หมออนามัย รู้เรื่อง นม


นมเป็นส่วนสำคัญของอาหารเพื่อสุขภาพ

หมออนามัย รู้เรื่อง นม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

นายอานนท์ ภาคมาลี นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการ

 

รู้เรื่อง นม ดื่มนม มีคุณ หรือ ดื่มนม มีโทษ

          นมเป็นอาหารที่เกือบสมบูรณ์แบบ หรือเป็นตัวการร้าย เรามาตรวจสอบ คำกล่าวอ้างเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นม ที่ได้ยินกันบ่อยๆ ดื่มนมมีคุณ หรือดื่มนมมีโทษกันแน่ จึงเป็นประเด็น ที่ผู้บริโภค ยังกังขา และต้องการ ข้อมูลข่าวสาร เพื่อใช้พิจารณา ก่อนตัดสินใจดื่มนม

คำกล่าวอ้าง “นมเป็นส่วนสำคัญของอาหารเพื่อสุขภาพ”

….เราอยากให้คนไทย เติบโต เต็มศักยภาพ คือมีโครงสร้างร่างกาย ที่แข็งแรง และสูงใหญ่ ร่างกายต้องการแคลเซียม และแร่ธาตุ ไปสร้างกระดูก ผมก็เหมือนกับคนอื่นๆที่ร่วมส่งเสริมให้คนไทย กินเนื้อ นม ไข่ แต่ทุกวันนี้ ปัญหาสุขภาพคนไทย เปลี่ยนไป คนไทยตายด้วยโรค หัวใจ – หลอดเลือด เป็นอันดับแรกของประชากร เป็นโรคอ้วน มีไขมันในเลือดสูง โรคเหล่านี้สาเหตุจาก การกินล้นเกิน และกินผิดส่วน แม้แต่ปัญหาสุขภาพของเด็ก ดื่มนม กิน ฟาสต์ฟู้ด

       ประเด็นแรกที่คนไทย ไม่ควรดื่มนม คือ นมเพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคอ้วน ไขมันเลือดสูง โรคหัวใจหลอดเลือด นมวัวมาจากสัตว์ จึงมีคลอเลสเตอรอล และกรดไขมันอิ่มตัว เพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคอ้วน ไขมันเลือดสูง โรคหัวใจหลอดเลือด

      ประเด็นที่ 2 นมเพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคภูมิแพ้ลำไส้ใหญ่อักเสบ ท้องเสียเรื้อรัง ไซนัสอักเสบ หอบ หืด

      ประเด็นที่ 3 นม อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อ โรคกระดูกพรุน ประเด็นนี้เป็นเรื่องแปลกใหม่ ฟอสฟอรัสที่สูงเกิน จะกระตุ้นให้พาราไทรอยด์ หลั่งฮอร์โมน ดึงแคลเซียมจากกระดูกไปสมดุลกับฟอสฟอรัส

     โรคกระดูกพรุน เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกันและสาเหตุหนึ่ง มาจากภาวะโปรตีนเกิน อาหารโปรตีนทุกชนิด มีฟอสฟอรัส การรับประทานโปรตีนสูง จึงมีผลทำให้อัตราส่วน ระหว่าง แคลเซียม ต่อ ฟอสฟอรัส ไม่สมดุล คือฟอสฟอรัสสูงกว่า น่ามาจาก การบริโภคเนื้อสัตว์ ที่มากเกิน เพราะเนื้อสัตว์มีแหล่งฟอสฟอรัส สาเหตุ ที่คนตะวันตกนิยมกินนม แต่ยังเป็นโรคกระดูกพรุนสูง ก็เพราะว่ามีการดื่มนม พร้อมกับกินเนื้อสัตว์ในปริมาณสูงเกินไป ดังนั้น การบริโภคอาหาร ที่ให้โปรตีนพอประมาณ และมีการดื่มนม ในปริมาณที่แนะนำ ประกอบกับ มีการออกกำลังกาย ด้วย จะช่วยป้องกันภาวะ กระดูกพรุน

      ประเด็นต่อมา นม เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง งานวิจัยทางระบาดวิทยา หลายชิ้นยืนยันเรื่องนี้ เช่น นายแพทย์ไมเคิล ฮินด์ฮีด สถาบันวิจัยโภชนาการ แห่งชาติเดนมาร์ก อีกชิ้นหนึ่งเป็นงานของ ตากาวา เข้าศึกษาอาหาร ของคนญี่ปุ่น ผลคือ ผู้หญิงญี่ปุ่น ป่วยเป็น มะเร็งปอด เต้านม ลำไส้ใหญ่ เพิ่มขึ้น กองทุนวิจัยมะเร็งโลก(WCRF) และสถานบันมะเร็งแห่งชาติสหรัฐ (AICR) ซึ่งรวบรวมผลงานวิจัย นับพันๆชิ้นแล้วสรุป เมื่อปี 1997 นี้เองว่า เพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็ง หลายอย่าง รวมทั้งนม และผลิตภัณฑ์นมเนย

สิ่งที่ควรทราบ/ปฏิบัติตามคำแนะนำ

 อาหารที่ทำให้ไตผิดปกติ คนที่ป่วยเป็นโรคไต ควรหลีกเลี่ยง

  1. ฟอสฟอรัส แหล่งอาหารที่ให้ฟอสฟอรัสสูง และผู้ป่วยโรคไตควรหลีกเลียง ได้แก่ผลิตจากนม เช่น เนยแข็ง โยเกิร์ต ไอศกรีม เนื้อสัตว์ติดกระดูก ไข่แดง ช็อกโกเลต กาแฟ เบียร์ น้ำอัดลม
  2. โปรตีน งดอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่นเนื้อหมู เนื้อไก่ เนื้อวัว ไข่ ถั่ว และผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง
  3. โซเดียมคลอไรค์ การกินอาหารที่มีรสเค็ม มากเกินไป ยิ่งทำให้ไตทำงานหนักจนเกิดอาการบวมน้ำ ปัสสาวะบ่อย เพราะร่างกาย ต้องขับโซเดียมคลอไรค์อยู่ตลอด หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารให้น้อยลง คือ เกลือ น้ำปลา ซอสปรุงรส ซีอิ้ว ซุปก้อน กะปิ อาหารตากแห้ง ไข่เค็ม กุ้งแห้ง เนยแข็ง หลีกเลี่ยงการเติมผงชูรสในอาหาร ผลไม้ที่ดองเค็ม
  4. โพแทสเซียม หากไตรับโพแทสเซียมน้อยเกินไป จะทำให้โพแทสเซียม คั่งในเลือด ส่งผลทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนล้า หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจทำให้หัวใจหยุดเต้นได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตจึงจำเป็นต้องควบคุมระดับโพแทสเซียมในร่างกาย ให้อยู่ในระดับสมดุล เพื่อป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้น โดยงดผักและผลไม้ ที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น หัวปลี มันเทศ เห็ดฟาง มะเขือพวง ผักชี หน่อไม้ ฝรั่ง ผลไม้แห้ง ลูกเกด ลูกพรุน เป็นต้น การรับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมน้อย เช่น เห็ดหูหนู บวบ ถั่วพู ฟักเขียว ถั่วฝักยาว หอมหัวใหญ่ แตงโม สับปะรด ชมพู่ เป็นต้น

   

 การดื่มนมผิดวิธี มีแต่โทษ

  1. นมยิ่งข้น ยิ่งดี  จะทำให้เราได้รับสารอาหารมากยิ่งขึ้น นมที่ข้นเกิดจากใส่นมผงมากเติมน้ำน้อย ทำให้ความเข้มข้นของนมสูงกว่ามาตรฐาน ถ้าเลี้ยงทารกด้วยนมที่ข้นเกินไป จะทำเกิดอาการท้องเสีย ท้องผูก ไม่เจริญอาหาร ไม่ยอมรับประทานอาหาร กระทั้งลำไส้เล็กมีเลือดออกจนอักเสบ
  2. เติมน้ำตาลยิ่งมากยิ่งดี การเติมน้ำตาลในนมก็เพื่อสารคาร์โบไฮเดรตเสนอแคลอรีมากขึ้น แต่ต้องจำกัด จำนวน ไม่ควรเติมน้ำตาลเกิน 8 กรัมต่อ100 มิลลิลิตร และเติมน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลทรายแดงในนมจะดีที่สุด เพราะว่าน้ำตาลอ้อยเข้าสู่ร่างกายแล้วจะกลายเป็น คลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ร่างกายคนดูดซึมง่าย และไม่ควรเติมน้ำตาลในนมร้อนๆ เพราะว่าจะเกิดสารพิษต่อร่างกาย
  3. เติมช็อกโกเลตในนม บางคนเห็นว่า ดื่มนมกับช็อกโกเลตพร้อมกันจะเป็นผลดีต่อร่างกาย แต่ความจริงนมผสมกับช็อกโกเลต แล้วจะทำให้แคลเซียมออกชาลิค ทำลายสุขภาพ ทำให้ร่างกาย ขาดแคลเซียม ท้องเสีย เด็กเติบโตช้า  ผมแห้ง กระดูกแตกหักง่ายและเกิดนิ่วในท่อปัสสาวะ
  4. รับประทานยาด้วยนม บางคนคิดว่า รับประทานยาด้วยน้ำที่มีสารอาหารจะได้ผลดี แต่ทำเช่นนี้ไม่ถูกต้อง เพราะนมจะส่งผลกระทบต่อการดูดซึมยา ทำให้ความเข้มข้นของยาในเลือดลดลง ดังนั้น ไม่ควรดื่มนมก่อนหรือรับประทานยา 1-2ชั่วโมง
  5. ต้องต้มนมให้เดือด โดยปกติ การฆ่าเชื้อของนมไม่ต้องการอุณหภูมิสูงมาก 70 องศา 3 นาที่ 60 องศา 6 นาที่ก็พอแล้ว ถ้าต้มให้เดือดจนถึง 100 องศา นำตาลในนมจะเกรียม ซึ่งจะทำให้เกิดมะเร็ง และสารแคลเซียมจะเกิดตะกอน ดูดซึมยาก
  6. เติมน้ำส้มหรือน้ำมะนาวในนม น้ำส้มหรือน้ำมะนาว ที่อุดมด้วยกรดทาพาริค เมื่อเติมในนมแล้วจะทำลายโปรตีน
  7. เติมข้าวต้มในนม นมมีวิตามินเอ ส่วนข้าวต้มอุดมด้วยแป้งตะกอน ซึ่งเอ็มไซม์ แป้งตะกอนจะทำลายวิตามินเอ โดยเฉพาะทารก ถ้ารับวิตามินเอไม่เพียงพอ จะทำให้เติบโตช้า ร่างกายอ่อนแอ ดังนั้น ไม่ควรรับประทานนมกับข้าวต้มพร้อมกัน
  8. เลี้ยงนมเปรี้ยวทารก นมเปรี้ยวเป็นเครื่องดื่มที่ช่วยย่อยอาหาร ดังนั้น ผู้ปกครองบางคนจึงเลี้ยงทารก ด้วยนมเปรี้ยว จุลินทรีในนมเปรี้ยวแม้จะฆ่าเชื้อหลายชนิดได้ แต่ขณะเดียวก็จะทำลายกลุ่มจุลินทรีที่ดีในร่างกาย จนส่งผลกระทบต่อสมรรถนะการย่อยอาหาร โดยเฉพาะทารกที่มีกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบ รับประทานนมเปรี้ยวแล้วจะอาเจียนอาการหนักขึ้น
  9. ให้นมรับแสงแดดจากวิตามิน ดี การเสริมแคลเซียมต้องเสริมวิตามิน ดี และการไปตากแดด จะเพิ่มวิตามิน ดี ดังนั้นบางคนจะเอานมไปตากแดด ทำอย่างนี้แม้ว่าจะเพิ่มวิตามิน ดี แต่ขณะเดียวจะสูญเสียวิตามิน บี 1 วิตามิน บี 2 และวิตามิน ซี และทำให้นมเสียด้วย
  10. ใช้นมข้นแทนนมสด นมข้นเป็นผลิตภัณฑ์นมชนิดหนึ่ง ต้องเติมน้ำตาลอ้อย 40% ทำเป็นกระป๋อง หวานเกินไป ต้องเพิ่มน้ำอีก 5-8 เท่า จึงจะดื่มได้ แต่ความเข้มข้นของโปรตีนและไขมัน ลดลงมากกว่านมสด 50% ดังนั้น นมข้นจะใช้แทนนมสดไม่ได้

 

 การรณรงค์ให้คนไทย ดื่มนม วันละหนึ่งหรือสองแก้ว เพราะนมเป็นแหล่งอาหารที่ดีของโปรตีน แคลเซียม และวิตามินที่ร่างกายต้องการและสะดวกต่อการบริโภค เหมาะสำรับทุกเพศทุกวัย ผู้ที่ต้องการลด การบริโภคไขมัน ก็สามารถดื่ม นม พร่อง หรือขาดมันเนย ก็ได้ถ้าใครมีปัญหาในการดื่มนม เช่นแพ้น้ำตาล เลตโตส ในนม ก็ลดปัญหาได้ โดยการดื่มนม ครั้งละน้อยๆก่อน หรือดื่มนมหลังอาหาร หรืออาจรับประทาน โยเกิร์ต ชนิดครีมก็ได้ สำหรับผู้ไม่ดื่มนม คงต้องหาแหล่งแคลเซียม จากอาหารอื่น ปลาเล็ก ปลาน้อย ผักใบเขียวเข้ม และบริโภคให้เพียงพอ

      นมถั่วเหลือง น่าจะเข้ามาทดแทนได้ในแง่ของแหล่งโปรตีน เพราะนมถั่วเหลือง 1 แก้ว ให้โปรตีน 7 กรัม  น้อยกว่านมวัว เพียงเล็กน้อย ถั่วเหลืองมีสารไฟโตอิสโตเจน ช่วยลดใกล้หมดประจำเดือน ช่วยป้องกันมะเร็งอีกด้วย ถ้าเราหันมาปลูกถั่วเหลือง ส่งเสริมคนไทย กินผลิตภัณฑ์ จากถั่วเหลือง เงินตราไม่รั่วไหลออกนอกประเทศ

 

ประโยชน์ของนมมารดา

ป้องกันโรค โรคขาดสารอาหาร มีภูมิต้านทานโรค อุดมไปด้วยวิตามิน บรรจุในภาชนะที่น่าจับต้อง มีอุณหภูมิพอเหมาะ ไม่ต้องเสียเวลาชง ดื่มได้พร้อมๆกันทั้งสองคน (ฝาแฝด) เปิดใช้ได้ทุกสถานที่

 

ข้อคิดเห็น

      เราเป็นคนไทย เราอยากเห็นเด็กไทยได้รับการดื่มนมแม่ตั้งแต่แรกเกิด  จนถึงอายุ 6 เดือนหรือ 1 ปี 6 เดือน เพื่อให้เด็กมีภูมิต้านทานโรค และพัฒนาการด้านสุขภาพ ไม่ทุพลโภชนาการ หรือเป็นโรคขาดสารอาหาร เราอยากเห็นรัฐบาลชุดไหนๆก็ได้มีแผนพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเอาวาระแรกเกิดของเด็ก ที่เกิดมาได้รับเบี้ยยังชีพในการเลี้ยงดูประมาณเดือนละ 500 -1,000บาท/คน(ต้องมีลูกไม่เกินสองคน ยกเว้นฝาแฝด) เพื่อพัฒนาการของเด็กที่ขาดแคลนสารอาหารและนม จนถึงอายุ 12 ปี ในวิถีชีวิตคนชนบทหรือสังคมในเมือง จะขาดแคลนปัจจัยด้านต่างๆในการเลี้ยงดูเด็กและรายได้ที่จะนำมาเลี้ยงครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นสารอาหารประเภทต่างๆที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพของเด็ก นมเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเด็กที่ต้องได้รับตามปริมาณที่พอเพียง ประกอบกับปัจจุบันนี้สังคมหญิงไทยอายุไม่เกิน 20 ปี อยู่ในช่วงของวัยการเจริญเติบโต (ยังไม่ถึงช่วงวัยเจริญพันธ์ น่าจะอายุ 20 ปีขึ้นไป) มีการตั้งครรภ์สูง หลังจากคลอดบุตรแล้วประมาณ 2 – 3 เดือนจะนำลูกมาฝากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ให้เลี้ยงดู และต้องออกไปประอาชีพเลี้ยงครอบครัวและบุตร ทำให้เด็กไม่ได้รับประทานนมและสารอาหารที่เพียงพอและขาดความอบอุ่น ประกอบกับราคาและผลิตภัณฑ์ของนมหรืออาหารเสริมค่อนข้างมีราคาสูงต่อค่าครองชีพในสังคมปัจจุบัน และอยู่ในช่วงกลุ่มอายุ ที่มีการหย่าร้างสูง เพราะค่าครองชีพ รายรับน้อยกว่ารายจ่าย ทำให้เด็กๆที่เจริญเติบโตมาแบบไม่สมบูรณ์ในการเลี้ยงดู รู้สึกว่าสังคมไม่เป็นธรรม มีความก้าวร้าว เราอยากเห็นนักวิชาการเก่งๆ(บางคนดีแต่พูด)ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้ให้มากๆบ้าง และทำแบบสอบถามความคิดเห็นในกลุ่มประชากรกลุ่มนี้บ้าง ถ้าทำได้จะช่วยในการพัฒนาการของเด็กให้เจริญเติบโตยิ่งขึ้นไป.

 

 

หมายเลขบันทึก: 469158เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2011 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กันยายน 2012 18:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • คนยากจนเจ็บใจไร้รองเท้า
  • เมื่อตัวเขาเดินพ้นคนไร้ขา
  • เกิดความคิดทันทีมีปัญญา
  • ไร้รองเท้าดีกว่าไร้ขาเอย.....

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท