การแก้ไขบทเรียนโปรแกรม


 

                      การแก้ไขบทเรียนโปรแกรม

                      บทเรียนโปรแกรมที่เขียนขึ้นนั้นมักจะทิ้งไว้ระยะหนึ่ง  จึงนำมาตรวจทบทวนใหม่เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นที่ทิ้งไว้ระยะหนึ่งก็เพื่อที่จะลดความเครียดสำหรับผู้เขียน  การแก้ไขบทเรียนโปรแกรมแก้ไขตามลำดับความสำคัญ ดังนี้

                      1.  แก้ไขเพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชา (Technical Accuracy)  ขั้นการแก้ไขเพื่อให้ถูกต้องตามหลักวิชานี้ เราจะต้องทำเป็นอันดับแรก  เพราะถ้าเนื้อหาที่เขียนในเรื่องนั้นผิดหรือไม่ถูกต้องตามหลักวิชาแล้ว  การจะไปแก้ไขสิ่งอื่นก็เปล่าประโยชน์  การแก้ไขเพื่อความถูกต้องตามหลักวิชานั้น  นอกจากผู้เขียนจะแก้ไขเองแล้ว  อาจจะมีผู้เชี่ยวชาญทางเนื้อหาวิชา 2-3 คน ช่วยตรวจสอบด้วยก็ได้เพื่อตรวจสอบว่า เนื้อหาวิชาถูกต้องหรือไม่  ถึงแม้ว่าผู้เขียนบทเรียนโปรแกรมจะได้ชื่อว่ามีความรู้ทางด้านเนื้อหาวิชาที่เขียนดีเพียงใดก็ตาม  การทำงานเพียงคนเดียวย่อมจะมีข้อผิดพลาดได้  ฉะนั้นจึงต้องมีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะสาขาวิชาช่วยตรวจด้วย

                      2.  แก้ไขเทคนิคการเขียน (Programming Technique) ในการแก้ไขเทคนิคการเขียนบทเรียนโปรแกรม  มีข้อพิจารณา ดังนี้

                                2.1  แก้ไขบทเรียน  ผู้เขียนและผู้ตรวจจะต้องพิจารณาว่าบทเรียนโปรแกรมที่สร้างขึ้นนั้นมีความต่อเนื่องกันหรือไม่  ตัวอย่างที่นำมายกหรือนำมาอ้างนั้นเหมาะที่จะทำให้เกิดแนวความคิดที่ถูกต้องต่อผู้เรียนหรือไม่  สิ่งที่อ้างในตัวอย่างเป็นสิ่งที่ผู้เรียนเคยรู้จักหรือไม่  ขณะที่ผู้เรียนติดตามเนื้อเรื่องในบทเรียนเขาสามารถคิดตามแนวเหตุและผลไปได้เรื่อยๆหรือไม่  บทเรียนดำเนินเข้าสู่การสรุปด้วยความแน่นอนหรือไม่

                                2.1  แก้ไขการเขียน  ในการพิจารณาแก้ไขด้านการเขียนนั้น  เราต้องดูว่าผู้เขียนปฏิบัติตามกฎการเขียนตลอดบทเรียนหรือไม่  มีเฟรมตั้งต้น  เฟรมฝึกหัด  เฟรมรองสุดท้ายและเฟรมสุดท้ายหรือไม่  การเรียงลำดับของเฟรมเป็นไปตามลำดับก่อนหลังหรือไม่  ถ้ามีการใช้สื่อในบทเรียนสื่อนั้นเหมาะสมและสัมพันธ์กับเนื้อเรื่องหรือไม่  เนื้อหาภายในกรอบกับความคิดรวบยอดที่ผู้เขียนพยายามสร้างให้กับผู้เรียนสัมพันธ์กันหรือไม่

                      3.  แก้ไขความเรียง (Composition Technique)  การแก้ไขความเรียงเป็นการแก้ไขทางด้านความถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ภาษา การสะกด การันต์และประสิทธิภาพในการสื่อความหมาย  ตลอดจนเครื่องหมายวรรคตอน  เพราะถ้าหากบทเรียนมีความเรียงที่ผิดอาจสร้างความคิดรวบยอดที่ผิดให้กับผู้เรียนได้

 

เอกสารอ้างอิง

วิเชียร  ชิวพิมาย. บทเรียนแบบโปรแกรม. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2544.

 

 

คำสำคัญ (Tags): #บทเรียนโปรแกรม
หมายเลขบันทึก: 470531เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2011 03:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 19:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท