อุบัติการณ์สภาพัฒนาการเมือง


การส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดสุโขทัย

กำเนิดสภาพัฒนาการเมือง 

เกิดจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐  ซึ่งให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเป็นอย่างมาก  โดยให้ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาประเทศ  โดยบัญญัติไว้ใน มาตรา ๗๘ (๗)  ให้รัฐต้องจัดให้มีแผนพัฒนาการเมือง รวมทั้งจัดให้มีสภาพัฒนาการเมืองที่มีความเป็นอิสระเพื่อติดตามสอดส่องให้มีการปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

          มาตรา ๘๗ (๔) และ (๕) ให้รัฐต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมืองและจัดให้มีกฎหมายจัดตั้งกองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมืองเพื่อช่วยเหลือการดำเนินกิจกรรมสาธารณะของชุมชน  สนับสนุนการแสดงความคิดเห็นและเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่  รวมทั้งส่งเสริมให้การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และส่งเสริมให้ประชาชนได้ใช้สิทธิเลือกตั้งโดยสุจริต  เที่ยงธรรม

องค์ประกอบของสภาพัฒนาการเมือง

          สภาพัฒนาการเมืองจัดตั้งตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ.๒๕๕๑ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ส่งเสริมการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ และส่งเสริมให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง   สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง  ประกอบด้วย  ๙ ส่วน  ได้แก่

๑) ผู้แทนหัวหน้าพรรคการเมืองที่มี ส.ส.พรรคละ ๑ คน

๒) ผู้แทนหัวหน้าพรรคการเมืองที่ไม่มี ส.ส. เลือกกันเอง ๒ คน

๓) ประธานคณะกรรมาธิการกิจการวุฒิสภา  ๑ คน

๔) ประธานคณะกรรมาธิการสามัญประจำวุฒิสภา  เลือกกันเอง ๑ คน

๕) สมาชิกโดยตำแหน่ง จำนวน ๖ คน  ได้แก่  เลขาธิการ กกต., เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, เลขาธิการ ปปช., เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, เลขาธิการสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  และผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน

๖) ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ด้านการพัฒนาประชาธิปไตย ๓ คน, ด้านความมั่นคง ๑ คน และจากสถาบันอุดมศึกษา ๖ คน

๗) เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้าเป็นสมาชิกและเลขานุการสภาพัฒนาการเมือง

๘) ผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลเลือกกันเอง จังหวัดละ  ๑ คน (รวม ๗๖)        

๗) ผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม  ๑๖ คน

อำนาจ หน้าที่ของสภาพัฒนาการเมือง

          จัดทำแผนพัฒนาการเมืองและติดตามประสานงานให้มีการนำแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  เสริมสร้างวัฒนธรรมอันดีทางการเมือง  วิถีชีวิตประชาธิปไตย  และการมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมืองการปกครอง  รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาให้ประชาชนมีความเข้มแข็งในทางการเมือง

แผนพัฒนาการเมือง

          จัดทำขึ้นโดยกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อให้การพัฒนาการเมืองของไทยสามารถบรรลุสู่เป้าหมายในการปฏิรูปการเมือง การปกครอง และการบริหารตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  ประกอบด้วย ๖ ยุทธศาสตร์  คือ

          ยุทธศาสตร์ ๑  การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม

          ยุทธศาสตร์ ๒  การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมือง

          ยุทธศาสตร์ ๓  เสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของผู้นำและนักการเมือง

          ยุทธศาสตร์ ๔  เสริมสร้างธรรมาภิบาลทางการเมืองและการบริหาร

          ยุทธศาสตร์ ๕  เสริมสร้างความมั่นคง การจัดการความขัดแย้งและการสร้างสังคมสมานฉันท์

          ยุทธศาสตร์ ๖  ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น     และการสร้างความเป็นธรรมในการบริหารทรัพยากร

กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง 

จัดตั้งขึ้นเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มประชาชนที่รวมตัวในลักษณะเครือข่ายให้สามารถแสดงความคิดเห็น และเสนอความต้องการของชุมชนในพื้นที่  โดยกิจกรรมมีลักษณะดังนี้

๑) ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง วัฒนธรรม ประชาธิปไตย สถาบันทางการเมืองและสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้อง

๒) สนับสนุนหรือส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของการเมือง สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบที่พึงมีภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

๓) ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของประชาชน ชุมชน องค์กรภาคประชาสังคมที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น

๔) การศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับข้างต้น

๕) กิจกรรมอื่นที่สภาพัฒนาการเมืองเห็นสมควร

สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง

          เป็นหน่วยงานอิสระในสถาบันพระปกเกล้า  สนับสนุนการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ของสภาพัฒนาการเมือง  รวมทั้งเป็นหน่วยงานธุรการและวิชาการ ภายใต้การดูแลของประธานสภาพัฒนาการเมือง

          ในส่วนของจังหวัดสุโขทัย  สภาองค์กรชุมตำบลได้คัดเลือกให้นายเฉลิมรัตน์  เกษรสกุล เป็นผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลจังหวัดสุโขทัย  มีวาระการดำรงตำแหน่ง ๔ ปี  

          นายเฉลิมรัตน์  เกษรสกุล  ในฐานะสมาชิกสภาพัฒนาการเมืองได้เข้าร่วมประชุม และร่วมดำเนินกิจกรรมกับสภาพัฒนาการเมืองด้วยดีเสมอมา  จนมีผลงานเป็นที่ปรากฏต่อเนื่องกันตามลำดับ  เช่น ร่วมเป็นวิทยากร  ร่วมจัดงาน  เขียนบทความลงสื่อสิ่งพิมพ์อย่างสม่ำเสมอ  ตลอดจนเสนอความคิดเห็นอันมีประโยชน์ในโอกาสต่างๆ  อีกทั้งได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดสุโขทัย

คณะทำงานส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดสุโขทัย    ประกอบด้วย

นายวีระชัย  ภู่เพียงใจ          ปลัดจังหวัดสุโขทัย          ที่ปรึกษาคณะทำงาน

นายสมเกียรติ  ตั้งสยามวณิชย์   บก.นสพ.เสียงชนบท    ที่ปรึกษาคณะทำงาน

๑.นายไพศาล ช.  ศิริสนธิ   อดีต พช.จ.กำแพงเพชร,วิทยากร กกต.   ประธาน

๒.เฉลิมรัตน์  เกษรสกุล สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง จ.สุโขทัย    คณะทำงาน

๓.นายบรรจง  ปานเขียว   สนง.ท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย              คณะทำงาน

๔. มาโนช  เตชะวรงค์  ประธานองค์กรเครือข่ายสื่อฯ จ.สุโขทัย   คณะทำงาน

๕. นายพิชัย  กัลยานาม   นสพ.เอเป็กนิวส์                            คณะทำงาน

๖. นายมังกร  จีนด้วง  ผอ.สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย   คณะทำงาน

๗. นายสมศักดิ์  คำทองคง  ประธานสภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด    คณะทำงาน

๘. นายสุชาติ  อยู่กล่ำ  รองประธานสภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด     คณะทำงาน

๙. นายสนอง  อินทิม   ที่ปรึกษาสภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด         คณะทำงาน

๑๐. นายวิทยา  เกษรพรหม        ปลัด อบต.เมืองบางขลัง               คณะทำงาน

๑๑. นางสาววารี  ทับทองหลาง    สนง.พัฒนาชุมชนจ.สุโขทัย         ฝ่ายวิชาการ

ปฐมบทการส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดสุโขทัย

          คณะทำงานได้ประชุมร่วมกัน และมีมติดำเนินกิจกรรมหลายประการ  ขอยกตัวอย่างกิจกรรมมานำเสนอ พอสังเขป  ดังนี้

          ๑) จัดอบรมอาสาสมัครผู้สื่อข่าวเพื่อสร้างสำนึกความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยร่วมกัน  ปฏิบัติงานเกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้ง และประสานผู้นำองค์กรชุมชน ภาคีเครือข่ายร่วมพัฒนาประชาธิปไตยอันมีพระมากษัตริย์เป็นประมุข  เมื่อวันที่ ๑๕-๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ ณ โรงแรมสุโขทัยออร์คิด 

          ๒) รวบรวมและจัดเก็บระบบข้อมูลเครือข่ายของสภาพัฒนาการเมือง

          ๓) รณรงค์  ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้งผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ ป้ายประชาสัมพันธ์ วิทยุกระจายเสียง

          ๔) จัดทำโพลสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการเลือกตั้งของจังหวัดสุโขทัย  กรณีศึกษาเขตเลือกตั้งที่ ๑ และ ๒  เพื่อนำมาวิเคราะห์แล้วดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

          ๕) จัดโครงการติดตามสอดส่องการใช้สิทธิเลือกตั้งของประชาชน และการหาเสียงของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัยทางสถานีวิทยุ  สื่อสิ่งพิมพ์

          ๖) การจัดรายการวิทยุ รายการ “หน้าที่ของชาวสุโขทัย”  ซึ่งเป็นรายการวิเคราะห์    เกาะติดสถานการณ์การเลือกตั้งของจังหวัดสุโขทัย  มีอาสาสมัครผู้สื่อข่าว จำนวน ๑๙ คน ทำหน้าที่รายงานและเล่าข่าวครอบคลุมพื้นที่เขตการเลือกตั้งจังหวัดสุโขทัยทั้ง ๔ เขต  โดยเชื่อมสัญญาณคลื่นความถี่อย่างทั่วถึง

           ๗) จัดทำหลักสูตร “เสริมสร้างการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดสุโขทัย”   โดยเน้นวิชาการและการมีส่วนร่วมของภาคพลเมือง  หลักสูตรประกอบด้วย 

วิชาที่ ๑  ที่มาของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข  เวลา ๑ ช.ม.

วิชาที่ ๒  พื้นฐานความรู้รัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๕๐  สิทธิ อำนาจ หน้าที่ของชุมชน  เวลา ๑ ช.ม.

วิชาที่ ๓  การมีส่วนร่วมของประชาชน   เวลา  ๑ ช.ม.

วิชาที่ ๔  บทบาทของ อบต.กับการพัฒนาชุมชนและความร่วมมือกับสภาพัฒนาการเมือง  เวลา ๑ ช.ม.

วิชาที่ ๕  การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ   เวลา ๑ ช.ม.

วิชาที่ ๖  การสำรวจทุนท้องถิ่น    เวลา  ๑ ช.ม.

วิชาที่ ๗  ลงพื้นที่สืบค้นทุนท้องถิ่น สถานการณ์ชุมชน  แสวงหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา 

          วิชาที่ ๘  การร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา  หาแนวทางแก้ไข  การสรุป  และนำเสนอ 

หลักสูตรเสริมสร้างการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดสุโขทัย

คณะทำงานส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองจังหวัดสุโขทัย  ได้ประชุมร่วมกันและมีมติเห็นชอบเลือกตำบลเมืองบางขลังเป็นตำบลนำร่องของจังหวัดสุโขทัยในการจัดอบรมหลักสูตร “เสริมสร้างการเมืองภาคพลเมือง จังหวัดสุโขทัย”  ระหว่างวันที่ ๑๑-๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย  โดยมีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน ๕๐ คน  แยกเป็น

     ๑. ในเขตพื้นที่ตำบลเมืองบางขลัง จำนวน ๔๐ คน แยกเป็น

          -  ฝ่ายปกครองท้องที่                 จำนวน ๖ คน

          -  ฝ่ายปกครองส่วนท้องถิ่น          จำนวน ๘ คน

          -  แกนนำภาคประชาชน              จำนวน ๒๖ คน

๒.นอกเขตพื้นที่ตำบลเมืองบางขลัง จำนวน ๑๐ คน แยกเป็น

          -  แกนนำภาคประชาชนตำบลทับผึ้ง        จำนวน ๕ คน

         -   สื่อมวลชน                             จำนวน ๕ คน

          โดยกำหนดการอบรมหลักสูตร “เสริมสร้างการเมืองภาคพลเมือง จังหวัดสุโขทัย” ดังนี้

                                 วันที่ ๑๑ กรกฎาคม  ๒๕๕๔

๐๘.๐๐ - ๐๙.๐๐  น.     ผู้เข้าอบรมลงทะเบียนรายงานตัว พิธีกรดำเนินรายการ นายมาโนช  เตชะวรงค์

๐๙.๐๐ - ๐๙.๓๐  น.      นายสุวิทย์  ทองสงค์  นายก อบต.เมืองบางขลัง กล่าวต้อนรับ

๐๙.๓๐ - ๑๐.๐๐  น.      พิธีเปิด (นายไพศาล  ศิริสนธิ ประธานกล่าวเปิดงานการอบรมหลักสูตร)

๑๐.๐๐ - ๑๐.๑๕  น.      พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๑๕ - ๑๑.๐๐  น.      ที่มาการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   (วิทยากรโดยนายไพศาล ช.  ศิริสนธิ)

๑๑.๐๐ - ๑๒.๐๐  น.       พื้นฐานความรู้รัฐธรรมนูญ ๒๕๕๐  สิทธิอำนาจ หน้าที่ของชุมชน (นายเฉลิมรัตน์  เกษรสกุล)

๑๒.๐๐ - ๑๓.๐๐  น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐  น.       การมีส่วนร่วมของประชาชน ( ผศ.ดร.มนตรี  กรรพุมมาลย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)                                                                                      

๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕  น.      พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔.๔๕ – ๑๕.๓๐  น.      การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (นายกมลธรรม  วาสบุญมา  ผอ.สำนักส่งเสริมมาตรฐานจริยธรรม  สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน)              

                               วันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๕๕๔

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐  น.      ผู้เข้าอบรมลงทะเบียน พิธีกรดำเนินรายการ นายมาโนช  เตชะวรงค์

๐๙.๓๐ – ๑๐.๐๐  น.      วิเคราะห์ SWOT ตำบลเมืองบางขลัง

๑๐.๐๐ – ๑๐.๑๕  น.      พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๑๕ – ๑๒.๐๐  น.      ชี้แจงการแบ่งกลุ่ม เพื่อศึกษาข้อมูลในพื้นที่ เป็น ๔ กลุ่ม โดยลงพื้นที่ปฏิบัติการ ๔ พื้นที่

                              เพื่อสืบค้น ทุนชุมชน/สถานการณ์ชุมชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเมืองบางขลัง                

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐  น.      พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐  น.     การมีส่วนร่วมของกลุ่ม ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา สรุปทุนชุมชน/สถานการณ์ชุมชนและวิธีแก้ปัญหาอย่างมีส่วนร่วม (วิทยากร  กระบวนการ อ.วารี  ทับทองหลาง และ วิทยากรพี่เลี้ยงทั้ง ๔ กลุ่ม  สรุปเนื้อหา ส่งเป็นเอกสาร )

๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕  น.      พักรับประทานอาหารว่าง

๑๔.๔๕ – ๑๕.๓๐  น.     ตัวแทนกลุ่มนำเสนอต่อที่ประชุม และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

                                  วันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔

๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐  น.     ผู้เข้าอบรมลงทะเบียน พิธีกรดำเนินรายการ นายมาโนช  เตชะวรงค์

๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐  น.     บทบาทของ อบต. กับการพัฒนาชุมชน และความร่วมมือกับสภาพัฒนาการเมือง (นายบรรจง  ปานเขียว สนง.ท้องถิ่นจังหวัดสุโขทัย)

๑๐.๐๐ – ๑๐.๔๕  น.    จัดทำแผนจากข้อมูลที่ได้มาเสนอเป็น นโยบาย และหลักสูตรของแต่ละกลุ่ม

                               พักรับประทานอาหารว่าง

๑๐.๔๕ – ๑๒.๐๐  น.     เปิดเวที แลกเปลี่ยนรวมแผน เป็นหนึ่ง เพื่อให้ได้แผนที่สมบูรณ์     

                                - นำแผนที่ได้ เป็นข้อมูลด้านวิชาการในการประชุมสมัชชาจังหวัดสุโขทัย

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐  น.     พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐  น.    สรุปประเมินผลเวทีแลกเปลี่ยนให้ได้ผลที่สมบูรณ์  เพื่อเสนอ อปท. นำไปบรรจุแผนในปีงบประมาณต่อไป

๑๔.๓๐  น.                  ประธานกล่าวปิดการอบรม และถ่ายรูปร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 470827เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2011 15:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2013 08:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท