การวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบบทเรียนโปรแกรม


               การวิเคราะห์ข้อมูลการทดสอบบทเรียนโปรแกรม

                       ในการวิเคราะห์บทเรียนโปรแกรมนั้น  มีข้อมูลมากมายหลายชนิดที่ผู้วิเคราะห์จะต้องนำมาพิจารณาเป็นต้นว่า  ข้อมูลจากการทดสอบก่อนเรียน  ข้อมูลจากการทดสอบหลังเรียน  ข้อมูลที่ได้จากการเรียนกับบทเรียน  ข้อมูลต่างๆ เหล่านี้เป็นประโยชน์ต่อผู้วิเคราะห์ข้อมูลในการนำผลมาใช้เพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้บทเรียนได้เข้าเกณฑ์หรือเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดถ้าตั้งเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 แนวทางที่จะนำข้อมูลมาวิเคราะห์พิจารณาจากเกณฑ์ดังต่อไปนี้

                      ถ้าผู้วิเคราะห์ข้อมูลถือเกณฑ์มาตรฐานว่า 90 ตัวแรก คือ จำนวนนักเรียนที่ทำบทเรียนโปรแกรมได้ถูก 90 เฟรมใน 100 เฟรม ข้อมูลที่ผู้วิเคราะห์จะต้องนำมาพิจารณา คือ ผลที่ผู้เรียนกับบทเรียนโปรแกรมและตัดสินใจตอบ  เลือกคำตอบหรือเขียนคำตอบในครั้งแรกแล้วถูกบันทึกไว้ในการเรียนในแต่ละเฟรม  เมื่อนำมาวิเคราะห์แล้วพบว่าในเฟรมใดที่มีผู้เรียนเลือกตอบหรือเขียนตอบผิด  จะต้องนำเกณฑ์นั้นมาพิจารณาแก้ไขปรับปรุงโดยพิจารณาจากข้อความและสิ่งเร้าว่ามีส่วนใดที่อาจจะทำให้เกิดการเข้าใจผิดปรับปรุงและแก้ไขเฉพาะเฟรมที่เกณฑ์ไม่เข้ามาตรฐานและนำเฟรมดังกล่าวไปทดสอบใหม่โดยวิธีการในแบบเดิม  จนกว่าผลของการวิเคราะห์จะเข้าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 90 คนใน 100 คน  ที่ทำเฟรมนั้นได้ถูกต้อง  เมื่อวิเคราะห์เฟรมในบทเรียนแล้ว  มีอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ผู้วิเคราะห์จะต้องนำมาวิเคราะห์ในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐาน คือ 90 ในตัวที่ 2 ใน 90 ตัวแรกนั้น  เราวิเคราะห์คุณภาพของเฟรมแต่ละเฟรมใน 90 ตัวที่ 2 เราวิเคราะห์คุณภาพผู้เรียน  ฉะนั้นในการวิเคราะห์ผู้เรียนค่อนข้างจะยุ่งยากซับซ้อนเพราะมีองค์ประกอบมากมายหลายชนิดตั้งแต่พื้นฐานลักษณะสังคมหรือสิ่งแวดล้อม  ที่เราจะเลือกและนำมาเป็นผู้เรียนเพื่อใช้ผลและนำมาตั้งเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว

                      ดังนั้นเกณฑ์ 90 ตัวหลังนี้ผู้สร้างบทเรียนโปรแกรมจึงมักจะถือเอานักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มต่ำกว่าเกณฑ์ ในสภาพแวดล้อมที่สร้างบทเรียนนั้นขึ้นมา โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงเกณฑ์เฉลี่ยของตัวแทนของนักเรียนส่วนใหญ่เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาจากแนวทางดังกล่าวผู้สร้างจะต้องนำผลการเรียนของนักเรียนที่เป็นตัวแทนที่ได้คะแนนการเรียนตามที่ถูกบันทึกไว้ต่ำกว่า 90 หรือต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด และจะต้องเป็นจำนวนที่มากกว่าร้อยละ 10  มาพูดคุยปรึกษาเกี่ยวกับเฟรมที่ทำผิดทั้งหมดและดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเฟรมอีกครั้งหนึ่งและนำกลับไปให้เรียนใหม่หรือทำการทดสอบกับกลุ่มใหม่จนกว่าจะได้ตามเกณฑ์  ฉะนั้นในเกณฑ์มาตรฐานของบทเรียนโปรแกรมจึงอาจจะกล่าวได้ว่าเกณฑ์ดังกล่าวนั้นเป็นทั้งเกณฑ์ที่แสดงคุณภาพของบทเรียนโปรแกรมและเกณฑ์ที่แสดงผลสัมฤทธิ์หรือคุณภาพของผู้เรียนหลังจากที่ได้เรียนกับบทเรียนโปรแกรมแล้ว

                      ในอีกกรณีหนึ่งของการตั้งเกณฑ์มาตรฐานที่ผู้วิเคราะห์ถือเอาผลการทดสอบตามแบบประเมินผล  และถือเอาจำนวนผู้ทดสอบเป็นตัวกำหนดเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว  แนวทางในการวิเคราะห์ก็อาจจะดำเนินการได้ดังนี้  ในกรณีที่ตั้งเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 เช่นเดียวกัน

                      90 ตัวแรก หมายถึง จำนวนข้อสอบที่นักเรียนแต่ละคนทำถูก หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งก็คือ เมื่อเรียนจากบทเรียนจบลงนักเรียนแต่ละคนจะต้องทำข้อสอบหรือแบบวัดประเมินผลได้ถูกต้องอย่างน้อย 90 ข้อใน 100 ข้อ  ถ้าหากมีผู้เรียนแม้เพียงคนเดียวทำแบบวัดประเมินผลได้ต่ำกว่าเกณฑ์ดังกล่าว  ผู้สร้างและผู้วิเคราะห์จะต้องนำมาพิจารณาหาข้อมูลเพื่อปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ผู้ทดสอบเพิ่มสัมฤทธิ์ผลจนกระทั่งเข้าสู่เกณฑ์มาตรฐาน  ถึงแม้ว่าผู้สร้างผู้วิเคราะห์จะต้องย้อนกลับไปพิจารณาบทเรียนแบบโปรแกรมอันเป็นจุดเริ่มต้นใหม่อีกก็ตาม

                      90 ตัวที่สอง ของการตั้งเกณฑ์มาตรฐานที่อาศัยแบบวัดและประเมินผลเป็นตัวตั้งเกณฑ์นั้น หมายถึง ข้อทดสอบหรือแบบวัดและประเมินผลแต่ละข้อจะต้องมีผู้ตอบถูกอย่างน้อย 90 คนใน 100 คน  ฉะนั้นจะต้องดำเนินการวิเคราะห์ข้อทดสอบ  ถ้ามีข้อใดที่มีผู้ตอบผิดเกินกว่า 10% จะต้องนำมาแก้ไขปรับปรุง  พิจารณาทั้งตัวบทเรียน กิจกรรมในบทเรียน ข้อทดสอบที่สร้างขึ้นตามวัตถุประสงค์นั้นๆ

                      ฉะนั้นเกณฑ์มาตรฐานในประเด็นที่สองจึงเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่วัดคุณภาพของผู้เรียนว่าสัมฤทธิ์ผลหรือบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่  และในขณะเดียวกันการวิเคราะห์ดังกล่าวก็จะเป็นตัวชี้วัดคุณภาพของแบบวัดและประเมินผล  คุณภาพของบทเรียนแบบโปรแกรม  และคุณภาพของกิจกรรมที่กำหนดให้เป็นสิ่งเร้าและการสนองตอบไปพร้อมกันด้วย

                      สำหรับการวิเคราะห์โดยคิดจากช่วงคะแนน  จากการทดสอบก่อนเรียนและทดสอบหลังเรียน ว่าผู้เรียนโดยเฉลี่ยมีพัฒนาการถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้หรือไม่ ก็ใช้วิธีการวิเคราะห์และการปรับปรุงแก้ไขในแบบเดียวกัน

                      ข้อมูลอีกอย่างหนึ่งที่ผู้สร้างบทเรียนโปรแกรมจะต้องนำมาพิจารณาก็คือ ช่วงของคะแนนหรือพิสัย (Range) ของคะแนนระหว่างคนที่ได้คะแนนต่ำสุดและสูงสุดเป็นเท่าใด ผู้สร้างสามารถสังเกตได้จากคะแนนการทดสอบ นอกจากนี้ผู้สร้างต้องคำนวณหาค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ผู้เรียนทำได้ และค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการเรียนกับบทเรียนโปรแกรมและต้องพิจารณาถึงเวลาที่ผู้เรียนใช้บทเรียนโปรแกรมน้อยที่สุดและมากที่สุดด้วย

                      บทเรียนโปรแกรมที่สร้างขึ้นนั้น  กว่าจะนำมาตั้งเกณฑ์มาตรฐานได้  จะต้องผ่านการทดสอบหลายครั้งหลายหน  และในการทดสอบแต่ละครั้ง  ผู้สร้างและผู้วิเคราะห์จะได้ข้อมูลทางสถิติเพิ่มขึ้น  ฉะนั้นในการทดสอบบทเรียนและการประเมินผลจากการเรียนกับบทเรียนโปรแกรม  จำเป็นจะต้องเก็บข้อมูลที่จะใช้เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์อาจเก็บดังนี้

                      ตัวอย่างแบบฟอร์มการบันทึกแบบประเมินผลการเรียนจากบทเรียนโปรแกรม

                      บทเรียนโปรแกรมเรื่อง………..วันที่….เดือน……………พ.ศ. …….

จำนวนนักเรียนที่เรียนบทเรียนโปรแกรมและทดสอบจำนวน………คน  คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนเรียน…...…คะแนน

                      พิสัยจาก……………………………ถึง……………………………………

คะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียน…………………..คะแนน

                      พิสัยจาก……………………ถึง……………………

เฉลี่ยเวลาในการทำข้อสอบ………… นาที

                      พิสัยจาก………………ถึง………………………

 

การวิเคราะห์ข้อสอบเป็นรายข้อ

 

ข้อที่

จำนวนผู้ตอบถูก

คิดเป็นร้อยละ

จำนวนผู้ตอบผิด

คิดเป็นร้อยละ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่างแบบฟอร์มการบันทึกผลการเรียนและการประกอบกิจกรรมในบทเรียนโปรแกรมเรื่อง………………… วันที่….. เดือน………… พ.ศ. …………

จำนวนนักเรียนที่เรียนกับบทเรียนโปรแกรมจำนวน………. คน เฉลี่ยเวลาในการเรียนกับบทเรียนโปรแกรม………… นาที

                      พิสัยจาก………………………ถึง………………………………

 การวิเคราะห์การเรียนกับบทเรียนโปรแกรมแต่ละเฟรม

 

เฟรมที่

จำนวนผู้ทำถูก

คิดเป็นร้อยละ

จำนวนผู้ทำผิด

คิดเป็นร้อยละ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                       แบบฟอร์มการวิเคราะห์การเรียนกับบทเรียนโปรแกรมจากตัวอย่างข้างบนจะช่วยให้ผู้วิเคราะห์ได้ข้อมูลรายละเอียดของแต่ละเฟรมว่าเฟรมใดมีนักเรียนทำผิดมากน้อยเท่าใด

ตัวอย่างการวิเคราะห์ผู้เรียนและวิเคราะห์การเรียนกับบทเรียนโปรแกรมในแต่ละเฟรม

เฟรมที่

 

นักเรียนคนที่

นักเรียนที่ทำผิดในเฟรมที่

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

16

1

 

 

 

 

 

 

X

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2

X

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

3

 

 

 

 

 

 

 

 

X

 

 

 

 

 

 

 

4

 

 

 

X

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

5

 

 

 

 

X

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                       การวิเคราะห์ตามแบบฟอร์มข้างต้นนี้จะให้ทราบ ทั้งจำนวนร้อยละของผู้ที่ทำผิดในแต่ละเฟรม  และจำนวนร้อยละของเฟรมที่แต่ละคนทำผิด

                      ขั้นการวิเคราะห์บทเรียนโปรแกรมนั้น  ผู้สร้างบทเรียนโปรแกรมวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงบทเรียนหรือปรับปรุงเฟรมต่าง ๆ ในบทเรียนโปรแกรม ซึ่งเราเรียกว่า Frame Analysis และวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการประเมินผลการทดสอบเมื่อเรียนจากบทเรียนโปรแกรมจบแล้ว ซึ่งเรียกว่า Test Analysis และในการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ก็เพื่อตั้งเกณฑ์มาตรฐานและช่วยให้ผู้เรียนกับบทเรียนโปรแกรมบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

เอกสารอ้างอิง

วิเชียร  ชิวพิมาย. บทเรียนแบบโปรแกรม. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544.

 

 

หมายเลขบันทึก: 470994เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2011 19:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 15:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท