รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล


บริหารจัดการ

         วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลาย ตรวจสอบได้ ดังนั้นทุกคนต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ (สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา, 2551:1) ส่วนการสอนวิทยาศาสตร์นั้นต้องสอนให้นักเรียนได้รับความรู้วิทยาศาสตร์โดยผ่านทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตามมาตรา 23 (2) แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ สอดคล้องกับ สุวิทย์  มูลคำ (2547: 38-41) ที่ได้กล่าวว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์นั้น  ผู้สอนจำเป็นต้องให้ผู้เรียนฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นทักษะพื้นฐาน 13 ทักษะ เพื่อเป็นเครื่องมือในการแสวงหาความรู้อื่นๆ  ต่อไป

            ด้วยความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่กล่าวมาทั้งหมด ประกอบกับผล    การทดสอบวิชาวิทยาศาสตร์ของสำนักทดสอบการศึกษาแห่งชาติ (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนวัดสวนพล พบว่าในปีการศึกษา 2551 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 51.46 ซึ่งต่ำกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับประเทศ (54.88,51.68) ปีการศึกษา 2552 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 47.83 สูงกว่าระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับประเทศ (39.21, 43.22) แต่ไม่บรรลุเป้าหมายที่โรงเรียนตั้งไว้คือ ร้อยละ 75 โรงเรียนวัดสวนพลจึงได้ระดมความคิด วิเคราะห์สภาพปัญหาและสภาพการณ์ปัจจุบันของโรงเรียน พบว่า สาเหตุที่ผลการทดสอบระดับชาติต่ำนั้นเนื่องมาจากสาเหตุหลายด้าน เช่น ด้านครู พบว่า โรงเรียนวัดสวนพลไม่มีครูผูสอนวิทยาศาสตร์ที่จบวิชาเอกวิทยาศาสตร์โดยตรงซึ่งส่งผลให้จัดการเรียนการสอนแบบไมเน้นผู้เรียนเปนสำคัญ ทั้งมีการวัดและประเมินผลยังใชเพียงขอสอบเป็นส่วนใหญ่ ด้านนักเรียน พบว่า นักเรียนไม่ชอบเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพราะคิดว่าน่าเบื่อหน่ายเมื่อมีการทดสอบความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จึงทำให้มีคะแนนต่ำ ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้ พบว่า โรงเรียนเป็นโรงเรียนขนาดเล็กที่ไม่มีห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ และมีการใช้แหล่งเรียนรู้จำกัดอยูเพียงภายในโรงเรียน ด้านชุมชน พบว่า โรงเรียนขาดการประชาสัมพันธ์และการดึงศักยภาพของผูปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ทั้งที่บริบทโรงเรียนเป็นบ้านสวนผลไม้ สวนยาง มะพร้าวซึ่งมีวัสดุธรรมชาติมากมายและมีวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายโดยเฉพาะการทำของเล่นพื้นบ้าน และสาเหตุที่สำคัญที่สุด พบว่า ผู้บริหารไม่มีรูปแบบการพัฒนาด้านการสอนวิทยาศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมในโรงเรียน

            จากความสำคัญของวิทยาศาสตร์ สภาพปญหาที่พบและสาเหตุที่กลาวมาขางตนทําใหผูวิจัยคิดว่า การพัฒนาวิทยาศาสตร์ขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และรูปแบบการพัฒนาให้เป็นที่พึงพอใจและเหมาะสมนั้นจัดโดยส่วนกลางไม่ได้ทั้งหมด เนื่องจากโรงเรียนมีบริบทที่แตกต่างกันในด้านวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทั้งระบบโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานจึงเป็นที่มาของ “รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล”

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทาง

วิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

  2.  เพื่อทดลองใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

  3.  เพื่อประเมินความสำเร็จของผลการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล ซึ่งจำแนกได้ 5 ประเด็นดังนี้

       3.1 เปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

       3.2 เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

       3.3 เปรียบเทียบความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

       3.4 ประเมินผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโรงเรียนวัดสวนพล

       3.5 ประเมินรูปแบบการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของครูโรงเรียนวัดสวนพล

       3.6 ประเมินผลการบริหารจัดการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้วยรูปแบบ SWIPPACA

       3.7 ประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ครู นักเรียน และผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

ขอบเขตของการวิจัย      

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ดำเนินการระหว่างเดือนกรกฎาคม 2553 ถึงเดือนตุลาคม 2554 รวมเวลา 1 ปี 4 เดือน โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่  การสร้าง  การทดลองใช้  และการประเมินความสำเร็จของผลการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ซึ่งมีตัวบ่งชี้ความสำเร็จของผลการใช้รูปแบบฯ จำแนกเป็นความสำเร็จระดับนักเรียน ความสำเร็จระดับครู และความสำเร็จระดับผู้บริหารเท่านั้น

นิยามศัพท์เฉพาะ 

         รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล หมายถึง รูปแบบการบริหารจัดการขับเคลื่อนกลยุทธ์ในการพัฒนาการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านด้วยรูปแบบ SWIPACA (นวลใย  สุทธิพิทักษ์, 2552 : 100) ให้บรรลุวัตถุประสงค์ซึ่งมีคู่มือการใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้

         1. การพัฒนาของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านต้นแบบและคู่มือการใช้รูปแบบฯ หมายถึง ของเล่นพื้นบ้านที่จัดทำโดยผู้วิจัยและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ใช้ความรู้และหลักการทางวิทยาศาสตร์ในการทำหรือเล่น และใช้วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น พร้อมเอกสารแนะนำการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน

         2. การพัฒนาทักษะการสอนของครู หมายถึง การพัฒนาความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม 

         3. การพัฒนารูปแบบการสอน หมายถึง กระบวนการหรือขั้นตอน ที่ช่วยให้สภาพการเรียนการสอนนั้นเป็นไปตามทฤษฎี  หลักการ ผู้เรียนมีคุณภาพตามวัตถุประสงค์ ในเวลาที่พอเหมาะ และใช้งบประมาณไม่มาก 

         4. การประเมินความสำเร็จของผลการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของนักเรียนโรงเรียนวัดสวนพล หมายถึง ความสำเร็จระดับนักเรียนวัดได้จาก การวัดเจตคติ ความคิดสร้างสรรค์ ทดสอบความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ประเมินผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน และประเมินความพึงพอใจของนักเรียน ความสำเร็จระดับครู ประเมินจากการพัฒนารูปแบบการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของครู ส่วนความสำเร็จระดับผู้บริหารประเมินจากผลการบริหารจัดการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้วยรูปแบบSWIPPACและประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษา ครู นักเรียและผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ   

1.  ผู้บริหารโรงเรียนวัดสวนพลมีรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนวิทยาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม

2.  บิดา มารดา ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนานักเรียน

3.  พบนวัตกรรม แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นทางด้านวิทยาศาสตร์ในพื้นที่

4.  ครูมีทักษะการวิจัยและมีรูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนานักเรียนตามความคิดของตนเอง

5.  นักเรียนโรงเรียนวัดสวนพลมีเจตคติ ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เห็นคุณค่า ร่วมกันอนุรักษ์  สืบสานภูมิปัญญาไทยสมัยคุณทวด

6.  นักเรียนมีผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์ที่ได้จากการอาศัยความรู้ หลักการทางวิทยาศาสตร์ และคุณธรรมในการทำและเล่น ดังนั้นของเล่นที่นักเรียนประดิษฐ์ขึ้นช่วยพัฒนาด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญาอย่างแท้จริง

7.  พบองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย ด้านหลักการทางวิทยาสตร์จากของเล่นพื้นบ้านในแต่ละชนิด

8.  งานวิจัยส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ใหม่ สร้างจิตสำนึก และสร้างวัฒนธรรมการทำงานใหม่ให้กับองค์กร

แนวคิด/ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

 

เรื่องที่ 1 พัฒนาครูด้วยรูปแบบ  SWIPPACA  ที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน 2551-2552

           

 

 

 

 

เรื่องที่ 2  การสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนวัดสวนพล 2553-2554

 2553-2554

โครงการวิจัยเพื่อมุ่งแก้ปัญหาทั้งระบบ โดยได้รับงบสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2 เรื่อง           2551-2554 เป็นเงิน 120,000 บาท

 

 

            จากหลักการ แนวคิด ทฤษฎี สรุปได้ว่า  การพัฒนาคุณภาพสถานศึกษานั้นให้ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมกันทั้งสถานศึกษา (Whole School) เพื่อสร้างองค์ความรู้ สร้างจิตสำนึก สร้างวัฒนธรรมการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย  ส่วนการพัฒนาระบบเกิดจากการศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบัน กำหนดกลยุทธ์พัฒนาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน  ในที่นี้               เน้นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาทั้งระบบ

 

 

      รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์                         ของโรงเรียนวัดสวนพล

 

ทฤษฎีระบบ ,การบริหารแบบมีส่วนร่วม ,การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน

 

การพัฒนาครูโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานและการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา 

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์/หลักสูตรและการสอนวิทยาศาสตร์

ของเล่นพื้นบ้านและ                                        ของเล่นทางวิทยาศาสตร์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

กรอบแนวคิดในการวิจัย

 

 

 

ระยะที่  1

การสร้างรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

              

การสรางรูปแบบการพัฒนา

ความคิดสร้างสรรค์ของ

นักเรียน

 

1.1      ศึกษาผลการทดสอบ    O-NET

1.2      วิเคราะห์สภาพปัญหา และสภาพการณ์ของโรงเรียน(บริบทชุมชน/ร.ร./ ครู / นักเรียน/การเรียนการสอน/ทรัพยากร/สื่อ/ผู้ปกครอง/ การมีส่วนร่วม/แหล่งเรียนรู้/ ผู้รู้/อื่นๆ )  เพื่อยกร่างรูปแบบฯ

1.3     ระดมพลังสมองเพื่อตรวจสอบรูปแบบฯ

 

ได้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

     ระยะการดำเนินการ

 

กระบวนการ

         ผลที่ได้รับ

 

รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ระยะที่  3

ประเมินความสำเร็จของผลการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียน วัดสวนพล

-เปรียบเทียบเจตคติ ความคิดสร้างสรรค์ ความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน                -ประเมินผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์                                                     -ประเมินรูปแบบการสอนของครู

-ประเมินผลการบริหารขับเคลื่อนกลยุทธ์

-ประเมินความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง

 

ความสำเร็จระดับนักเรียน

นักเรียนมีเจตคติ/ความคิดสร้างสรรค์/ความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์/มีผลงานสิ่งประดิษฐ์ฯและมีความพึงพอใจรูปแบบฯ

ความสำเร็จระดับครู

มีทักษะการสอนและรูปแบบการสอน

ความสำเร็จระดับผู้บริหาร(นักวิจัย)

ผลการบริหารจัดการขับเคลื่อนกลยุทธ์และความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง

ระยะที่  2

การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน

 

ทดลองใช้รูปแบบฯ:บริหารจัดการขับเคลื่อนกลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ด้วยรูปแบบ    SWIPPACA  

(กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาของเล่นทางวิทยาศาสตร์ต้นแบบและคู่มือฯ กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาทักษะการสอนของครู กลยุทธ์ที่ 3  พัฒนารูปแบบการสอน กลยุทธ์ที่ 4  การประเมินความสำเร็จ)ของผลการใช้รูปแบบฯ)

 

ได้ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ

สรุปข้อค้นพบ ปัญหาและข้อเสนอแนะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิธีดำเนินการวิจัย

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research : PAR) ได้แบ่งเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน

            1.1 ขั้นเตรียมการวิจัย โดยการกำหนดกลุ่มตัวอย่าง วางระบบการดำเนินงาน กำหนดเป็นข้อตกลงในการทำวิจัย บทบาทของผู้บริหาร บทบาทของครู กระบวนการวิจัยตลอดจนตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการวิจัย

            1.2 การศึกษาสภาพการณ์ปัจจุบันของโรงเรียนวัดสวนพลจากผลการทดสอบ O-NET วิเคราะห์บริบทชุมชน ผู้รู้ ครู สื่อ แหล่งเรียนรู้ จากเอกสาร รายงานผลการประเมินต่างๆ และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการสอนวิทยาศาสตร์เพื่อยกร่างรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน

            1.3 ตรวจสอบความตรงของรูปแบบด้วยการระดมพลังสมอง (brainstorming) จากผู้ทรงคุณวุฒิ ครู คณะกรรมการ สถานศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นและผู้ปกครอง นำผลมาวิเคราะห์ ปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนวัดสวนพล และเขียนคู่มือการใช้รูปแบบฯตามข้อเสนอแนะ

ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน

            ผู้วิจัยได้ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการทดลองใช้รูปแบบ พร้อมทบทวนข้อตกลงและบทบาทหน้าที่ จัดประชุมชี้แจงการนำคู่มือไปปฏิบัติตามแผน ทดลองใช้รูปแบบฯระหว่างเดือนกรกฎาคม 2553 - 31 มกราคม 2554 แล้วสรุปผลด้วยการสนทนากลุ่ม (focus group discussion) เพื่อร่วมกันสะท้อนผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและสรุปผลหลังการปฏิบัติ (After Action Review : AAR) เกี่ยวกับข้อค้นพบ ปัญหา และข้อเสนอแนะ

ระยะที่  3  การประเมินความสำเร็จของผลการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้าน โดยการประเมินความสำเร็จระดับนักเรียน ระดับครู และระดับผู้บริหาร

          ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างการวิจัยครั้งนี้มีทั้งหมด 117 คนได้แก่ ครู 7 คน ผู้บริหาร 1 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 7 คน          ภูมิปัญญาท้องถิ่นและผู้ปกครองนักเรียน 30 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน และนักเรียน 69 คน ในปีการศึกษา 2553-2554 ของโรงเรียนวัดสวนพล อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Sampling)

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้

1. คู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาสาสตร์พื่นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

2. ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านต้นแบบ 

3. แบบสัมภาษณ์ ฉบับที่ 1 เรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก

4. แบบสัมภาษณ์ ฉบับที่  2 เรื่อง การสำรวจของเล่นพื้นบ้านที่ประดิษฐ์จากวัสดุในท้องถิ่นบ้านสวนพล

5. แบบสัมภาษณ์ ฉบับที่  3 เรื่อง ผลการพัฒนาของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านต้นแบบและคู่มือการใช้รูปแบบฯ

5. แบบประเมิน ฉบับที่ 4 เรื่อง การบริหารจัดการขับเคลื่อนกลยุทธ์ ด้วยรูปแบบ  SWIPPACA  

6. แบบประเมิน ฉบับที่ 5 เรื่อง การพัฒนารูปแบบการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของครู

7. แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ฉบับที่ 6

8. แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ฉบับที่ 7

          9. แบบทดสอบความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 ฉบับที่ 8  

          10.แบบทดสอบความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-4 ฉบับที่ 9

          11.แบบทดสอบความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่5-6 ฉบับที่10

          12.แบบประเมินผลงานสิ่งประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของนักเรียน ฉบับที่11 

          13.แบบประเมินความพึงพอใจของคณะกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อรูปแบบฯ ฉบับที่12

          14.แบบประเมินความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบฯ ฉบับที่13

          15.แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบฯ ฉบับที่14

          16.แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครองที่มีต่อรูปแบบฯ ฉบับที่15

การสร้างและการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          1. แบบสัมภาษณ์ฉบับที่ 1-3 มีการสร้างและพัฒนาเครื่องมือโดยการศึกษาเอกสาร  ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สร้างแบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัย นำแบบสัมภาษณ์ไปให้ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของรูปแบบ ได้รับการแนะนำให้ใช้ข้อคำถามให้กระชับมากขึ้นเพื่อจะได้ง่ายต่อการตอบคำถามของกลุ่มตัวอย่าง และง่ายต่อการดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้วิจัย นำแบบสัมภาษณ์มาปรับปรุงแล้วนำกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบซ้ำอีกครั้งปรากฏว่า มีความสอดคล้องกับเนื้อหาจึงนำแบบสัมภาษณ์มาจัดพิมพ์ตามแบบที่ถูกต้องและสมบูรณ์  นำเครื่องมือไปสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่าง

2. ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านต้นแบบพร้อมคู่มือการใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนวัดสวนพล  มีการสร้างและพัฒนาโดยศึกษาเอกสาร วารสาร หนังสือ ตำรา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สำรวจของเล่นพื้นบ้านจากผู้อาวุโสบ้านสวนพล รวบรวมข้อมูลชนิดของของเล่นพื้นบ้านจัดเตรียมสถานที่ อุปกรณ์ วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่นให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและผู้วิจัยร่วมกันประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านต้นแบบ แล้ววิเคราะห์สังเคราะห์หลักการทางวิทยาศาสตร์จากของเล่นพื้นบ้าน หลังจากนั้นผู้วิจัยเขียนคู่มือการใช้รูปแบบฯ  นำของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านต้นแบบพร้อมคู่มือการใช้ฯ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความตรง นำกลับมาแก้ไข ปรับปรุงแล้วนำไปทดลองใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดมะม่วงสองต้นจำนวน 10 คน เพื่อหาข้อบกพร่อง ความเหมาะสม ความคงทนเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข นำของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านต้นแบบพร้อมคู่มือการใช้รูปแบบที่ปรับปรุงแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเพื่อพิจารณาแก้ไขอีกครั้งก่อนนำไปใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนวัดสวนพล ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านต้นแบบมี 5 ประเภท 32 ชนิดดังนี้  1) กลุ่มเสียง เป็นกลุ่มของเล่นพื้นบ้านที่เมื่อเล่นแล้วทำให้เกิดเสียง  สามารถอธิบายหลักการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับเสียง ได้แก่ โทรศัพท์หรือตะแล็บแก็บ จักจั่น ป๋องแป๋ง ลูกแซค ปืนก้านกล้วย ปี่ เสือคำราม และระนาดไม้ไผ่  2) กลุ่มการเปลี่ยนรูปของพลังงาน เป็นกลุ่มของเล่นที่มีการเปลี่ยนแปลงพลังงานศักย์ให้เป็นพลังงานจลน์อย่างรวดเร็วและทำให้ของเล่นเคลื่อนที่ได้ ได้แก่ รถหลอดด้าย เรือยาง ปืนดีด กำหมุน และลูกหวือ 3) กลุ่มแรงและการเคลื่อนที่ เป็นกลุ่มของเล่นที่ต้องมีการใช้แรงและการเคลื่อนที่ แรงดึง แรงผลัก  แรงในการหมุน แรงดันอากาศ แรงลม และแรงโน้มถ่วง จึงจะสามารถเล่นของเล่นได้ ได้แก่ นกบิน เรือใบกาบมะพร้าว  เครื่องบิน เครื่องร่อน กังหันขนไก่ ลูกยางเหินเวหา ลูกข่าง ลูกหวือ รถลาก รถรุน ลูกขนไก่ รองเท้ากะลา รถลากกาบหมาก ว่าว กายกรรม และทองโย่ง 4) กลุ่มอาศัยการนับและการคาดคะเน เป็นกลุ่มของเล่นที่ต้องใช้การนับหรือการคาดคะเนในการเล่นของเล่น ได้แก่ หมากขุม หมากเก็บ 5) กลุ่มสัตว์ เป็นกลุ่มของเล่นที่ต้องใช้การสาน การพับ การตัดมาตกแต่งเป็นสัตว์ต่าง ๆ ได้แก่ งู และม้าก้านกล้วย

              3. แบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ฉบับที่ 6 ผู้วิจัยได้นำแบบวัดเจตคติต่อวิชาของเล่นเชิงวิทยาศาสตร์หลากหลาย ของอรุณี คูณสมบัติ  (2540 :  220 - 223)   ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวทางของลิเคอร์ท (Likert) จำนวน 20 ข้อ มาปรับปรุงภาษาและใช้วัดนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง

            4. แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ ฉบับที่ 7  ผู้วิจัยได้นำแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของอรุณี คูณสมบัติ  (2540 :  220 - 223)   ซึ่งมีลักษณะเป็นการสร้างสถานการณ์ที่เป็นสิ่งเร้าให้นักเรียนคิดสร้างสรรค์  จำนวน  3 ข้อ มาใช้วัดนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง

            5. แบบทดสอบวัดความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ฉบับที่ 8–10 ผู้วิจัยได้นำแบบทดสอบวัดความรู้และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของ อรวรรณ เตชะโสด (2551: 94–98) มีลักษณะเป็นปรนัย 3 ตัวเลือกมาปรับปรุงใช้

         6. แบบประเมิน ฉบับที่ 4,5,11,12,13,14,15  เป็นแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบปลายเปิดและมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวทางของลิเคอร์ท (Likert) แต่ละฉบับมีจำนวน 12 ข้อ สร้างและหาคุณภาพโดยัยะศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เขียนแบบประเมินฉบับร่างให้มีข้อถามครอบคลุมเนื้อหา กิจกรรม หรืองานที่ปฏิบัติตามแบบมาตราส่วนประมาณคา (Rating scale) มี 5 ระดับ เกณฑการใหคะแนน ดังนี้ ระดับที่ 5 หมายถึง มีความพึงพอใจมากที่สุด/มากที่สุด  ระดับที่ 4 หมายถึง มีความพึงพอใจมาก/มาก ระดับที่ 3 หมายถึง มีความพึงพอใจปานกลาง/ปานกลาง ระดับที่ 2 หมายถึง มีความพึงพอใจน้อย/น้อย และระดับที่ 1 หมายถึง มีความพึงพอใจนอยที่สุด/น้อยที่สุด นำแบบประเมินให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านพิจารณาตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยใชเกณฑดังนี้  + 1 หมายถึง แนใจวาสิ่งที่ประเมินสอดคลองกับเนื้อหา  0 หมายถึง  ไมแนใจ วาสิ่งที่ประเมินสอดคลองกับเนื้อหา และ  - 1 หมายถึง แนใจวาสิ่งที่ประเมินไมสอดคลองกับเนื้อหา แลวนําไปคํานวณหาคา IOC และคัดเลือกขอคําถามที่มีคา IOC ตั้งแต .50 ขึ้นไปปรับปรุงแกไขตามคําแนะนําของผูเชี่ยวชาญไดคา IOC อยูระหวาง .60 - 1.00 แล้วจัดพิมพแบบประเมิน นําแบบประเมินไปทดลองใช (try out) กับคณะกรรมมการสถานศึกษา ครู ผู้ปกครองและนักเรียนโรงเรียนวัดมะม่วงสองต้นซึ่งไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน เพื่อหาคาอํานาจจําแนกเปนรายขอโดยใช t - test แบบ Independent ใน           การวิเคราะหผลเลือกขอคําถามที่มีคา  t ตั้งแต 1.75 ขึ้นไปพบวาขอคําถามทุกขอใชไดแล้วหาคาความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใชสัมประสิทธิ์แอลฟา (alpha-coefficient) ของครอนบัค (Cronbach) พบค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินแต่ละฉบับอยู่ระหว่าง                0.6–1.00 นำแบบประเมินที่ได้ไปจัดพิมพ์ฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนวัดสวนพล

การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้

  1. การสร้างรูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียนวัดสวนพล

เริ่มต้นด้วยการศึกษาสภาพการณ์ สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก วันที่ 20-25 กรกฎาคม 2553 เพื่อยกร่างรูปแบบฯ แล้วให้นักเรียนสัมภาษณ์ผู้อาวุโสในหมู่บ้านเพื่อสำรวจของเล่นพื้นบ้าน จัดทำของเล่นวิทยาศาสตร์พื้นบ้านต้นแบบพร้อมจัดทำคู่มือการใช้รูปแบบระหว่างวันที่ 27-30 กรกฎาคม 2554 ตรวจสอบความตรงของรูปแบบด้วยการระดมสมองในวันที่ 15 สิงหาคม 2553 ณ โรงเรียนวัดสวนพล

  1. การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการด้านการสอนประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์พื้นบ้านของโรงเรียน

วัดสวนพลในเดือนกรกฎาคม 2553 – มกราคม 2554 ด้วยการบริหารจัดการขับเคลื่อนกลยุทธ์ด้วยรูปแบบ SWIPPACA

          3.  การประเมินความสำเร็จของผลการใช้รูปแบบฯ ด้วยการประเมินความสำเร็จระดับนักเรียนโดยการทดสอบก่อนสอนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2553 (วัดเจตคติ ความคิดสร้างสรรค

หมายเลขบันทึก: 467491เขียนเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2011 16:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท