ความสัมพันธ์ของความสามารถในการเขียนและการพิมพ์ระหว่างผู้ที่พิมพ์เร็วและช้าในวัยผู้ใหญ่


การสำรวจความสัมพัน์ระหว่างความามารถในการเขียนและการพิมพ์และระหว่างโหมดการเขียนเหล่านี้ภายใต้ความสามารถพื้นฐาน

จากที่ดิฉันได้เข้าไปศึกษาค้นคว้าหาวารสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้มือในการเขียน จึงทำให้ได้บวารสารงานวิจัยฉบับหนึ่ง ซึ่งได้สำรวจผู้ที่มีความสามารถในการเขียนและการพิมพ์ทั้งแบบเร็วและช้าในผู้ใหญ่วัยทำงาน

วิธีการ คือ มีผู้เข้าร่วมทั้หมด 63 คนอายุเฉลี่ยที่ 25 ปีซึ่งเป็นผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์อยู่เป็นประจำ มี 15 คนที่พิมพ์คีย์บอร์ดช้า และ 17 คนที่สามารถพิมพ์ได้อย่างคล่องแคล่ว ผู้เข้าร่วมจะได้รับการประเมินความสามารถในการเขียนแลการพิมพ์ รวมทั้งประเมินการทำงานของมือและนิ้ว ประเมินการประมวลการเคลื่อนไหวของร่างกายและการเคลื่อนไหวของตา

โดยเครื่องมือที่ใช้วัด ได้แก่

แบบสอบถามข้อมูลผู้เข้าร่วม (Participant Questionaire) ซึ่งจะมีข้อคำถามเกี่ยวกับชื่อ เพศ อายุ การศึกษา ประสบการณ์ใช้คอมพิวเตอร์หรือแป้นพิมพ์ และระดับความยากของการเขียนหนังสือ

แบบประเมินการเขียนและการพิมพ์ (Handwriting and Keyboarding Assessment) จะประเมินโดยการเขียนคัดลอกย่อหน้า พิมพ์คัดลอกย่อหน้า เขียนย่อหน้าที่บอกและพิมพ์ย่อหน้าตามที่บอก ในการทดสอบการเขียนจะให้เขียนในบรรทัดโดยใช้ปากกาที่นักวิจัยจัดไว้ให้ และในการทดสอบการพิมพ์จะใช้แป้นพิมพ์ที่มีรูปแบบเป็นมาตรฐาน (QWERTY) โดยให้ที่วางแป้นพิมพ์วางตรงหน้าจอและสูงจากพื้น 74 เซนติเมตร จะมีการคำนวณความเร็วและความแม่นยำในการพิมพ์เป็นนาทีและคำผิด และใช้ Handwriting Assessment for Middle School ในการวัดความแม่นยำ

ประเมินความคล่องแคล่วในการทำงานของมือ (Functional Dexerity test) โดยการวัดความคล่องแคล่วของมือจะใช้การประเมินได้แก่ Finger Keyboarding Tapping Test และ The Purdue Pegboard

แบบประเมินการจับดินสอหรือปากกาในการเขียน (Pediatric Examination of Educational Readiness at Middle Childhood)

และการประเมินพัฒนาการของการเคลื่อนไหวของตา (Developmental Eye Movement)

จากนั้นนักวิจัยจะใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดย SPSS Version 12 (Chicago)

ผลการสำรวจ คือ แม้ว่าความเร็วทั้งการเขียนและการพิมพ์มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง แต่กิจกรรมเหล่านี้ไม่ได้แบ่งปันทักษะความสามารถพื้นฐานของบุคคล นอกจากนี้รูปแบบความสัมพันธ์ที่แตต่างระหว่างการเขียนสื่อสารและทักษะความสามารถซึ่งจะพบในหมู่ผู้ที่มีความสามารถในการพิมพ์ที่ช้าและเร็วได้เหมือนกัน

ดังนั้นจากความคิดรวบยอดของดิฉัน ซึ่งมีความเห็นตรงกับงานวิจัยนี้ คือ ในการเขียนหรือพิมพ์จำเป็นต้องใช้ทักษะต่างๆ เช่น ความคล่องแคล่วของนิ้วมือ ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายและสายตา ความเร็วในการพิมพ์หรือแม้แต่ความแม่นยำทั้งในการเขียนและพิมพ์ ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์กัน หากต้องการเพิ่มความสามารถในการเขียน ก็ควรเพิ่มความสามารถในการพิมพ์ควบคู่ไปด้วย เพราะเป็นการสื่อสารอย่างหนึ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม

Weintraub, N., Grill, N. G., & Weiss, P. L. (T.). (2010). Relationship between handwriting and keyboarding performance among fast and slow adult keyboarders. American Journal of Occupational Therapy, 64,123-132.

หมายเลขบันทึก: 471330เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2011 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อยากให้นักศึกษาต่อยอดความรู้มากกว่านี้ หัวข้อน่าสนใจครับ

มาต่อยอดความรู้แล้วนะคะ ขอบพระคุณที่ติดตามบันทึกคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท