การดูแลบาดแผล


ที่มา: คู่มือประชาชนสำหรับป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม โดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
http://www.ddc.moph.go.th/emg/flood/showimgpic.php?id=365

การดูแลบาดแผล

บาดแผลที่ดูแลไม่ดี อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น แผลติดเชื้อจากแบคทีเรีย เกิดหนอง เป็นแผลเรื้อรัง เกิดการเน่าของเนื้อเยื่อ จนบางครั้งอาจทำให้ต้องตัดอวัยวะส่วนนั้นทิ้งไป หรือเสียชีวิตได้

การปฏิบัติเมื่อเกิดบาดแผล

  1. แผลข่วน แผลถลอก หรือแผลแยกของผิวหนังที่ไม่ลึก จะมีเลือดออกเล็กน้อยและหยุดเองได้ แผลพวกนี้ไม่ค่อยมีอันตราย ให้ทำความสะอาดบาดแผล โดยใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน และปิดปากแผล แผลก็จะหายเอง
  2. แผลฉีกขาด เป็นแผลที่เกิดจากแรงกระแทก หากเป็นวัสดุที่ไม่มีคม แผลมักฉีกขาดขอบกระรุ่งกระริ่ง แผลชนิดนี้เนื้อเยื่อถูกทำลายและมีโอกาสติดเชื้อมาก ควรทำความสะอาดบาดแผลให้สะอาด ถ้าบาดแผลลึกมากควรนำส่งโรงพยาบาล เพราะผู้ป่วยอาจได้รับอันตรายจากการติดเชื้อโรคได้
  3. การทำความสะอาดบาดแผล
    • ล้างบาดแผลด้วยน้ำสะอาด ซับให้แห้งด้วยผ้าสะอาด
    • ใช้สำลีสะอาดชุบน้ำยาแอลกอฮอล์เช็ดรอบๆ แผล ไม่ต้องเช็ดลงบนแผล
    • ใส่ยาฆ่าเชื้อโรค เช่น เบตาดีน ลงบนแผล เพื่อไม่ให้เกิดการติดเชื้อ
    • ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ หรือผ้าพันแผล ไม่ใช้สำลีปิดแผล พราะเมื่อแผลแห้งแล้วจะติดกับสำลี ทำให้ดึงออกยาก เกิดความเจ็บปวด ละทำให้เลือดออกไหลได้อีก
    • ทำความสะอาดแผลเป็นประจำทุกวัน
    • หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลสกปรก หรือเปียกน้ำ
    • สังเกตอาการอักเสบของบาดแผล เช่น บวม แดง ร้อน สีผิวของบาดแผลเปลี่ยนไป มีหนอง ควรรีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อรักษาต่อไป
หมายเลขบันทึก: 470690เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2011 14:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 เมษายน 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท