การประเมินวิทยฐานะ


ชก.,ชกพ.

แนวคิดให้บทบาทผู้ปกครอง/ชุมชนประเมิน ชก.,ชกพ.


                  กล้วยไม้ออกดอกช้า         ฉันใด

           การศึกษาเป็นไป                      เช่นนั้น
           แต่ดอกออกคราวใด                 งามเด่น

           งานสั่งสอนปลูกปั้น                   เสร็จแล้วแสนงา

            ขออนุญาตนำคำประพันธ์ที่สร้างสรรค์และทรงคุณค่ายิ่งของท่านศาสตราจารย์หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล  มาเป็นต้นเรื่อง   น่าจะนำมาถูกต้องนะครับ
            ได้ติดตามข่าวทางการศึกษาจากหนังสือพิมพ์มติชนฉบับรายวัน วันที่๑๗ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ หน้า ๑๗  คอลัมน์ ชีพจรครู  เรื่องเกี่ยวกับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการ และชำนาญการพิเศษ  ตามข้อเสนอล่าสุดของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)วิสามัญเฉพาะกิจ  ที่จัดทำร่างหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเสนอ  โดยมี นายสุขุม  เฉลยทรัพย์  ผู้ทรงคุณวุฒิใน อ.ก.ศ. และเป็นประธาน อ.ก.ค.ศ. วิสามัญเฉพาะกิจ แล้ว   บอกตามตรงว่า  ผมเริ่มมีความหวัง  และเริ่มเห็นแสงไฟแห่งความโชติช่วงทางการศึกษาที่ปลายอุโมงค์ชัดขึ้นมาบ้าง
             เพราะเท่าที่ผ่านมาตั้งแต่เปลี่ยนระบบการบริหารจัดการศึกษาโดยกำหนดให้มีเขตพื้นที่การศึกษา   ๗ กรกฎาคม ๒๕๔๗ เป็นต้นมานั้น  มีหลายเรื่องหลายประเด็นที่ยังไม่มีความมั่นใจและมีความเชื่อว่ามันน่าจะมีอุปสรรคมากว่าสมประสงค์    เมื่อกาลเวลาผ่านไปไม่นานปัญหาและอุปสรรคก็เริ่มจะชัดขึ้น   จุดด้อยหลายๆด้านผุดให้เห็นมากมาย  อาทิการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  การเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทาการเรียนเป็นต้น ส่วนจุดเด่นก็มีแต่ก็น้อยจัง 
             การปรับเปลี่ยนโครงสร้างและการบริหารจัดการดังกล่าวน่าจะเป็นเหตุปัจจัยหนึ่ง  ที่มีผลกระทบต่อการจัดการศึกษาที่ด้อยลง  โดยเฉพาะการศึกษาภาคบังคับ   เพราะจากการติดตามผลการจัดการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๔๗ เป็นต้นมา  พบว่า คุณภาพผู้เรียน เช่น ความสามารถในการอ่าน   การอ่านออกเขียนได้  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ลดลงอย่างต่อเนื่อง  คุณธรรมจริยธรรมของผู้เรียนด้อยลงเป็นต้น  

           ส่วนจุดเด่นที่เป็นรูปธรรมมากที่สุดก็เห็นจะเป็นความก้าวหน้าของครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีการประเมินวิทยฐานะ ส่งผลให้ครูได้รับเงินวิทยฐานะมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผกผันกันอย่างน่าอัศจรรย์ใจ จริงๆ

           หรือว่า  การประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ผ่านมามีปัญหา   ไม่สามารถแก้โจทย์ใหญ่ คือคุณภาพผุ้เรียนได้ 

           จากการที่ผู้ทรงคุณวุฒิคิดร่างหลักเกณฑ์คิดวิธีประเมินใหม่  ถือว่าเป็นการคิดใหม่ ลองใหม่  และจะทำใหม่  โดยปรับการประเมินวิทยฐานะที่ให้บทบาทผู้ปกครองนักเรียน และชุมชนร่วมเป็นกรรมการประเมินด้วย   ผลจะเป็นอย่างไรนั้นต้องรอดู  และขอให้กำลังใจ   จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจและต้องติดตาม

          ยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่น่าจะเป็นเหตุปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการศึกษา  คือ การจัดโครงสร้างการจัดการศึกษาเป็นเขตพื้นที่ที่ทำอยู่ขณะนี้    ซึ่งหลักคิดคือการกระจายอำนาจการจัดกาศึกษา  แต่เมื่อลงมือปฏิบัติกลับกลายเป็นรวมอำนาจหรือรวบอำนาจ  การบริหารบริการล่าช้า เทอะทะ   ผลก็คือคุณภาพผู้เรียนไม่ได้ 

           จึงเสนอให้มีการทบทวน  คืนอำนาจให้หน่วยงานระดับอำเภอเป็นผู้ปฏิบัติจะดีกว่า

           เพราะเชื่อว่า การศึกษาเป็นการสร้างคน  เพื่อให้คนสร้างสังคมสร้างชาติ

           ศึกษาดีทำให้มีเงินใช้  พาชีวิตไร้โรคาพาครอบครัวสุขสมบูรณ์ 

           การจัดการศึกษาจึงควรนำโคลงในเบื้องต้นเป็นหลักการ

           นี่เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรทบทวนและเร่งสะสาง นะครับ

 

คำสำคัญ (Tags): #คิดตามเขา
หมายเลขบันทึก: 468656เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2011 19:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 23:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวิต
  • เพียงแค่คิดเป็นอยู่ดูง่ายง่าย
  • ปลูกของกินให้ทันกันอดตาย
  • เหลือกินแจกแลกขายให้เพื่อนเรา

 

ท่านค่ะ ท่านพร้อมจะประเมินหนูรึยังค่ะ

หนูพร้อมแล้ว

เชื่อว่า การทำงานที่ผ่านมาทั้งหมด

หนูได้ตั้งใจทำงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ

ความดีนั้นคงส่งผลให้โรงเรียน ผู้บริหาร คณะครู และนักเรียนอันเป็นที่รัก

ประสบความสำเร็จในทุก ๆ ด้านน่ะค่ะ

คาดว่า จะพบกันเร็ว ๆ นี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท