขภาพทางจิต สุขภาพทางสังคม และสุขภาพทางจิตวิญญาณ ดังนั้นสุขภาพจึงมีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมกายภาพ ทางเศรษฐกิจและสังคมย่อมต้องส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างหลีกเลี่ยงมิได้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นความพยายามที่จะคาดการณ์ไปข้างหน้าถึงผลกระทบของการดำเนินกิจกรรม โครงการ แผน และนโยบายต่างๆ ที่มีต่อสุขภาพของประชากร เพื่อส่งเสริมให้มีการนำปัจจัยทางสุขภาพของมนุษย์เข้าไว้ในกระบวนการตัดสินใจ พร้อมทั้งลดปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวพันกับโรคและภัยคุกคามแก่สุขภาพของมนุษย์ การประเมินผลกระทบทางสุขภาพได้เริ่มพัฒนาขึ้นโดยองค์การอนามัยโลก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ และเพื่อส่งเสริมให้มีการนำมิติทางสุขภาพเข้าสู่กระบวนการตัดสินใจ (เดชรัต สุขกำเนิดโดยกระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพที่ใช้กันอยู่ประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญคือ 1) การกลั่นกรอง  2) กำหนดขอบเขต  3)การวิเคราะห์ผลกระทบ  4) การให้ข้อเสนอแนะทางเลือก และ 5) การติดตามควบคุม ซึ่งลักษณะพิเศษของ HIA  จะมุ่งหาผลกระทบเชิงซ้อนต่อทั้งสถานะสุขภาพและปัจจัยของสุขภาพใช้ข้อมูลหลายแหล่ง  ฟังทุกฝ่าย   ในเวลาจำกัด ทรัพยากรจำกัด และเมื่อทำแล้วควรมีผลต่อการตัดสินใจของทุกฝ่าย

Food inc  ภาพยนตร์ สะท้อนวิถีการผลิต กลไกตลาดที่ไม่มองเห็นชะตาของผู้บริโภค

วิธีการปัจจุบันของการผลิตอาหารดิบเป็นส่วนใหญ่เพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารอย่างรวดเร็วตั้งแต่ปี 1950 การผลิตอาหารโดยรวมมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่เวลานั้นกว่าหลายพันปีก่อน การควบคุมเป็นหลักโดยกำมือของ บริษัท ข้ามชาติเป็นอาหารที่ธุรกิจทั่วโลกของการผลิต โดยเน้นธุรกิจการเกษตรเชิงธุรกิจทำให้เกิดผลกำไรอย่างมหาศาล  ซึ่งในทางกลับผลความต้องการทางธุรกิจนี้ส่งผลกระทบให้กับผู้บริโภคทั่วโลก  โรคภัยไข้เจ็บที่มาจากอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งโรคเรื้อรังต่างๆที่เกิดมาจากการกินด้วย ...ถึงเวลาแล้วที่จะต้องทบทวนสิ่งเหล่านี้ และร่วมไม้ร่วมมือสร้างนโยบายสาธารณะในการขับเคลื่อนสุขภาพดีให้คนในโลก...ถึงเวลาที่จะหลุดจากสิ่งครอบงำเหล่านี้

 

ผู้สอน : ผศ.ดร.นพ.ปัตพงษ์  เกษสมบูรณ์

 

ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 

แหล่งสืบค้นข้อมูล  :  นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ  

พรบ.สุขภาพแห่งชาติ , องค์การอนามัยโลก

หมายเลขบันทึก: 471632เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2011 14:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 00:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท