น้ำท่วม ๒๕๕๔


น้ำท่วมเป็นเรื่องดีสำหรับคนในสมัยก่อน แต่กลายเป็นภัยพิบัติสำหรับคนในปัจจุบัน

น้ำขึ้นให้รีบตัก น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลา และยังอาจมีอีกหลายสำนวนที่คนไทยรู้จัก แต่ละคนอาจมีความคิดเห็นในสำนวนนี้ต่างกันไปบ้่าง เทศกาลลอยกระทง เป็นเทศกาลที่คนไทยทุกคนรู้จัก คนส่วนมากสนุกสนานและชอบลอยกระทง ถ้าไม่มีน้ำก็ลอยกระทงไม่สนุก ไม่สวยงาม จะเห็นว่าคนไทยผูกพันกับสายน้ำมาตั้งแต่อดีต  การตั้งบ้านเรือนต้องอยู่ริมแม่น้ำ เพราะอาศัยน้ำในการดำรงชีวิตทั้งการปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ การหาปลาและสัตว์น้ำมาเป็นอาหาร  รวมถึงการเดินทาง บ้านป่าบ้านดอนแห้งแล้งขาดน้ำไม่มีใครไปอยู่อาศัย  ประโยชน์ของน้ำท่วมในสมัยกรุงศรีอยุธยาที่สำคัญที่สุดคือการขับไล่อริราชศัตรู เมื่อฝนเริ่มตกศัตรูที่นำทัพมารุกรานกรุงศรีอยุธยา ต้องรีบถอยกลับไปประเทศตัวเอง ถ้ามัวช้า รีรออยู่ จะถูกน้ำท่วมตายหมดทั้งกองทัพ

ปัจจุบันน้ำท่วมกลับกลายเป็นมหาอุทกภัยร้ายแรงที่ทำให้ประชาชนเสียชีวิตมากกว่า ๕๓๖ คน สัตว์เลี้ยงเสียชีวิตนับไม่ถ้วน ทรัพย์สินเสียหายเป็นแสนล้าน หรือล้านล้าน เดือดร้อนกันอย่างทั่วถึงมากบ้างน้อยบ้างตามความสามารถของแต่ละบุคคล เนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป เมื่อก่อนน้ำท่วมก็ตักน้ำที่ชานบ้านมาใส่โอ่งใกล้ดี ช่วยให้สะดวกสบายกว่าตอนหน้าแล้งต้องหาบน้ำจากชายท่าขึ้นมาทั้งหนักทั้งเหนื่อย แม้ปัจจุบันบ้านที่อยู่นอกชุมชนตามต่างจังหวัดก็ยังสามารถนำน้ำที่ท่วมมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ถ้าเป็นในเมืองหรือชุมชนใหญ่ก็หมดสิทธิ์ มีแต่ขยะน้ำสกปรกไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เลย ไม่รู้ว่าขยะมาจากไหน ใครรู้ก็ช่วยบอกด้วยว่าขยะที่ทำให้น้ำสกปรก  มาจากไหน

ถ้าเราปล่อยให้น้ำท่วมอย่างทั่วถึงทุกปีเหมือนในอดีต โดยไม่มีการกักกันน้ำเลย ทุกคนก็จะคุ้นเคยและรู้ว่าเดือนนี้น้ำมากขนาดนี้เมื่อถึงตอนน้ำท่วมมากที่สุด จะท่วมถึงตรงไหน และมีการเตรียมตัวรับมือกับน้ำท่วมได้เหมือนคนในอดีต แต่คงทำอย่างนั้นไม่ได้แล้ว

ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำก็น่าจะเป็นกรมอุตุนิยมวิทยา รับผิดชอบน้ำบนท้องฟ้า ว่าพญานาคจะให้น้ำกี่ตัว บันดาลให้ฝนตกในมนุษย์โลกกี่ห่า

กรมชลประทานรับผิดชอบน้ำบนผิวดิน เพื่อเก็บถนอมรักษาไว้ให้ทุกคนมีน้ำใช้ตลอดปี สมัยก่อนไม่มีการชลประทานพอหน้าน้ำ น้ำก็ท่วมเต็มที่ พอหน้าแล้งก็ขาดน้ำ ลำบากแทบตาย (มีน้ำดีกว่าขาดน้ำ)

กรมทรัพยากรธรณี รับผิดชอบน้ำใต้ดินของเมืองบาดาลเพื่อไม่ให้น้ำใต้ดินเหือดแห้งจนแผ่นดินยุบลงไปรวมกับเมืองบาดาล

การไฟฟ้าฝ่ายผลิต รับผิดชอบน้ำในเขื่อนที่ติดตั้งเครื่องปั่นไฟ เพื่อให้มีน้ำผลิตกระแสไฟฟ้า มาอำนวยความสะดวกให้ประชาชนได้ตลอดเวลา

อาจจะมีหน่วยงานอื่นอีก แต่นึกได้เพียงเท่านี้

ศปภ.เป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ที่เพิ่งได้รู้จักล่าสุดมีหน้าที่อย่างไรก็ยังไม่ทราบเหมือนกัน แต่เท่าที่ได้ดูจากทีวีคิดว่างานหนักมาก

ทุกหน่วยงานที่คิดได้ ไม่มีหน่วยงานไหนรับผิดชอบ การป้องกันน้ำท่วม  มีใครพอจะทราบบ้างไหมว่า หน่วยงานไหนที่รับผิดชอบป้องกันการเกิดน้ำท่วม โดยดูแลว่าน้ำในแต่ละเขื่อนมีปริมาณเท่าไร เมื่อฝนตกในบริเวณใดน้ำจะไหลไปเขื่อนไหน ใช้เวลากี่วัน และมีปริมาตรเท่าไร เพื่อจะได้สั่งให้กรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเปิดปิดการระบายน้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำฝน เพื่อให้มีน้ำใช้ได้ตลอดปี และไม่เกิดมหาอุทกภัยร้ายแรง

หมายเลขบันทึก: 468296เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2011 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 22:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

..อ่านแล้ว..พยายามหา..คำตอบ..ขยะมาจากไหน...มาจากคนศิวิไลก์สมัยใหม่ทั้งหลายที่ร่วมใจกันใช้วัตถุนิยมกันจนเป็นอย่างที่เห็นทุกวันนี้..เป็นเรื่อง..ของงูกินหาง..อ้ะ...สวัสดีค่ะ..ยายธี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท