สวมรองเท้าบู๊ทป้องกันบาดแผลขณะลุยน้ำ


ที่มา: คู่มือประชาชนสำหรับป้องกันโรคที่มากับน้ำท่วม โดยสำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
http://www.ddc.moph.go.th/emg/flood/showimgpic.php?id=365
การป้องกันอุบัติเหตุและการดูแลบาดแผล
อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในช่วงน้ำท่วม เช่น ไฟดูด พลัดตกน้ำ จมน้ำ รวมถึงบาดแผลจากของมีคม เศษแก้วบาด แผลถลอก แผลถูกตำ แผลฟกช้ำต่างๆ เป็นต้น ซึ่งอาจติดเชื้อโรคแทรกซ้อนและเป็นสาเหตุใ้ห้เสียชีวิตได้
การป้องกัน
  • ตัดไฟฟ้าในบ้านโดยสับคัทเอาต์ของบ้านเพื่อตัดไฟ ป้องกันไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าดูด
  • ถอดปลั๊กอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน
  • เก็บกวาดขยะ วัตถุที่แหลมคม ตะปู ในบริเวณพื้นบ้านและทางเดินอย่างสม่ำเสมอ
  • ระมัดระวังและดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด อย่าให้เล่นน้ำเพราะอาจพลัดตกจมน้ำได้
  • สวมรองเท้าขณะเดินในน้ำเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากของมีคม 
ใส่รองเท้าบู๊ท ช่วยป้องกันอุบัติเหตุและโรคได้
เมื่อเกิดน้ำท่วม อาจเกิดอุบัติเหตุจากการเดินไปชนหรือเหยียบของมีคมต่างๆ ทำให้เกิดบาดแผล และก่อให้เกิดโรคตามมา เช่น แผลติดเชื้อ น้ำกัดเท้า เป็นต้น ดังนั้น ถ้าจำเป็นต้องเดินย่ำน้ำ ควรใส่รองเท้าบู๊ทกันน้ำ ไม่ควรใส่รองเท้าที่อบทั้งวัน และไม่ใส่รองเท้าที่เปียกชื้น หากน้ำล้นเข้าไปในรองเท้าบู๊ท ให้ถอดแล้วเทน้ำในรองเท้าออกเป็นคราวๆ ไม่ควรแช่น้ำอยู่ตลอดเวลา หลังการเดินย่ำน้ำทุกครั้ง ต้องล้างเท้าให้สะอาด ฟอกสบู่ให้ทั่ว และใช้ผ้าสะอาดเช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะตามซอกนิ้วเท้า หากมีบาดแผล ให้ใช้แอลกอฮอล์เช็ดรอบบาดแผล แล้วใส่ยาฆ่าเชื้อ เช่น เบตาดีน เป็นต้น
หากหารองเท้าบู๊ทไม่ได้ ให้ใช้ถุงพลาสติกดำมาประยุกต์ใช้ทำรองเท้ากันน้ำชั่วคราว ดังนี้
 

 

หมายเลขบันทึก: 470689เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2011 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 04:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท