DAY-CAMP การเข้าค่ายลูกเสือสำรอง สามัญ สามัญรุ่นใหญ่ ที่โรงเรียนวัดกิ่งแก้ว 8-9 ธันวาคม 2554


               โรงเรียนวัดกิ่งแก้วได้มีโอกาสฝึก “ลูกเสือ”

                ให้กับนักเรียนโรงเรียนในระดับต่าง ๆ

                ทำไมต้องลูกสือ และลูกสือมีความเป็นอย่างไร ?

                มีข้อความในเว็บของ “สำนักงานใหญ่ลูกเสือในประเทศไทย” ไว้ว่า

                “ไม่ว่าประเทศใดในโลกที่มีกิจการลูกเสือของตน จะมีการแบ่งประเภทเอาไว้เพื่อการบรรลุวัตถุประสงค์ หลักการ และวิธีการขององค์การลูกเสือโลก ซึ่งบางอย่างอาจถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง ตามลักษณะสังคม วัฒนธรรม ของแต่ละประเทศ แต่โดยภาพรวมแล้วจะแบ่งประเภทลูกเสือตามเกณฑ์อายุ ด้วยการที่คำนึงถึงพัฒนาการทางรางกาย และจิตใจของเด็กเป็นพื้นฐานในการฝึกอบรม เพื่อไม่ให้ฝืนธรรมชาติของเด็ก ซึ่งสามารถทำให้เด็กพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยมากแล้วทั่วโลกจะมีการแบ่งประเภทลูกเสือเป็น 2 แบบใหญ่ คือแบบอังกฤษ ซึ่งถือเอาแบบแผนตามที่ BP เคยปฏิบัติเอาไว้ กับแบบอเมริกา ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนไปเล็กน้อย

                สำหรับการก่อตั้งลูกสือในประเทศไทย การก่อตั้งกิจการลูกเสือในครั้งแรกนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงตั้งกองลูกเสือให้มีในโรงเรียนก่อน และกองลูกเสือกองแรกของสยามประเทศคือ กองลูกเสือโรงเรียนมหาดเล็กหลวง หรือโรงเรียนวชิราวุธ ในปัจจุบันและถูกเรียกว่ากองลูกเสือหลวง หรือกองลูกเสือกรุงเทพที่ 1 และลูกเสือในโรงเรียนนี้ก็ถูกเรียกว่าลกเสือหลวงเช่นกัน ก่อนที่กิจการลูกเสือจะขยายไปสู่โรงเรียนเด็กชายทั่วประเทศในเวลาไม่นาน โดยลูกเสือคนแรก คือ นักเรียนโรงเรียนมหาดเล็กหลวงที่ชื่อ ชัพน์ บุนนาค การเป็นลูกเสือของนาย ชัพน์ บุนนาค เกิดจากการที่ได้แต่งเครื่องแบบลูกเสือ และกล่าวคำปฏิญาณของลูกเสือ ซึ่งเป็นการกล่าวต่อหน้าพระพักตร์ ซึ่งครั้งนั้นมีผู้ที่บันทึกเหตุการณ์เอาไว้ว่า

       ร.6     -  “อ้ายชัพน์ ดอกหรือ เอ็งกล่าวคำสาบานของลูกเสือได้หรอเปล่า” 
      ชัพน์    -  “ข้าพระพุทธเจ้าท่องมาแล้วว่า 
                     1.  ข้าจะมีใจจงรักภักดีต่อพระเจ้าอยู่หัว 
                     2.  ข้าจะประพฤติตนให้สมควรเป็นลูกผู้ชาย 
                     3.  ข้าจะประพฤติตนตามข้อบังคับและแบบแผนของลูกเสือ” 
       ร.6     -  ในหน้าที่ซึ่งข้าได้เป็นผู้ประสิทธิประสาทลูกเสือของชาติขึ้นมา ขาขอให้เจ้าเป็นลูกเสือคนแรก” 

         จากนั้นพระองค์ทรงมีพระราชดำรัสเพียงสั้นๆว่า อ้าย ชัพน์ เอ็งเป็นลูกเสือแล้ว" และแล้วกิจการลูกเสือ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นมาอย่างสมบูรณ์แบบ [ที่มา : http://www.scoutthailand.org]

สำหรับประเทศไทยนั้นยึดถือตามแบบอังกฤษ คือ  
             1. ลูกเสือสำรอง เนตรนารีสำรอง 
             2. ลกเสือสามัญ เนตรนารีสามัญ
             3. ลกเสอสามัญรุ่นใหญ่ เนตรนารีสามัญรุ่นใหญ่
             4. ลูกเสือวิสามัญ  เนตรนารีวิสามัญ

          แต่ที่พิเศษประเทศไทยเป็นประเทศเดียวในโลกที่มี ลูกเสือชาวบ้าน คือการฝึกชาวบ้านให้มีระเบียบวินัย รู้จักป้องกันตัวเอง

          ดังนั้นลูกเสือในประเทศไทย  ที่เกิดขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว   เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2454   (ค.ศ. 1911) ถ้านับจากวันนั้นถึงวันนี้ ก็ ครบ 100 ปี พอดี  พุทธศักราช 2554 (ค.ศ. 2011)  เห็นว่าทางประเทศไทยก็จัดให้มีการเฉลิมฉลองกิจการลูกสือไปแล้ว

          แต่ในส่วนของโรงเรียนวัดกิ่งแก้ว ก็มีการฝึกลูกเสือเหมือนกัน จะเรียกว่าฉลองครบรอบ 100 ปี ก็คงไม่ผิดนะค่ะ

             ในฝึกครั้งนี้เป็นการฝึกลูกเสือในพื้นที่โรงเรียน ที่ไม่พักค้างแรม ฝึกฐานต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายในการฝึกความมีระเบียบวินัย ความสามัคคี ความอดทน การทำงานเป็นกลุ่ม เป็นต้น

              ผลที่ได้รับทั้งวิทยากร ครู นักเรียน เหนื่อย  ไปตาม ๆ กัน แต่ก็สนุก ได้ประสบการณ์และความรู้อย่างครบครัน

             ส่วนใครเป็นใคร ดูได้จากรูปค่ะ

 ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับลูกเสือไทย http://www.scoutthailand.org/index.php?option=com_content&view=article&id=51&Itemid=79

 

 ภาพเพิ่มเติม http://www.facebook.com/media/set/?set=a.309715232394777.80542.100000689082156&type=3&saved

ปิยะดา แพรดำ บันทึกเล่าเรื่อง
ห้องสมุดโรงเรียนวัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ

หมายเลขบันทึก: 471574เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2011 14:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท