แห่งความเข้าใจชีวิตและการศึกษาที่แท้ : บทที่ ๓ ความอืสระและความรัก


กฤษณมูรติ

    ความอิสระไม่ได้หมายถึงการทำสิ่งที่ชอบหรือการหลีกเลี่ยงหลบหนีจากสิ่งแวดล้อมรอบข้างซึ่งผูกพันอยู่กับท่าน   แต่หมายถึงการเข้าใจปัญหาทั้งหมดของความไม่อิสระนั้น

                        

ความอิสระจะเกิดขึ้น เมื่อเราปฏิเสธความรู้สึกพึ่งพาที่แฝงเร้นอยู่ในใจของเราลึกๆนั้นได้  และเราไม่สามารถปฏิเสธความรู้สึกนั้นได้เลย  ถ้าเราไม่เข้าใจว่าสาเหตุใดเราต้องเกิดความรู้สึกพึ่งพาผู้อื่นตลอดเวลา   ความอิสระของเราจะเกิดขึ้นไม่ได้แน่นอน หากเราไม่เข้าใจ และ ไม่สามารถหลุดพ้นจากความรู้สึกพึ่งพาภายใน  เพราะว่าความเข้าใจนี้เท่านั้น ที่สามารถก่อให้เกิดความอิสระได้

เราไม่ทราบถึงความหมายที่แท้จริงของความรักเลย เพราะว่าความรักของเรามักถูกครอบงำด้วยความรู้สึกกังวล ความอิจฉาริษยา และ ความกลัว ซึงหมายตวามว่าเรามีความรู้สึกไม่อิสระ และรู้สึกต้องขึ้นอยู่กับผู้อื่น และโดยแท้แล้ว  เราต้องการได้รับความรักต่างหาก    

    ความอิสระต้องอาศัยความรัก  ที่ใดปราศจากความรัก  ที่นั่นไม่มีความอิสระ  ที่ใดไม่มีความรัก ความอิสระจะเป็นเพียงความคิด

    ความปรารถนาที่อยากจะเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่ตัวเอง จะก่อให้เกิดความอิจฉาริษยา  ในขณะที่ความเข้าใจอย่างแท้จริงในตัวเอง จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ท่านเป็นอยู่ มันจะนำให้เกิดการยกระดับภาวะที่ท่านเป็นอยู่

คำสำคัญ (Tags): #กฤษณมูรติ
หมายเลขบันทึก: 467820เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2011 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 18:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เตือนให้ทบทวนชีวิแท้จริง ท่านอาจารย์

ขอบพระคุณสำหรับเรื่องราวดีๆที่นำมาแบ่งปันครับ

ขอบคุณ อ.โย มากเลยนะครับ ที่มาให้กำลังใจ

  • สวัสดีค่ะ ท่านรอง ฯ
  • แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • คม ชัด ลึก ดีจ้งค่ะ

อ.ธรรมทิพย์ ครับ  ห่างหายกันไปนานเลยนะครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาเยี่ยมเยียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท