สภาพทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคมในละตินอเมริกาภายหลังการประกาศเอกราช ช่วงศตวรรษที่ 19


เมื่อสงครามเรียกร้องเอกราช ซึ่งเป็นชัยชนะที่สามารถขับไล่ผู้ปกครองชาวยุโรปออกไปจากดินแดนได้สำเร็จนั้น สิ่งนี้จึงก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและแนวความคิดทางการเมือง หลังการปฏิวัติแล้วสงครามไม่พียงแต่จะนำเอกราชมาให้เท่านั้น สงครามยังนำมาซึ่งความยากจน,การสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน,ไม่เพียงเท่านั้น ผลข้างเคียงที่ได้จากสงครามก็คือ การยกเลิกสิ่งที่ไม่เป็นธรรมในสังคม เช่นในเรื่องของการแบ่งแยกเหยียดสีผิว (Separate), การยกเลิกการใช้แรงงานแบบทาส ก็ตาม

ส่วนในด้านการปกครอง นักปฏิวัติทั้งหลายให้คำมั่นสัญญาต่อประชาชนว่า จะปกครองประเทศอย่างดี จะทำให้ประชาชนอยู่ดีกินดี การเมืองจะมีความเข้มแข็ง เศรษฐกิจจะดี สังคมจะไม่มีการกดขี่ แต่ปรากฏว่าหลังการปฏิวัติแล้ว ก็ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้แม้แต่น้อย คำสัญญาที่ให้ไว้ไม่ประสบความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลงยังคงอยู่ในวงแคบๆเท่านั้น และไม่ตรงกับความต้องการของละตินอเมริกา สงครามเปลี่ยนแต่เพียงตัวบุคคล เหมือนกับยาดองที่อยู่ในขวดเหล้า เปลี่ยนแต่เพียงขวดเหล้า คุณภาพเหล้ายังเหมือนเดิม นักปกครองส่วนใหญ่ยังคงที่จะรักษาผลประโยชน์ของตนไว้เช่นเดิม แม้จะมีการโฆษณาชวนเชื่อว่า “จะขจัดความไม่เสมอภาคออกไป” ตรงกันข้าม กลับฉวยโอกาสเข้าแทนที่นักปกครองเดิม ผูกขาดตำแหน่งทางการเมือง

ดังนั้นหลังการประกาศเอกราชในคริสต์ศตวรรษที่ 19 แม้ในประเทศทั้งหลายจะพยายามสร้างความมั่นคงทางด้าน การเมือง เศรษฐกิจ สังคมก็ตามที แต่ทว่าความพยายามก็ไม่บรรลุไปตามเป้าหมาย สาเหตุประการสำคัญคือ การคัดค้านนโยบายปฏิรูปที่ดิน เจ้าของที่ดินรายใหญ่ๆ ยังคงใช้รูปแบบของกระบวนการในการผลิตแบบเดิมๆ เครื่องมือ หรือปัจจัยในการผลิตต่างๆไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงแต่อย่างใด สาเหตุในประการที่ 2  นั่นก็คือว่า การขาดแคลนตลาดการผลิต และความไม่เอาใจใส่ของรัฐบาลต่อปัญหาเศรษฐกิจ ทั้งหลายทั้งมวลนี้มันจึงนำไปสู่ความขัดแย้ง และความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในด้านการเมือง นำไปสู่ความล้มเหลวในการบริหารบ้านเมืองในทุกๆต้านในที่สุด

และจากภาวะดังกล่าว ละตินอเมริกา จึงเป็นยุคแห่งความวุ่นวาย การแก่งแย่งอำนาจของบรรดาเผด็จการ และการปฏิวัติของพวกโคดิโย่(Codillo) ซึ่งเป็นความขัดแย้งแบบไม่จบสิ้น พวกโคดิโย่ก็คือ มีความต้องการที่จะนำการปกครองที่หลากหลาย สับสนวุ่นวาย จะเอาทั้งเสรีนิยม อนุรักษ์นิยม ทั้งกระจายอำนาจ รวมอำนาจ เผด็จการ ฟาสต์ซิส คอมมิวนิสต์ ความวุ่นวายเหล่านี้ เกิดขึ้นจากโคดิโย่ซึ่งเป็นต้นเหตุของความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในละตินอเมริกา

ต่อมาในศตวรรษที่ 20 โดยในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 นั้นละตินอเมริกายังคงมีความวุ่นว่าย การแก่งแย่งอำนาจของบรรดาเผด็จการ แต่อย่างน้อยก็เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงบ้างก็คือ นักปกครองของประเทศทั้งหลายในละตินอเมริกานั้น แม้นจะเป็นเผด็จการแต่ก็เริ่มทำผลงานเพื่อส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว (ทำให้ประชาชน) เพราะประการหนึ่งอาจจะเห็นบทเรียนของหลายๆประเทศในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นจุดจบของอำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จซึ่งมีความรุนแรง ผู้คนล้มตายไปมาก ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องปรับตัว(Compromise) ให้เข้ากับประชาชนให้มากที่สุด

เหตุนี้เองช่วงนี้จึงเป็นช่วงแห่งความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ เศรษฐกิจดีขึ้น เริ่มมีการค้าการลงทุนจากต่างชาติมากยิ่งขึ้น มีความพยายามที่จะนำประเทศเข้าสู่ระบบอุตสาหกรรม จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้เอง ก็ทำให้ประเทศพบกับความสงบสุขในรอบกว่าศตวรรษที่มีแต่เรื่องของสงครามมากมาย นักการเมืองเลิกทะเลาะกัน อีกทั้งยังทำให้เกิดระบบนักการเมืองที่เอาใจชนชั้นรากหญ้า (Grassroots) การเกิดขึ้นของระบอบประชานิยม (Populism) ที่ข้าพเจ้าเขียนไปในเรื่องของประชานิยมในละตินอเมริกาที่ผ่านมา

หนังสือ/เว็บไซต์ที่ประกอบการค้นคว้า

1. http://en.wikipedia.org/wiki/Latin_American_wars_of_independence

2.มาตยา อิงคนารถ. ประวัติศาสตร์ละตินอเมริกาในศตวรรษที่20.พิมพ์ครั้งที่ 4;กรุงเทพมหานคร    : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,2548

ที่มาของภาพ

2. http://en.wikipedia.org/wiki/File:Battle-of-Boyaca.jpg  สมรภูมิโมยาคาแห่งโคลัมเบีย

หมายเลขบันทึก: 471054เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2011 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 15:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท