ลอยกระทงกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไป


วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง เราทั้งหลายชายหญิง สนุกกันจริง วันลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ

   ลอยกระทงกับกาลเวลาที่เปลี่ยนไป      

         

          วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง 
          เราทั้งหลายชายหญิง 
          สนุกกันจริง วันลอยกระทง 
          ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง 
          ลอยกระทงกันแล้ว 
          ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง 
          รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง 
          บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ

        ทุกคนยังจำเพลงนี้กันได้หรือเปล่าครับ  เพลงที่ชาวต่างชาติถึงกับบอกด้วยตัวเองว่าชอบเพลงลอยกระทงกันมากเลยนะครับรู้หรือเปล่า แล้วเราล่ะร้องกันได้หรือยัง ก่อนอื่นเรามาเล่าถึงประวัติกันสักหน่อย....เชื่อว่าประเพณีนี้ได้สืบต่อกัน มายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า การลอยพระประทีป และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1 กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทง 

          ก่อนที่นางนพมาศ หรือ ท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม ดังปรากฎในหนังสือนางนพมาศที่ว่า  "ครั้น วันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."

          เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่ นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา 

           "ครั้น วันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือกผกาเกษรสีต่าง ๆ มาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะ ล้วนแต่พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย..."

          เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่าง และให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย ดังพระราชดำรัสที่ว่า "ตั้งแต่ นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน" พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา (จากข้อมูลประวัติวันลอยกระทงคัดลอกมาจากกระปุก.com)

          สำหรับเราประเพณีลอยกระทงถือเป็นสิ่งที่รักและชอบเป็นการส่วนตัวจำได้ว่าลอย เกือบทุกปี ตั้งแต่จำความได้ คงเป็นเพราะว่ามีความผูกพันกับสายน้ำ..ด้วยประการหนึ่ง แต่่กาลเวลาที่เปลี่ยนไปเรื่อย ๆ ทำให้หลาย ๆ คนลืมเลือนไปว่าเมื่อถึงวันลอยกระทงสิ่งที่ต้องทำคืออะไร สิ่งที่ต้องการบอกให้เพื่อเป็นการย้ำเตือนคือต้องการให้คนเรารู้จักความกตัญญู การกตัญญูต่อแม่น้ำลำคลองที่ช่วยหล่อเลี้ยงชีวิตของเราทุกคน  ลอยกระทง เป็นประเพณีโบราณ เป็นประเพณีที่เราทำการขอขมาพระแม่คงคา และรำลึกถึงคุณค่าของสายน้ำ ที่ก่อกำเนิดความอุดมสมบูรณ์ แต่ในวันนี้เจตนานั้นเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง...หลาย ๆ คนคิดว่าลอยกระทงคืองานรื่นเริงสังสรรค์ การที่จะได้กินดื่มเที่ยว งานที่จะนำ้มาซึ่งรายได้จากธุรกิจการค้า จะมีสักคนไหมที่จะไปลอยกระทงโดยมีสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นอยู่ในหัว ลอยกระทงในวันนี้ของคุณหมายถึงอะไร...งานรื่นเริง งานสังสรรค์...

        สุดท้ายนี้ไม่ว่ากาลเวลาจะเปลี่ยนแปลงไปนานสักแค่ไหน แต่ผมจะขอเป็นอีกคนหนึ่งที่จะยึดถือและดำรงซึ่งเจตนาที่แท้จริงของลอยกระทงให้คงอยู่สืบต่อไป

 

                                                                             (คนริมน้ำ)

หมายเลขบันทึก: 467713เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2011 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 21:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท