listening, คำคุ้นชินและเทคนิคง่าย ๆ ในการเอาตัวรอดในลอนดอน


EMA=อีม้า dPAS=ดีพาส โธ่ นึกว่าอะไร

เมื่อแรกที่จะมาฝึกอบรม ทำงานหรือเรียน ณ แดนไกล เมืองที่ผู้คนสำเนียงหลากหลายอย่างลอนดอนนี้ คิดว่าปัญหาใหญ่ของตนก็คนจะเป็นเรื่องการพูด การสื่อสารและฟังภาษาที่เราไม่ได้เชี่ยวชาญนัก กังวล เกร็งและกลัวอยู่แล้วว่าคงยาก

 

 

ปรากฎว่า ทั้งการพูดสื่อสารและการฟัง

การฟังเป็นสิ่งที่ ยากเกินความคาดหมายเอาไว้มาก

 เนื่องเพราะมีเวลาเตรียมตัวก่อนมาไม่มาก ก่อนมาคิดว่า ตายดาบหน้า

ตอนนี้เป็นปัญหาสำคัญลำดับที่หนึ่ง สร้างความกังวล เกร็ง กลัว บวก เครียด

จนรู้สึกอึดอัดจะตายมันดาบนี้กระมัง

พยายามตั้งใจฟังจนเกร็ง พยายามดูหน้าดูตาคาดเดาเอาจากภาษากายของผู้พูดด้วย ก็ยังตกหล่น

คนพูด(อาจารย์แพทย์เป็นส่วนใหญ่) เห็นคนฟังเกร็ง

(ดูเหมือน)ผู้พูดจึงพลอยพูดด้วยอาการเกร็งไปด้วย

เกิดภาวะ เครียด ให้รู้สึกได้ทั้งสองฝ่าย

สุดท้ายเราเองก็เป็นฝ่าย งง จนได้ทุกที

ลักษณะงานเป็นงานดูสไลด์เป็นส่วนใหญ่ เมื่อดูเสร็จรอบที่หนึ่ง จะมีการสั่งย้อมสีพิเศษอีกเป็นจำนวนมาก เพราะโรงพยาบาลนี้ที่เรามาเรียน เป็นจุดสุดท้ายที่จะให้การวินิจฉัยที่แน่นอน

การสั่งย้อมสีพิเศษ หรือ เอ็นไซม์ หรือปฎิบัติการเพิ่ม ใช้ทั้งตัวย่อ และศัพท์เทคนิค และอีกแล้ว อาจารย์ขอ request กันด้วยคำพูดที่เร็วเป็นจรวด

นอกจากนี้ ส่วนที่ไม่น้อยไปกว่าการดูสไลด์ และการขอย้อมเพิ่ม คือ การออกจดหมายถึงคนไข้ ญาติคนไข้ หรือ ถึงอาจารย์แพทย์โรงพยาบาลเดียวกัน คนละโรงพยาบาล เมื่อมีเคสคนไข้ ที่ส่งสไลด์มาที่นี่เนื่องเพราะเป็นศูนย์การแพทย์โรคที่เฉพาะทางลงไป อาจารย์ทางนี้ต้องการประวัติเพิ่ม ประวัติครอบครัว และจดหมายนัดหมายผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ มาประชุมและวิเคราะห์โรคร่วมกัน

ทำไงดี

นึกไปนึกมา เทคนิคเดิมที่ใช้กับเพื่อน ๆ ที่ญี่ปุ่นสมัยดูงานครั้งแรก คือฟังโดยคิดซะว่า ฟังแบบธรรมชาติ ไม่ต้องได้ยินหรือฟังทันทุกคำ ทำให้ตัวเราลดการเกร็ง จิตใสขึ้น ฟังพอรู้เรื่องขึ้นมาหลายสิบเปอร์เซ็นต์ (น่าจะสักสามสิบเปอร์เซ็นต์เพิ่มจากสองอาทิตย์แรกที่มาถึง)

ยกเว้นว่าถ้าเร็วปรื๋อและจับไม่ได้เลยสักคำ  

"Excute me please, I cannot catch the words. Please speak again, thank you." 

ร่วมด้วยเทคนิคเดิม ๆ ของเรา(ประสบการณ์ส่วนตัว) พกกระดาษโน้ตเล็ก ๆ เขียนคำที่เรา ฟังไม่ทันถามซ้ำอีกครั้ง หรือถ้าเป็นงานชิ้น ๆ ก็มีเขียนอักษรย่อ วาดสัญญลักษณ์บ้าง ขีดเส้นโยงแบบ mind map ย่อ ๆ ผสมกับวาดรูปเซลล์ หรือ สิ่งของ อะไรก็แล้วแต่ที่ติดขัดฟังไม่ทัน ไม่เข้าใจ ณ เวลานั้นกำกับ ส่งให้อาจารย์เราดูทวนอีกที ว่าครบถ้วนหรือเปล่า ซึ่งมักไม่ครบ

พยายามหายใจลึก ๆ ทำความสงบ สมาธิขั้นต้น ลดการเกร็งกล้ามเนื้อแห่งความเครียดทั้งหลาย ไหล่ คอ หน้า ตั้งสติและลดความตื่นตระหนกไว้ด้วยค่ะ ปัญหาใหญ่เชียวนะคะ

ประเมินดูจากการถามซ้ำลดลง ความสับสนลดลง

จึงสรุปได้ว่า โอเค ดีขึ้น(สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์ที่สามครึ่งแล้วค่ะ)

อย่างไรก็ตาม คงต้องฝึกอีกมาก ๆ

เทคนิคที่เพื่อนรักคนหนึ่งบอกมา คือ ฟังวิทยุข่าวของเค้า อย่าดูแต่ทีวี เพราะวิทยุจะพูดเร็วและไม่มีภาพให้เดา

โอ จะไหวหรือ

 

ก่อนจบบันทึก มีขำ ๆ ค่ะ เมื่อวานนี้เอง ได้ยินอาจารย์พูดถึงสีย้อม อะไรนะ อีม้า และ ดีพาส ไม่เคยได้ยินเลย เดาไม่ออก

ปฏิกริยาอัตโนมัติ รีบเหลือบตาลงไปดูที่ใบย้อม โธ่ นึกว่าอะไร EMA และ dPAS

บ้านเราที่ไทยเรียกกันว่า อีเอ็มเอ และ พีเอเอส-ดี

 

ขำคนเดียวจนอดยิ้มกว้าง ๆ ไม่ได้ จนเพื่อนรุ่น ๆ เดียวกันถาม จึงบอกไป ได้เฮกันค่ะ 

EMA=อีม้า dPAS=ดีพาส โธ่เอ๋ย

 


หมายเลขบันทึก: 469481เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2011 05:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2014 22:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ภาษาเมื่อใช้ในการทำงาน ยากกว่าการใช้ทั่วไปอีกระดับคะ

เพราะต้องการความเข้าใจตรงกันอย่างแม่นยำ

พี่หมอเล็ก ใช้เทคนิคได้ฉลาดมากๆ คะ ทำให้ไม่พลาดและคนพูดรับรู้ความตั้งใจของเราด้วย

พี่หมออยู่เมืองผู้ดีแล้วนะคะตอนนี้ ส่งกำลังใจค่ะพี่หมอ

ตอนนี้ปูก็ต้อง pardon, again please บ่อยมากๆ จนหงุดหงิดตัวเองบ่อยๆ ค่ะ

ขอบคุณบันทึกนี้ กับเทคนิคดีๆ ค่ะ

ขอแสดงความยินดีด้วยครับ

เมื่อวานลูกสาวมาบอกว่าเดี๋ยวนี้ไม่ใช้ตู้ ATM แล้ว มาใช้ตู้ AMY แทน เบิกเงินได้สบายกว่า ไม่ต้องฝากด้วย ถอนได้ไม่จำกัด พ่อถามว่ามันเป็นตู้อะไร 

ลูกสาวตอบว่า ก็ตู้ของภรรยาพ่อนั่นไง ภรรยาพ่อมีชื่อเล่นว่า AMY(เอมี่) มิใช่หรือ

ฝากเมี่ยงคำมาให้ทาน  ลูกสาวชอบมาก นานๆทีจึงจะได้มีโอกาสได้รับประทานเสียที

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท